การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565

← พ.ศ. 2563 25 กันยายน พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2569 →
ลงทะเบียน1,042,552
ผู้ใช้สิทธิ576,017
(55.25%; ลดลง 2.17%)
 
No image.svg
No image.svg
ผู้สมัคร เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ จุรีพร สินธุไพร รัชนี พลซื่อ
พรรค เพื่อไทย อิสระ อิสระ
คะแนนเสียง 301,187 126,649 116,027
% 54.84 23.06 21.13

แผนที่แสดงผลการเลือกตั้ง โดยแสดงผลเฉพาะผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละอำเภอ

นายก อบจ. ร้อยเอ็ดก่อนการเลือกตั้ง

เอกภาพ พลซื่อ
อิสระ

ว่าที่นายก อบจ. ร้อยเอ็ด

เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์
เพื่อไทย

ปฏิทินการเลือกตั้ง
25 ก.พ.กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายเอกภาพ พลซื่อ
5 ส.ค.ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายเอกภาพ พลซื่อ
5 ส.ค.กกต. สั่งให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ใหม่
17 ส.คกต. อบจ. ร้อยเอ็ด ประกาศให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ใหม่
22 – 26 ส.ควันรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง
2 ก.ย.ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร
25 ก.ย.วันเลือกตั้ง

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565 จัดขึ้นในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด (นายก อบจ. ร้อยเอ็ด) ครั้งที่ 5 สืบเนื่องจากการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครและสิทธิรับเลือกตั้งของ เอกภาพ พลซื่อ ดำรงตำแหน่งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ขณะนั้น ด้วยข้อหาปราศรัยใส่ร้ายผู้สมัครคู่แข่งด้วยความเท็จ จึงทำให้ตำแหน่งนายก อบจ. ของเอกภาพเป็นอันสิ้นสุดลง

มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่ รัชนี พลซื่อ ภรรยาของเอกภาพ พลซื่อ ไม่สังกัดพรรค, เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย, โยทกา โคตุระพันธ์ ไม่สังกัดพรรค, และ จุรีพร สินธุไพร ผู้เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในสมัยของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่สังกัดพรรค

แม้จะเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นวงกว้าง สื่อหลายสำนักมีการวิเคราะห์ขยายผลไปยังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งถัดไป ประกอบกับการปรากฏตัวของบุคคลสำคัญจากพรรคเพื่อไทยในเวทีปราศัยหลายแห่ง อาทิ แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, จาตุรนต์ ฉายแสง และณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำพรรคเพื่อไทย และการชูสโลแกน "ร้อยเอ็ดแลนด์สไลด์"[1]

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ พรรคเพื่อไทย ได้อันดับที่หนึ่ง ด้วยคะแนนเสียง 301,187 มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด[2][3]

ที่มา[แก้]

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครและสิทธิรับเลือกตั้งของ เอกภาพ พลซื่อ นายก อบจ. ร้อยเอ็ด ขณะนั้น เป็นเวลา 10 ปี จากกรณีปราศรัยใส่ร้าย มังกร ยนต์ตระกูล ผู้สมัครนายก อบจ. หมายเลข 3 กลุ่มเพื่อไทยร้อยเอ็ด ถือว่าเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562[4] มาตรา 65 "ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือการชักชวนให้ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้... (5) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครใด..."[5] จึงทำให้ตำแหน่งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ของเอกภาพเป็นอันสิ้นสุดลง

ต่อมาวันที่ 17 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2565 คณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดประกาศให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 108 วรรคสอง โดยกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 ระยะเวลาสมัครรับเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ผู้สมัคร[แก้]

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดครั้งนี้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่ หมายเลข 1 รัชนี พลซื่อ[6] ผู้สมัครอิสระ เป็นภรรยาของเอกภาพ พลซื่อ รัชนีเป็นอดีตนายก อบจ. คนแรกของจังหวัดร้อยเอ็ด (พ.ศ. 2547-2551) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร้อยเอ็ด (พ.ศ. 2552–2554), หมายเลข 2 เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์[6] ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ร้อยเอ็ด 5 สมัย, หมายเลข 3 โยทกา โคตุระพันธ์[6] ผู้สมัครอิสระ, และหมายเลข 4 จุรีพร สินธุไพร[6] ผู้สมัครอิสระ อดีตข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในสมัยของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกทั้งเคยเป็นแกนนำคนสำคัญของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ของเมืองพัทยา[7][8][9]

หมายเลข สังกัด รายนามผู้สมัคร ตำแหน่ง/อาชีพ
1 อิสระ รัชนี พลซื่อ
2 พรรคเพื่อไทย เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 สมัย (2535–2557)
3 อิสระ โยทกา โคตุระพันธ์
4 อิสระ จุรีพร สินธุไพร

ผู้สนับสนุน[แก้]

รัชนี พลซื่อ[7][8]
เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์[7][8]
  • แพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมพรรคเพื่อไทย หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย
  • ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ และอดีตแกนนำ นปช.
  • จาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการ และอดีตรองนายกรัฐมนตรี
  • ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย
  • กลุ่มคนเสื้อแดงร้อยเอ็ด
จุรีพร สินธุไพร[7]

การรณรงค์เลือกตั้ง[แก้]

การเลือกตั้ง[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยคูหาเปิดเวลา 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา มีจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งสิ้น 2,535 หน่วย[10]

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

คะแนนเสียง
เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์
  
54.84%
จุรีพร สินธุไพร
  
23.06%
รัชนี พลซื่อ
  
21.13%
อื่น ๆ
  
0.97%
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เพื่อไทย เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ (2) 301,187 54.84 เพิ่มขึ้น16.47[a]
อิสระ จุรีพร สินธุไพร (4) 126,649 23.06
อิสระ รัชนี พลซื่อ (1) 116,027 21.13 ลดลง18.34[b]
อิสระ โยทกา โคตุระพันธ์ (3) 5,306 0.97
ผลรวม 549,169 100.00
บัตรดี 549,169 95.34
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 12,260 2.13
บัตรเสีย 14,588 2.53
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 576,017 55.25
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,042,552 100.00

หมายเหตุ: ตัวเลขใน ( ) คือหมายเลขผู้สมัคร

ผลการเลือกตั้งปี 2563
  เอกภาพ พลซื่อ (อิสระ)
  มังกร ยนต์ตระกูล (กลุ่มเพื่อไทยร้อยเอ็ด)
ผลการเลือกตั้งปี 2565
  เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ (เพื่อไทย)
  รัชนี พลซื่อ (อิสระ)
ผู้สมัครจากสายเพื่อไทยมีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นในทุกอำเภอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ฐานเสียงเดิม กลุ่มอำเภอฝั่งตอนกลาง (เช่น ธวัชบุรี เสลภูมิ) และฝั่งทิศใต้ (เช่น สุวรรณภูมิ เกษตรวิสัย พนมไพร หนองฮี) และการพลิกขึ้นมามีคะแนนนิยมเหนือผู้สมัครจากตระกูลพลซื่อในอำเภอเมือง อำเภอปทุมรัตน์ และกลุ่มอำเภอฝั่งทิศเหนือ (โพธิ์ชัย โพนทอง หนองพอก)

หมายเหตุ[แก้]

  1. คะแนนของเศกสิทธิ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2565 เทียบกับคะแนนของมังกร สังกัดกลุ่มเพื่อไทยร้อยเอ็ด ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563
  2. คะแนนของรัชนี พลซื่อ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2565 เทียบกับคะแนนของเอกภาพ พลซื่อ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "แลนด์สไลด์ "อุ๊งอิ๊ง" อุ้ม "เศกสิทธิ์" คว้าชัยนายก อบจ.ร้อยเอ็ด". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-09-25.
  2. "ผลเลือกตั้งนายก อบจ.ร้อยเอ็ดอย่างเป็นทางการ"เศกสิทธิ์"ชนะแลนด์สไลด์". bangkokbiznews. 2022-09-26.
  3. Ltd.Thailand, VOICE TV (2022-09-26). "แบรนด์ 'เพื่อไทย' แลนด์สไลด์ 'ร้อยเอ็ด' ส่งสัญญาณไม่เอา 'ลุง' ตั้งธงกวาด ส.ส.ยกจังหวัด". VoiceTV.
  4. matichon (2022-08-05). "'เอกภาพ พลซื่อ' นายกอบจ.ร้อยเอ็ด โดนศาลสั่งตัดสิทธิ์เลือกตั้ง แห้วลงส.ส.พปชร". มติชนออนไลน์.
  5. ราชกิจจานุเบกษา (16 เมษายน 2019). "พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด (2022-9-2) "ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดที่ได้รับสมัครรับเลือกตั้งและไม่ได้รับสมัครรับเลือกตั้ง". www.pao-roiet.go.th/
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 คมชัดลึก (23 กันยายน 2022). "สามก๊กร้อยเอ็ด "เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์" แบกเดิมพันอุ๊งอิ๊ง สองหญิงสู้ไม่ถอย". KomChadLuekOnline. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2022.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 workpointTODAY | Co-writer (18 กันยายน 2022). "'แพทองธาร' หาเสียงโค้งสุดท้ายช่วยผู้สมัครนายกอบจ.ร้อยเอ็ด ก่อนเลือกตั้ง 25 ก.ย.นี้". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2022.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "ทิ้ง 3 ป. "จุรีพร สินธุไพร" ลุยศึกร้อยเอ็ด จับมือน้องชายค่ายสีส้ม". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-08-19.
  10. "การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น 24 - 25 กันยายน 2565 เชิญชวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าคูหากากบาท". สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดร้อยเอ็ด. 23 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)


ก่อนหน้า การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565 ถัดไป
การเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2563
การเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2565

การเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ครั้งถัดไป