ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุเทพ เทือกสุบรรณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ย้อนการแก้ไขที่ 7111167 สร้างโดย JBot (พูดคุย)
บรรทัด 147: บรรทัด 147:
โกงคดีก่อสร้างโรงพัก
โกงคดีก่อสร้างโรงพัก
โกงคดีการสร้างทางยกระดับ
โกงคดีการสร้างทางยกระดับ
เดินขอทานรับบริจาคจากประชาชนหน้าโง่ โกหกตอแหล ทำใฟ้บ้านเมืองชิบหาย
เดินขอทานรับบริจาคจากประชาชนหน้าโง่ โกหกตอแหล ทำให้บ้านเมืองชิบหาย


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:08, 14 กรกฎาคม 2560

สุเทพ เทือกสุบรรณ (ไอ้เทือก)
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
ถัดไปสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าประสพ บุษราคัม
ถัดไปเสนาะ เทียนทอง
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 7 ธันวาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าอำพล เสนาณรงค์
ถัดไปสมุทร มงคลกิติ
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม พ.ศ. 2546 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
ถัดไปเฉลิมชัย ศรีอ่อน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2522–2556)
คู่สมรสจุฑาภรณ์ เทือกสุบรรณ (2521–2533)
ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ (2537–ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
มหาวิทยาลัยมิดเดิลเทนเนสซีสเตด
ลายมือชื่อไฟล์:ลายเซ็น สุเทพ เทือกสุบรรณ.svg

สุเทพ เทือกสุบรรณ (ไอ้เทือก) เป็นประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลอภิสัส เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานีหลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการหลายกระทรวง จนถึงปี 2554 เป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เขาลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นเลขาธิการ กปปส. ซึ่งดำเนินการประท้วงเพื่อพยายามโค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในห้วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขาเรียกร้องให้ตั้ง "สภาประชาชน" ซึ่งมิได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง เขาเคยเรียกร้องเพื่อให้เขาสวมบทบาทเป็น "องค์อธิปัตย์" เพื่อออกกฎบัตร ตั้งรัฐบาลใหม่ และตั้งสภาประชาชน และจะประท้วงต่อหากรัฐบาลใหม่ไม่สามารถนำการปฏิรูปที่ กปปส. ชี้นำไปปฏิบัติได้สำเร็จ[1] หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาถูก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จับเป็นเวลาสี่วันก่อนถูกปล่อยตัว จากนั้นเขาบวชในเดือนกรกฎาคม 2557 วัดไตรธรรมาราม อ.เมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประวัติ

สุเทพ เทือกสุบรรณเกิดวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรของนายจรัส เทือกสุบรรณ กำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางละม้าย เทือกสุบรรณ(สกุลเดิม ชาวนา) มีพี่น้องท้องเดียวกัน 6 คนคือ สุเทพ เทือกสุบรรณ นางศิริรัตน์ จู๋ยืนยง กับนางชานี เทือกสุบรรณ (เป็นคู่แฝด) นายเชน เทือกสุบรรณ นางจิมิสุดา เทือกสุบรรณ นายธานี เทือกสุบรรณ และนางสาวดอกสร้อยทอง เทือกสุบรรณ

สุเทพสำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม จ.กรุงเทพมหานคร ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 ระหว่างเป็นนักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกรรมการสโมสรนักศึกษาและเป็นประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทกลับมา สุเทพได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น กำนันตำบลท่าสะท้อน ต่อจากผู้เป็นบิดา และชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้เป็นกำนันขณะมีอายุได้ 26 ปี สุเทพยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา ผู้นำธุรกิจสังคมและการเมือง จาก วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[2]

สุเทพ เทือกสุบรรณสมรสครั้งแรกกับ นางจุฑาภรณ์ เทือกสุบรรณ มีบุตรธิดา 3 คน คือ แทน เทือกสุบรรณ, น้ำลอดช่อง เทือกสุบรรณ และน้ำเมือก เทือกสุบรรณ ภายหลังภรรยาได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ต่อมาได้สมรสใหม่กับศรีสกุล พร้อมพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา (อดีตภรรยาพรเทพ เตชะไพบูลย์) และได้รับบุตรของนางศรีสกุลที่เกิดจากนายพรเทพมาเป็นบุตรบุญธรรม 3 คน คือ สิทธิพัฒน์ เตชะไพบูลย์, เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ และน.ส.ธีราภา พร้อมผสมพันธุ์[3]

บทบาททางการเมือง

สุเทพ เข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย[ต้องการอ้างอิง] และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

บทบาทหลังเลือกตั้ง 2548

หลังการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้บริหารพรรคครั้งใหญ่ สุเทพได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรค และพอดีกับมีบทบาทอย่างมากในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 โดยเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานยื่นฟ้องพรรคไทยรักไทย[ต้องการอ้างอิง] และต่อมาพรรคไทยรักไทยถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรค

ในการจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปี พ.ศ. 2551 ซึ่งสุเทพเป็นผู้ที่มีบทบาทในการประสานงานจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนั้น จนได้รับการขนานนามว่า "ผู้จัดการรัฐบาล"[4] และได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สุเทพ ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง วินิจฉัยการถือครองหุ้นของเขาผิดรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม[5]

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 สุเทพ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[6] เพื่อกลับไปลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกครั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งการเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นที่มาของการถูกมองว่าสุเทพ ต้องการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเตรียมตัวเป็นนายกรัฐมนตรีสำรอง ในกรณีที่ถูกยุบพรรค[7] ภายหลังได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงได้กลับเข้ามารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง[8]

เลขาธิการ กปปส.

หลังรัฐประหาร สุเทพเปิดเผยว่า ตนพูดคุยกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ถอนรากถอนโคนอิทธิพลของทักษิณ ชินวัตรและพันธมิตรนับแต่การชุมนุมทางการเมืองใน พ.ศ. 2553 เขากล่าวว่า ได้ติดต่อเป็นประจำผ่านแอพไลน์ ก่อนรัฐประหาร พลเอก ประยุทธ์ติดต่อเขาว่า "คุณสุเทพและมวลชนผู้สนับสนุน กปปส. ของท่านเหนื่อยมากแล้ว ตอนนี้เป็นหน้าที่ของกองทัพที่ต้องรับต่อ" สุเทพว่า กองทัพตระหนักดีถึงวัตถุประสงค์ของ กปปส. ระหว่างที่กลุ่มกดดันข้าราชการและทหารให้เข้าร่วมขบวนการ กองทัพได้รับข้อเสนอของ กปปส. หลายอย่าง เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร[9]

หมายจับในข้อหากบฎ

ศาลอาญาอนุมัติหมายจับสุเทพ เทือกสุบรรณ และพวก ในข้อหาร่วมกันเป็นกบฏ และอนุมัติหมายจับแกนนำ คปท.กรณีบุกกระทรวงการต่างประเทศด้วย

หลังจากที่พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุมัติหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่ม กปปส. ในข้อหาร่วมกันเป็นกบฏ, กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ มิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด่างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็นว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ โดยเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการ และเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแต่ไม่เลิก ซึ่งล่าสุดศาลได้อนุมัติหมายจับดังกล่าวแล้ว

นอกจากนี้ ศาลอาญายังได้อนุมัติหมายจับนายนิติธร ล้ำเหลือ, นายอุทัย ยอดมณี, นายรัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี และ นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย หรือ คปท. ในข้อหาร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายในเวลากลางคืน, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และทำให้เสียทรัพย์กรณีบุกรุกกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นเหตุให้ประตูเลื่อนไฟฟ้าเสียหาย 4 บาน ซึ่งศาลได้ไต่สวนพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวม 7 ปาก ขณะที่นางสาวพวงทิพย์ บุญสนอง ทนายความกลุ่ม คปท.ที่ยื่นคำร้องคัดค้านหมายจับ นำพยานเข้าเบิกความจำนวน 2 ปาก

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ร้องมีหลักฐานพอสมควรว่า ผู้ถูกร้องทั้ง 4 คน กระทำความผิดอาญาและมีโทษจำคุก 3 ปีขึ้นไป จึงมีคำสั่งอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 4 คน

ขณะเดียวกันวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 15.00 นาฬิกา ศาลได้มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับ นายสุเทพ ในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และความผิดฐานบุกรุกสถานที่ราชการ และมาตรา 216 ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 กรณีนำมวลชนเข้าปิดล้อม ขับไล่ข้าราชการ บุกยึดสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เป็นที่ชุมนุม ด้วย

เนื่องจากศาลเห็นว่า นายสุเทพ เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ ในข้อหาร่วมกันกบฏ ซึ่งมีอัตราโทษที่สูงกว่า และมีอายุความถึง 20 ปี จึงให้บังคับใช้หมายจับฉบับนี้แทนฉบับเดิม[10]

อุปสมบท

วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ทวีตภาพและข้อความผ่านทวิตเตอร์ เปิดเผยว่า สุเทพได้ตัดสินใจบวชแบบสายฟ้าแลบแล้ว ที่วัดท่าไทร และไปจำวัดที่วัดสวนโมกข์ (สวนโมกขพลาราม) จ.สุราษฎร์ธานี โดยข้อความที่นายเทพไทได้ทวีตข้อความมีใจความว่า "ลุงกำนันตัดสินใจบวชแบบสายฟ้าแลบ ที่วัดท่าไทร และจะไปจำวัดที่วัดสวนโมกข์ ขออนุโมทนาบุญกับหลวงลุงด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ"

โดยเมื่อคืนวันที่ 14 กรกฎาคม สุเทพพร้อมญาติ 1 คน เดินทางมาพบพระเทพพิพัฒนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดท่าไทร และเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี แจ้งความประสงค์จะขอบวชโดยบอกว่าไม่มีภาระอะไรแล้ว จะขอบวชเงียบๆ ไม่ให้ใครรู้และไม่บอกใคร

ทั้งนี้ พระเทพพิพัฒนาภรณ์ ได้โกนผมให้ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางคืนและนอนพักที่กุฏิเจ้าอาวาสกับญาติผู้น้อง กระทั่งได้ฤกษ์อุปสมบทเมื่อเวลา 09.09 น. วันที่ 15 กรกฎาคม มีผู้อยู่ในโบสถ์ประกอบพิธีกัน 3 คน พระเทพพิพัฒนาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และให้ฉายาว่า "ประภากะโร" แปลว่าผู้กระทำซึ่งแสงสว่าง เมื่อบวชแล้วเสร็จห่มผ้าเหลืองเดินออกประตูโบสถ์มา มีพระลูกวัดมาพบเข้าพอดีได้ขอถ่ายรูปจนมีการส่งต่อๆ กัน[11]

วันที่ 28 กรกฎาคม 2558 สุเทพลาสิกขา และวันเดียวกัน ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการย้ายสำนักงาน บช.ภ.8 จากอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีไปจังหวัดภูเก็ต ชี้ตำรวจชั้นผู้น้อยเดือดร้อน[12]

ตำแหน่งทางการเมือง

การทุจริตทางการเมืองและคดีความ

กรณี ส.ป.ก.4-01

ในส่วนหนึ่งของแผนปฏิรูปที่ดิน สปก.4-01 สุเทพมอบโฉนดที่ดิน 592 แปลงในเขาสามเหลี่ยม กมลาและนาคเกิดในจังหวัดภูเก็ตแก่เกษตรกร 489 คน ต่อมาพบว่ามีสมาชิกครอบครัวมั่งมี 11 ครอบครัวเป็นผู้รับโฉนดด้วย สุเทพปราศรัยต่อฝูงชนขนาดใหญ่ในเขตเลือกตั้งสุราษฎร์ธานีของเขาหนึ่งเดือนก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจและเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนเขาเดินขบวนมากรุงเทพมหานครหลายแสนคนเพื่อปกป้องชื่อเสียงของเขา[14] กรณีอื้อฉาวนี้ทำให้นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยแห่งพรรคประชาธิปัตย์ยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนกรกฎาคม 2538 เพื่อเลี่ยงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ[15] ในการเลือกตั้งถัดมา พรรคชาติไทยได้เสียงข้างมาก นำให้รัฐบาลอันมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำของชวน หลีกภัยถึงกาลสิ้นสุด

โทรเลขการทูตวิกิลีกส์จากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐเปิดเผยว่า สมาชิกพรรคเดียวกับเขาจำนวนมากบ่นถึงพฤติกรรมฉ้อฉลและไร้ศีลธรรมของเขามานานแล้ว[16][17][18]

กรณีก่อสร้างสถานีตำรวจ 396 แห่ง

โครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจทดแทนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 396 แห่ง มูลค่า 5,848 ล้านบาท เข้าข่ายการฮั้วประมูล เพราะมีการรวบสัญญาการดำเนินการมาเป็นสัญญาเดียว จากที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอให้มีการทำเป็นหลายสัญญา

เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นรองนายกรัฐมนตรี ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุการอนุมัติโครงการดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ต่อมา สุเทพยกเลิกแนวทางการจัดจ้างเป็นรายภาค ให้จัดจ้างรวมกันทั้งหมดแทน เมื่อ 11 ต.ค.2553 เลยทำให้มีบริษัทเดียวที่ชนะการประมูลการก่อสร้างในครั้งนี้ไป

ในขณะนี้ สุเทพได้ยื่นฟ้องหมิ่นประมาทต่อนาย ธาริต เพ็งดิษฐ์ ที่ศาลาอาญาต่อกรณีนี้ด้วยเห็นว่า ตนได้ดำเนินการไปตามความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศาลอาญา รัชดา มีคำสั่งประทับรับฟ้องแล้ว [19]

การถือหุ้น

ในปี 2552 สุเทพถูกกล่าวหาว่าละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยถือหุ้นในบริษัทสื่อซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาล ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่สุเทพสนับสนุน ห้ามสมาชิกรัฐสภามิให้ถือหุ้นในบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาล ในเดือนกรกฎาคม 2552 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศว่าจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตัดสิทธิสุเทพ สุเทพจัดการแถลงข่าวในวันรุ่งขึ้น โดยประกาศตัดสินใจลาออกจากสมาชิกรัฐสภา การลาออกจากสมาชิกรัฐสภาไม่มีผลต่อสถานภาพรองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะรัฐมนตรีของเขา

คดีสุเทพร้อยศพ

หลังศาลอาญาวินิจฉัยหลายครั้งว่า ผู้ประท้วงเสื้อแดงที่เสียชีวิตและบาดเจ็บระหว่างความไม่สงบทางการเมืองในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 เป็นผลโดยตรงจากคำสั่งที่มอบหมายทหารโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ อัยการและตำรวจตกลงฟ้องเขาข้อหาฆ่าคน[20][21]

ศาลยังวินิจฉัยว่า สุเทพร่วมกับอภิสิทธิ์ต้องรับผิดชอบต่อการลอบสังหารผู้สื่อข่าวชาวอิตาเลียน ฟาบิโอ โปเลงกี ซึ่งทำข่าวการประท้วงปี 2553 ด้วย

29 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติยกฟ้องนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในคดีนี้ และถึงแม้เขาจะมีคดีอื่น ๆ เขาไม่เคยถูกจำคุกเลยจากเหตุการณ์ทางการเมือง

หลังรัฐประหาร 2557

ในปี พ.ศ. 2557 เขาก่อตั้ง สำนักกฎหมาย พัชรวิชญ์ แอดโวเคทส์ เขายังก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และเขาดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2558[22]เขามีบทบาทในการชักนำประชาชนให้สนับสนุน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยผ่านเว็บไซด์เฟซบุ๊ก และในปีพ.ศ. 2560 เขาประกาศ สนับสนุน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2

เรื่องราวอื้อฉาว

โกงคดีก่อสร้างโรงพัก โกงคดีการสร้างทางยกระดับ เดินขอทานรับบริจาคจากประชาชนหน้าโง่ โกหกตอแหล ทำให้บ้านเมืองชิบหาย

อ้างอิง

  1. "Suthep To Seek Royal Approval For His 'People Coup'". Khaosod English. 6 April 2014. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  2. http://www.manager.co.th/campus/ViewNews.aspx?NewsID=9570000136328
  3. http://asianpacificnews.com/news4/?p=18664
  4. เกชา ป้อมงาม (2546) “บทบาททางการเมืองของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ” วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  5. นายกฯ ชี้สุเทพไม่ต้องลาออกรองนายกฯ เพราะขายหุ้นก่อน
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก
  7. รองฯสุเทพ พร้อมลาออกก่อนลงสมัคร ส.ส.
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 132ง วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
  9. "Suthep in talks with Prayuth 'since 2010'". Bangkok Post. 2014-06-23. สืบค้นเมื่อ 2014-06-23.
  10. ศาลเพิกถอนหมายจับ'สุเทพ-มั่วสุ่ม 10 คน
  11. [1]
  12. http://www.thairath.co.th/content/514687
  13. เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์
  14. McCargo, Duncan (February 2004). "Southern Thai Politics: A Preliminary Overview" (PDF). University of Leeds. p. 15. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  15. "September 13, 1992: Democrats win election". The Nation (Thailand). 10 September 2007.
  16. The Associated Press (27 November 2013). "Thailand's ex-deputy PM Thaugsuban becomes street fighter". CBC News. สืบค้นเมื่อ 25 December 2013.
  17. "Thai protest leader Suthep Thaugsuban". France24. 2 December 2013. สืบค้นเมื่อ 25 December 2013.
  18. The Associated Press (27 November 2013). "Mastermind of Thai protests ditches politics to lead uprising". CTV News. สืบค้นเมื่อ 25 December 2013.
  19. มติชน
  20. "Abhisit, Suthep hit with murder charges". Bangkok Post. 29 October 2013. สืบค้นเมื่อ 25 December 2013.
  21. "Abhisit, Suthep face more murder charges over 2010 strife". The Nation. 6 May 2013. สืบค้นเมื่อ 25 December 2013.
  22. สุเทพ: “สิ่งที่ดีที่สุดภายใต้ความเป็นไปได้คือ พล.อ.ประยุทธ์”

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สุเทพ เทือกสุบรรณ

ก่อนหน้า สุเทพ เทือกสุบรรณ ถัดไป


สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
สนั่น ขจรประศาสน์
โอฬาร ไชยประวัติ
ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 25518 ตุลาคม พ.ศ. 2553
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ
กิตติรัตน์ ณ ระนอง
ชุมพล ศิลปอาชา
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ไฟล์:ตรากระทรวงคมนาคม.png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 53)
(14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543)
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประสพ บุษราคัม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม. 44)
(11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531)
เสนาะ เทียนทอง
อำพล เสนาณรงค์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม. 50)
(29 กันยายน พ.ศ. 2535 - 7 ธันวาคม พ.ศ. 2537)
สวัสดิ์ สืบสายพรหม
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ไฟล์:Democrat Party logo.png
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
(5 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
เฉลิมชัย ศรีอ่อน