พริษฐ์ วัชรสินธุ
พริษฐ์ วัชรสินธุ | |
---|---|
![]() พริษฐ์ วัชรสินธุ (ขวา) ในปี 2553 | |
เกิด | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2535 (28 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
การศึกษาสูงสุด | โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี วิทยาลัยอีตัน |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด |
อาชีพ | นักการเมือง พิธีกร |
ปีปฏิบัติงาน | 2561–ปัจจุบัน |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปัตย์ (จนถึง 2562) |
ญาติ | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (น้าชาย) |
พริษฐ์ วัชรสินธุ (ชื่อเล่น: ไอติม, เกิด 10 ธันวาคม 2535) เป็นนักการเมืองชาวไทย เดิมสังกัดพรรคประชาธิปัตย์สังกัดกลุ่มนิวเด็ม แต่ลาออกจากพรรค
ปฐมวัยและการศึกษา[แก้]
พริษฐ์เกิดในครอบครัวที่มีชื่อเสียงของไทย มารดาของเขาคือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อลิสา วัชรสินธุ (สกุลเดิม เวชชาชีวะ) และเป็นพี่สาวคนโตของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์[1]
พริษฐ์จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่ออายุ 9 ปี เขาเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษที่โรงเรียนเตรียมมัธยมศึกษาและวิทยาลัยอีตัน (รวมถึงในโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพฯ) เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ เกียรตินิยมเหรียญทอง (อันดับ 1 ของรุ่น) จากวิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ผู้เป็นน้าของเขา
ระหว่างที่เขาศึกษาที่ออกซ์ฟอร์ดเมื่อ พ.ศ. 2557 เขาได้รับเลือกเป็นนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และประธานชมรมโต้วาทีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งทำให้เขากลายเป็นคนแรกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้[2][3]
เขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างในสังคมไทยจากการมาฝึกงานที่สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2552 สมัยที่นายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[4]
การงานอาชีพช่วงต้น[แก้]
หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พริษฐ์ต้องการทำงานการเมืองในประเทศไทย อย่างไรก็ตามประเทศไทยในตอนนั้นยังอยู่ภายใต้การปกครองของทหารในนาม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และเมื่อยังไม่มีแผนที่จะจัดการเลือกตั้งเขาจึงเข้าทำงานในบริษัทแม็คคินซี[5]
งานการเมือง[แก้]
ในปี พ.ศ. 2561 เขาลาออกจากบริษัทแม็คคินซีและเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเริ่มต้นอาชีพการเมืองของเขา เขาเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
ระหว่างรอคณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศวันเลือกตั้ง พริษฐ์เป็นพิธีกรและโปรดิวเซอร์ร่วมของรายการ เห็นกับตา ทางช่องพีพีทีวี ออกอากาศเทปแรกเมื่อ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[6] รายการโทรทัศน์ที่เขาต้องลงพื้นที่ไปทำอาชีพที่แตกต่างกัน
เขาร่วมก่อตั้งกลุ่ม "นิวเด็ม" ซึ่งเป็นกลุ่มนักการเมืองรุ่นใหม่ในพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับสุรบถ หลีกภัย บุตรชายของนาย ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรหม พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ บุตรชายของนาย พนิช วิกิตเศรษฐ์ และคณวัฒน์ จันทรลาวัณย์
เมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เขาได้รับมอบหมายจากพรรคประชาธิปัตย์ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 13 บางกะปิ วังทองหลาง (แขวงพลับพลาเท่านั้น) ใน การเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562[7] ซึ่งเจ้าของที่นั่งก่อนหน้านี้คือนาย ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน (บุตรชายของนาย บัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์)
อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้สูญเสียที่นั่งทุกที่นั่งในกรุงเทพมหานคร โดยเขตเลือกตั้งที่ 13 พริษฐ์ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นอันดับที่ 4[8]
หลังการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562[แก้]
หลังการเลือกตั้งจบลงก็มีกระแสข่าวว่าสมาชิกรุ่นอาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์เตรียมเข้าร่วมรัฐบาลกับ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้พริษฐ์และสมาชิกกลุ่มนิวเด็มจำนวนหนึ่งตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์นับเป็นจุดสิ้นสุดของกลุ่มนิวเด็ม
พริษฐ์ได้ให้สัมภาษณ์ว่าต้องการกลับมาทำงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "10 รู้จัก ไอติม พริษฐ์ ไฮโซหนุ่มไฟแรง ถอดแบบน้ามาเป๊ะๆ". ไทยรัฐ (ภาษาthai). 10 April 2018.CS1 maint: unrecognized language (link)
- ↑ BUDSARAKHAM SINLAPALAVAN, KOR (28 April 2014). "Abhisit's nephew 'Itim' first Thai to lead top Oxford society". The Nation.
- ↑ หนังสือเล่มแรกในชีวิต – Why So Democracy? ประชาธิปไตย เฟสบุ๊ก พริษฐ์ วัชรสินธุ – Parit Wacharasindhu
- ↑ "ทำเนียบคึกคัก ไอติม หลานนายกฯ หวนฝึกงานรอบ 2". Kapook.com (ภาษาthai). 14 July 2009.CS1 maint: unrecognized language (link)
- ↑ Countdown 11: Itim Parit Wacharasindhu, สืบค้นเมื่อ 16 March 2019
- ↑ ""ไอติม พริษฐ์" นั่งแท่นพิธีกร "เห็นกับตา" เจาะลึกอาชีพในมุมที่คุณไม่เคยรู้". PPTV HD (ภาษาthai). 3 May 2018.CS1 maint: unrecognized language (link)
- ↑ "รับฟังทำได้จริง 'ไอติม' ขันอาสา!ปชป.ไฟเขียวลงเขตบางกะปิ-วังทองหลาง". Thaipost (ภาษาthai). 26 December 2018.CS1 maint: unrecognized language (link)
- ↑ Thaitrakulpanich, Asaree; Reporter, Staff (25 March 2019). "Surprises, Snubs of Thailand's 2019 Election". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.