ประทวน สุทธิอำนวยเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประทวน สุทธิอำนวยเดช
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต 1
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าพิชัย เกียรติวินัยสกุล
ถัดไปสิทธิชัย หล่อประสงค์สุข
เขตเลือกตั้งอำเภอเมืองลพบุรี (เฉพาะตำบลท่าหิน ตำบลทะเลชุบศร ตำบลเขาสามยอด ตำบลเขาพระงาม ตำบลท่าศาลา ตำบลโคกตูม ตำบลนิคมสร้างตนเอง ตำบลถนนใหญ่ ตำบลกกโก ตำบลป่าตาล และตำบลท่าแค)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
พรรคการเมืองภูมิใจไทย

ประทวน สุทธิอำนวยเดช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี[1] สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[2] เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลพบุรี

ประวัติ[แก้]

ประทวน สุทธิอำนวยเดช เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหกการ จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน[แก้]

ประทวน สุทธิอำนวยเดช เคยรับราชการครูในสังกัดโรงเรียนโยธินบูรณะ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาเปลี่ยนสายงานมาเป็นวิศวกร ในสังกัดกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ในตำแหน่งอุตสาหกรรมจังหวัดถึง 7 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ ปทุมธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อุทัยธานี ชัยภูมิ และลพบุรี

ต่อมาเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลพบุรี ในปี 2557[3] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา หลังจากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[4] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

ประทวน สุทธิอำนวยเดช ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[5]

ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเข้ารับเลือกตั้งในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2566 ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “ประทวน” จี้โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำแก้แล้ง “ลพบุรี” คาดเสร็จสิ้นเดือนนี้
  2. กมธ.เหมืองแร่ฯสภาบุกสระบุรี หวังแก้ไขฝุ่นPM2.5เหมืองหินอย่างยั่งยืน
  3. 'ประทวน' คะแนนนำส.ว.ลพบุรี
  4. กกต.ยกคำร้อง ส.ส.ลพบุรี พลังประชารัฐ ชี้ ไม่พบหลักฐานกระทำผิด
  5. กมธ.เหมืองแร่ฯ สภา ‘รอดโควิด’ หลังยกคณะเข้าตรวจที่ รพ.เวิลด์เมดิคอล จ.นนทบุรี
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๔๓, ๘ ตุลาคม ๒๕๔๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒๖๗, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙