ศาลอาญา (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลอาญา
Criminal Court
ที่ตั้งอาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′29″N 100°37′59″E / 13.7245995°N 100.6331106°E / 13.7245995; 100.6331106
ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
ปัจจุบันนายศักดิ์ชัย รังษีวงศ์
ตั้งแต่1 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ศาลอาญา เป็นหน่วยราชการอิสระ โดยเป็นหนึ่งในองค์กรของศาลยุติธรรมชั้นต้นแห่งประเทศไทย รับผิดชอบการใช้กฎหมายอาญาในบางเขตของกรุงเทพมหานคร[1] ศาลนี้ตั้งอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษก จึงมักเรียกกันว่า "ศาลอาญารัชดาฯ"

ประวัติ[แก้]

ศาลอาญารัชดา

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงระบบศาลครั้งใหญ่รวบรวมศาลต่าง ๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายถึง 16 ศาลยุบรวมกันเป็นศาลในส่วนของความอาญาได้รวมศาลนครบาลกับศาลอาญานอกเข้าด้วยกันเรียกว่า "ศาลพระราชอาญา" ตั้งอยู่ที่ "หอสัสดี" บริเวณท่าช้างวังหน้า ต่อมา พ.ศ. 2478 ได้มีประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม จึงเปลี่ยนชื่อจากเดิมมาเป็น "ศาลอาญา" และต่อมา พ.ศ. 2484 ได้มีการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นที่บริเวณกองตราลหุโทษเดิมด้านถนนราชินีให้เป็นที่ตั้งของกระทรวงยุติธรรม ศาลอุทธรณ์ และศาลอาญา ส่วนด้านถนนราชดำเนินก่อสร้างเป็นอาคารศาลฎีกาและศาลแพ่ง ต่อมาวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2515 ศาลอาญาได้ย้ายทำการเดิมมาตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ ณ อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารสูง 13 ชั้น[2]

โครงสร้างและแผนผัง[แก้]

ศาลอาญามีเขตอำนาจศาลครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้[3]

เขต จตุจักร
เขต ดอนเมือง
เขต ดินแดง
เขต ดุสิต
เขต บางกะปิ
เขต บางเขน (เฉพาะแขวงอนุสาวรีย์)
เขต บางซื่อ
เขต บึงกุ่ม
เขต พญาไท
เขต พระนคร
เขต ราชเทวี
เขต ลาดพร้าว (เฉพาะแขวงลาดพร้าว)
เขต วังทองหลาง
เขต สายไหม (เฉพาะแขวงคลองถนน)
เขต หลักสี่
เขต ห้วยขวาง

อำนาจหน้าที่[แก้]

ศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง โดยเมื่อการกระทำผิดเกิดขึ้นได้ถูกอ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้น หรือจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับกุมหรือเมื่อมีเจ้าพนักงานทำการสอบสวนในท้องที่ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลและคดีที่เกิดขึ้นต้องมีอัตราโทษจำคุกเกิน 3 ปีขึ้นไปหรือปรับเกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่คดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลอาญา โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้ อยู่ในดุลพินิจของศาลอาญาที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องดังกล่าวหรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีเขตอำนาจของศาลที่รับโอนคดี นอกจากนี้ศาลอาญา ยังมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทยอีกด้วย

ภารกิจ[แก้]

  • การคุ้มครองเสรีภาพแก่ประชาชน
  • การพัฒนาการให้บริการเพื่อความยุติธรรมแก่ประชาชน

ผู้บริหาร[แก้]

  • อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
  • รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
  • ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญา

อ้างอิง[แก้]

  1. Information and Public Relations Division, Office of the Courts of Justice. "ศาลยุติธรรม" (PDF). Bangkok: Office of the Court of Justice. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2015-11-30.
  2. "ประวัติศาลอาญา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-25. สืบค้นเมื่อ 2018-04-10.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-28. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.