สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | สมบูรณ์ มโนภิรมย์ 24 เมษายน พ.ศ. 2502 อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2525–2565) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ผศ.ดร.เกษร อุทัยเวียนกุล |
สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล (เกิด 24 เมษายน พ.ศ. 2502) เป็นคณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)[1] อดีตเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง อดีตนายกสมาคมกีฬาปีนหน้าผาแห่งประเทศไทย อดีตรองประธานสหพันธ์กีฬาปีนหน้าผาแห่งเอเซีย ประธานมูลนิธิสร้างโลกให้สมบูรณ์
ประวัติ
[แก้]นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2502[3] เป็นบุตรคนที่ 4 ในพี่น้อง 5 คน ของ นายหุ้ย(อุทัย) กับ นางเวียน มโนภิรมย์ ที่บ้านหัวหิน ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
การศึกษา เริ่มเข้าเรียนชั้นเตรียมประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านหัวหิน จนจบประถมศึกษาปีที่ 2 ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี จนจบชั้นประถมปีที่ 4 ครูปิ่น สุวรรณะ เป็นครูที่ติวเข้มเข้าสอบชิงทุนการศึกษาของรัฐบาล สอบได้ที่ 1 ของอำเภอกันตัง เป็นนักเรียนทุนรัฐบาล 6 ปี ได้ทุนปีละ 600 บาท แล้วสอบเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนกันตัง(ปัจจุบันคือโรงเรียนกันตังพิทยากร) จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ปีพ.ศ. 2516 สอบเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง แต่ไม่ได้เรียนเพราะที่อำเภอกันตัง รัฐบาลเปิดโรงเรียนมัธยมขยายโอกาส เปิดโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง สาขากันตัง จึงเข้าเรียนที่นี่ พอขึ้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนก็ย้ายไปทำการเรียนการสอนที่ ต.บางเป้า และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนกันตังพิทยากรปีพ.ศ. 2518 เมื่อเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 นายสมบูรณ์ก็เป็นแกนนำขอย้ายที่ตั้งโรงเรียนสำเร็จ จนมาตั้งอยู่ที่โรงเรียนกันตังพิทยากรในปัจจุบัน หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ก็เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจนจบชั้น ม.ศ.5ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง ปีพ.ศ. 2521 นายสมบูรณ์ก็สอบเข้าเรียนเอกศิลปะ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แต่เรียนได้ไม่ถึงเดือน ผลการสอบเอ็นทราน์เข้ามหาวิทยาลัย นายสมบูรณ์สอบได้ เป็นนิสิตภาควิชาพลศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมาเรียนที่จุฬาฯจนสำเร็จการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2524 และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา ปีการศึกษา 2535 จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ
การศึกษาหลักสูตรพิเศษ
หลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)
หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงการเมืองการปกครอง (ปปร.9) สถาบันพระปกเกล้า
หลักสูตรพัฒนาการเมืองระดับสูง (พตส.2) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)
ครอบครัว
นายสมบูรณ์ สมรสกับ ผศ.ดร.เกษร อุทัยเวียนกุล (สกุลเดิม : เข็มทอง) เมื่อวันที่ 22 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528
มีบุตรและธิดารวม 3 คน คือ
ว่าที่ ร.ต.กีรติชาติ อุทัยเวียนกุล ปัจจุบันเป็นนักบินผู้ช่วย สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย
น.ส.เหมือนฝัน อุทัยเวียนกุล อดีตผู้ช่วยทูตพาณิชย์ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ลาออกจากตำแหน่งเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางกฎหมายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นนิติกรประจำสำนักงานศาลยุติธรรม
น.ส.นภัสนันท์ อุทัยเวียนกุล เคยเป็นผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกวุฒิสภา ปัจจุบันเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ การเคหะแห่งชาติ
การทำงาน
[แก้]หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปี 2525 สมบูรณ์ สอบบรรจุเข้าทำงานเป็นข้าราชการกรมพลศึกษา โดยได้บรรจุเป็นอาจารย์ที่ วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดกระบี่(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่) จากนั้นได้ย้ายมาเป็นอาจารย์และผู้บริหารที่วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดตรัง ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยการกีฬา วิทยาเขตตรังตามลำดับ ก่อนที่จะลาออกจากราชการ เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ปัจจุบัน
- เป็นเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฏร(นายชวน หลีกภัย)
- เป็นนายกสมาคมกีฬาปีนหน้าผาแห่งประเทศไทย
- เป็นรองประธานสหพันธ์กีฬาปีนหน้าผาแห่งเอเซีย
- เป็นประธานมูลนิธิสร้างโลกให้สมบูรณ์
- นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนกันตังพิทยากร
- จัดรายการวิทยุ รายการ”คุยข่าวเล่าเรื่องกับครูแอด”ทุกวันเสาร์เวลา10.10-11.00น.ทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง(สวท.ตรัง)91.25MHz
- จัดรายการวิทยุ รายการ"สร้างตรังสร้างโลกให้สมบูรณ์" ทุกวันอาทิตย์เวลา10.10-11.00น.ทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง(สวท.ตรัง) 91.25MHz(ปัจจุบันยกเลิกการจัดรายการนี้แล้ว(2มกราคม2564))
- จัดรายการโทรทัศน์ รายการ"คิดเช่น Gen D" ทุกวันพุธเวลา19.00-20.00น.ทางสถานีโทรทัศน์ช่องฟ้าวันใหม่(ปัจจุบันยกเลิกการจัดรายการนี้แล้ว(2มกราคม2564))
งานการเมือง
[แก้]สมบูรณ์เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งติดต่อกันรวม 4 สมัย ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฏร(พ.ศ. 2557)
ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 35 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งเมื่อนายชวน หลีกภัย ได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นประธานสภาผู้แทนราษฏร ประธานสภาผู้แทนราษฏรจึงแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฏร ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2562 จนถึงปัจจุบัน กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายสมบูรณ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยได้เตรียมสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติในวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยให้เหตุผลว่าต้องการความชัดเจนทางการเมืองของตัวเอง[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “พีระพันธุ์” ตั้ง 11 คณะที่ปรึกษารองนายกฯ “เสธ.หิ-แรมโบ้-สายัณห์” นั่งด้วย
- ↑ นายชวน หลีกภัยประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
- ↑ "เด็กชวน" ลาปชป.หลังชวดลงส.ส.เขต4 ตรัง สมัครรทสช.พรุ่งนี้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดตรัง
- ครูชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนวิเชียรมาตุ
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.