นิโรธ สุนทรเลขา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิโรธ สุนทรเลขา
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยกฤษฎา จีนะวิจารณะ
ประธานคณะกรรมการประสานงาน
สภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าวิรัช รัตนเศรษฐ
ถัดไปอดิศร เพียงเกษ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครสวรรค์
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าวีระกร คำประกอบ
ภิญโญ นิโรจน์
ประสาท ตันประเสริฐ
ถัดไปประสาท ตันประเสริฐ
เขตเลือกตั้งเขต 7 (2544,2548)
เขต 2 (2550)
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าประสาท ตันประเสริฐ
ถัดไปประสาท ตันประเสริฐ
เขตเลือกตั้งเขต 6 (2562)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 เมษายน พ.ศ. 2496 (71 ปี)
อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พลังประชารัฐ (2561–2566)
ชาติไทยพัฒนา (2551–2561)
ชาติไทย (2536–2547, 2550–2551)
ไทยรักไทย (2547–2550)

นิโรธ สุนทรเลขา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ อดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23

ประวัติ[แก้]

นิโรธ สุนทรเลขา เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2496 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน[แก้]

นิโรธ สุนทรเลขา เริ่มต้นงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดนครสวรรค์ 2 สมัย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จึงได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคชาติไทย และในการเลือกตั้งครั้งต่อมา ในปี 2548 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคชาติไทยตามเดิม และได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับที่ 1 เป็น ส.ส.สมัยที่ 3 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร แต่ในปี พ.ศ. 2554 นายนิโรธ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทยพัฒนา แต่แพ้ให้กับ ประสาท ตันประเสริฐ จากพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์)[1]

เมื่อปี 2561 เขาย้ายมาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[2] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 4 ในนามพรรคพลังประชารัฐ และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร[3][4] มีบทบาทในการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการในคดีที่อัยการไม่ส่งฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา กรณีขับรถชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ตำรวจ สน.ทองหล่อ เสียชีวิต ปี 2555[5] และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร[6]

ในวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566 นายนิโรธได้ตัดสินใจลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ โดยเตรียมสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[7]

หลังจากย้ายซบ พรรครวมไทยสร้างชาติใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต 6 แต่เขาไม่ได้รับการเลือกตั้ง พ่ายแพ้ให้กับ นายประสาท ตันประเสริฐ พรรคชาติพัฒนากล้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://secretary.mots.go.th/minister/ewt_dl_link.php?nid=2012
  2. 2อดีตรมว.ปากน้ำโพ สวมเสื้อพปชร.ลงสนาม ย้ำสร้างสมานฉันท์ จับมือคนรุ่นใหม่พัฒนานครสวรรค์
  3. เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
  4. 'นิโรธ' ส.ส.นครสวรรค์ ให้กำลังใจตำรวจในพื้นที่
  5. "กมธ.ตำรวจ" จ่อสรุปรายงาน "คดีบอส" สอบสวนไม่ชอบ-ควรรื้อคดีใหม่[ลิงก์เสีย]
  6. aof (2021-11-05). "ประยุทธ์ เซ็นคำสั่ง แต่งตั้ง นิโรธ นั่งประธานวิปรัฐบาลคนใหม่". ประชาชาติธุรกิจ.
  7. เลือกแล้ว! 'นิโรธ'ร่อนใบลาออกทิ้ง พปชร. ซบรวมไทยสร้างชาติ ช่วย'บิ๊กตู่'
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑