ภาคิน สมมิตรธนกุล
ภาคิน สมมิตรธนกุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 เมษายน พ.ศ. 2505 |
พรรคการเมือง | รวมไทยสร้างชาติ (2566—ปัจจุบัน) |
ภาคิน สมมิตรธนกุล หรือ ภาคิน สมมิตร เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อครั้งแรก เมื่อปี 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย เคยสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ [1]ภาคินเป็นหนึ่งในกรรมการวาระเริ่มแรกของมูลนิธิบ้านเลขที่ 111[2] และเป็นประธานกรรมการบริหารบริษัท อยุธยาพลังงานสะอาด จำกัด ผู้บุกเบิกพลังงานทดแทนในยุคแรกของประเทศไทย[3][4]
ประวัติ
[แก้]ภาคิน สมมิตรธนกุล หรือ ภาคิน สมมิตร เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2505 สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยบูรพา
การทำงาน
[แก้]ภาคิน เริ่มงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 76 ได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ลาออกเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2546 ต่อมาในปี 2550 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งถูกตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค[5][6]
ภาคิน ย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ ในกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในปี 2562 ลำดับที่ 26 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563[7] กระทั่งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 นายวิเชียร ชวลิต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ขอลาออกจากตำแหน่ง ภาคินจึงได้เลื่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน[3][8] ต่อมาเขาได้ยื่นหนังสือลาออกในเดือนกุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ภาคิน สมมิตรธนกุล ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย (เลื่อนแทน)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ (เลื่อนแทน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย”
- ↑ 3.0 3.1 "ภาคิน สมมิตรธนกุล " ส.ส.ใหม่ พปชร.แทน วิเชียร รายงานตัวสภาฯ
- ↑ AYUTTHAYA CLEAN ENERGY CO.,LTD.
- ↑ ทรท.ตายยกเข่ง! สั่งยุบพรรค-ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี 111 คน เก็บถาวร 2007-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
- ↑ สั่งยุบพรรคไทยรักไทย ตัดสิทธิ์ กก.บริหารพรรค 111 คน เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
- ↑ ภาคิน สมมิตรธนกุล นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พปชร.
- ↑ "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายภาคิน สมมิตรธนกุล พรรคพลังประชารัฐ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-20. สืบค้นเมื่อ 2022-06-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.