เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 ธันวาคม พ.ศ. 2531 (35 ปี)
กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมือง
วิชาชีพนักการเมือง

เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ (ชื่อเล่น: เขต, เกิด: 23 ธันวาคม พ.ศ. 2531) เป็นนักวิชาการและนักการเมืองชาวไทยและอดีตโฆษกพรรครวมพลัง ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[1]

ประวัติ[แก้]

เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2531 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย กับ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ และ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญาตรีด้านบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย คอมมอนเวลต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาโทด้านการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหนานไค ประเทศจีน[2]

การทำงาน[แก้]

ภายหลังจบปริญญาโทที่ประเทศจีน เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ได้เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรังสิต คณะบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ต่อจากนั้นได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อรับตำแหน่งอาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่หนึ่งปีให้หลังนายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ได้ย้ายไปสอนที่คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนที่ลาออกจากอาจารย์เพื่อสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสโมสรผู้นำเยาวชนพรรคและฝ่ายอำนวยการพรรค และโฆษกพรรครวมพลังประชาชาติไทย[2] ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เขตรัฐได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 3 ของพรรครวมพลังประชาชาติไทย นอกจากนี้ยังเป็นโฆษกคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ[3] ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพัฒนาการเมือง โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 คณะกรรมาธิการผู้ประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ต่อมาในวันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566 นายเขตรัฐได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งโฆษกพรรค ก่อนจะทำการยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส. โดยในวันเดียวกัน [4] วันต่อมาเขาได้เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[5] และได้รับการวางตัวเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตคลองเตย และวัฒนา[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  2. 2.0 2.1 "เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์" กับมุมที่อยากเห็น คนสองวัยเดินไปด้วยกัน
  3. โทรโข่งรูปงาม
  4. ทิ้งพรรครวมพลัง! เขตรัฐ จ่อสมัครเข้า รวมไทยสร้างชาติ ขออาสาชิง ส.ส.กทม.
  5. 'เอกนัฏ' รับใบสมัคร 'เขตรัฐ' เข้ารทสช. ยัน 'บิ๊กป้อม' ปาดหน้าลงราชบุรี เป็นเรื่องปกติ ไม่มีผลกระทบ
  6. "'อนุทิน' ประกาศลุยศึกเลือกตั้ง เชื่อมือ 'พุทธิพงษ์' จะทำให้ได้เก้าอี้เมืองหลวง". The Reporters. 2023-02-05.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]