จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จังหวัดสุราษฎร์ธานี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Surat Thani |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง : วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร, วัดทุ่งหลวง,
อุทยานธรรมเขานาในหลวง, อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง, อุทยานแห่งชาติเขาสก, เกาะนางยวน, หินตาหินยาย | |
คำขวัญ: เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ | |
![]() แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานีเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ![]() |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | วิชวุทย์ จินโต (ตั้งแต่ พ.ศ. 2560) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 12,891.469 ตร.กม. (4,977.424 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 6 |
ประชากร (พ.ศ. 2564) | |
• ทั้งหมด | 1,072,464 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 19 |
• ความหนาแน่น | 83.19 คน/ตร.กม. (215.5 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 59 |
รหัส ISO 3166 | TH-84 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | สุราษฎร์ฯ เมืองคนดี เมืองร้อยเกาะ บ้านดอน |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | เคี่ยม |
• ดอกไม้ | บัวผุด |
• สัตว์น้ำ | ปลาตะพัดเขียว |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถนนดอนนก ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 |
• โทรศัพท์ | 0 7727 2926 |
• โทรสาร | 0 7728 2175 |
เว็บไซต์ | http://www.suratthani.go.th |
![]() |
สุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า สุราษฎร์ฯ ใช้อักษรย่อ สฎ เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่[2] และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และระนอง
จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 98 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดกระบี่ ที่มี 154 เกาะ[3] เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช [4] แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย
ประวัติศาสตร์[แก้]
จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นที่ตั้งของเมืองเก่า เป็นศูนย์กลางของเมืองศรีวิชัย มีหลักฐานแสดงถึงการตั้งรกรากและเส้นทางสายไหมในอดีต พื้นที่อำเภอไชยาเจริญขึ้นจนเป็นอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 13 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองในอดีต ภายหลังยังเชื่อว่า เมื่ออาณาจักรตามพรลิงก์หรือเมืองนครศรีธรรมราชมีความรุ่งเรืองมากขึ้นนั้น เมืองไชยาก็เป็นหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ชื่อว่า "เมืองบันไทยสมอ"[5]
นอกจากนี้ในยุคใกล้เคียงกันนั้นยังพบความเจริญของเมืองที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำตาปี ได้แก่ เมืองเวียงสระ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองท่าทอง โดยเชื่อว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชนั้นอพยพย้ายเมืองมาจากเมืองเวียงสระ เนื่องจากเป็นเมืองที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รวมทั้งเกิดโรคภัยระบาด[6] และเมื่อเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองนั้น ได้ยกเมืองไชยา และเมืองท่าทอง เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของตนด้วย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งอู่เรื่อพระที่นั่งและเรือรบเพื่อใช้ในราชการที่อ่าวบ้านดอน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ย้ายที่ตั้งเมืองท่าทองมายังอ่าวบ้านดอน พร้อมทั้งยกฐานะให้เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และพระราชทานชื่อว่า "เมืองกาญจนดิษฐ์"[5] โดยแต่งตั้งให้พระยากาญจนดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองดูแลการปกครอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เมืองเมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองไชยารวมตัวเป็นจังหวัดไชยา ขึ้นตรงต่อมณฑลชุมพร เมื่อเมืองขยายใหญ่ขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการปกครองและขยายเมืองออกไป มีการแยกเมืองกาญจนดิษฐ์เป็นอำเภอกาญจนดิษฐ์และอำเภอบ้านดอน กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการย้ายอำเภอเมืองมาที่อำเภอบ้านดอนและโอนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอไชยา และให้ชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอพุมเรียง" ทว่าประชาชนยังติดเรียกชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" ทั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดปรานชื่อบ้านดอน จึงพระราชทานนามอำเภอบ้านดอนว่า "สุราษฎร์ธานี" และยังคงชื่ออำเภอพุมเรียงว่าอำเภอไชยาเช่นเดิม รวมถึงเปลี่ยนชื่อจังหวัดเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี[7] และพระราชทานนามแม่น้ำตาปี ให้ในคราวเดียวกันนั้นเอง ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามแบบเมืองและแม่น้ำในประเทศอินเดียที่มีแม่น้ำตาปตีไหลลงสู่ทะเลออกผ่านปากอ่าวที่เมืองสุรัต[5]
ภูมิศาสตร์[แก้]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ และอันดับ 1 ของภาคใต้[8] โดยมีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้
- ด้านเหนือ ติดกับจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร และอ่าวไทย
- ด้านใต้ ติดกับจังหวัดกระบี่และจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ด้านตะวันออก ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและอ่าวไทย
- ด้านตะวันตก ติดกับจังหวัดพังงา
โดยทะเลฝั่งอ่าวไทยนั้นมีชายฝั่งยาวประมาณ 156 กิโลเมตร โดยมีเกาะที่อยู่ภายใต้เขตการปกครองของจังหวัด ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งมีเกาะน้อยใหญ่อีกมากมาย จึงได้ชื่อว่าเมืองร้อยเกาะ เช่น เกาะนางยวน เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ[แก้]
จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย ได้แก่ ภูมิประเทศแบบที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูง รวมทั้งภูมิประเทศแบบภูเขาซึ่งกินพื้นที่ของจังหวัดถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด [9] โดยมีทิวเขาภูเก็ตทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ของจังหวัด และมีลุ่มน้ำที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำตาปี ไชยา ท่าทอง เป็นต้น ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลอ่าวไทย และมีเกาะน้อยใหญ่ที่มีประชากรอาศัย ส่วนด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นภูเขาสูง มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำตาปี แม่น้ำคีรีรัฐหรือแม่นํ้าพุมดวง เนื่องจากทำเลที่ตั้งรวมถึงภูมิประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย ดังนั้น จึงทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนยาวนานมาก โดยกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมกราคม โดยจังหวัดสุราษฏร์ธานีมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 21.16 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.51 องศาเซลเซียส [10] และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 129.59 มิลลิเมตร [11]
การปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
จังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 19 อำเภอ 131 ตำบล 1,074 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้
![]() |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
จังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 35 เทศบาลตำบล และ 97 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก |
อำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน อำเภอไชยา |
อำเภอท่าชนะ อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม อำเภอท่าฉาง |
อำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอเคียนซา |
อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง อำเภอพุนพิน |
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี[แก้]
ลำดับ | ชื่อ | เข้ารับตำแหน่ง | สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1 | พระยาวรฤทธิ์ฤๅไชย (คออยู่ตี๋ ณ ระนอง) | พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 125) | พ.ศ. 2458 |
2 | พระยาชุมพรบุรีศรีสมุทเขต | พ.ศ. 2458 | พ.ศ. 2459 |
3 | พระยาพิศาลสารเกษตร์ | พ.ศ. 2459 | พ.ศ. 2461 |
4 | พระยาวิชิตภักดีศรีสุราษฎร์ธานินทร์ | พ.ศ. 2461 | พ.ศ. 2463 |
5 | พระยาศรีมหาเกษตร | พ.ศ. 2463 | พ.ศ. 2469 |
6 | พระยาสุราษฎร์ธานี | พ.ศ. 2469 | พ.ศ. 2477 |
7 | พระบริบูรณ์วุฒิราษฎร์ | พ.ศ. 2477 | พ.ศ. 2481 |
8 | หลวงสฤษฏสาราลักษณ์ | พ.ศ. 2481 | พ.ศ. 2484 |
9 | หลวงอรรถกัลยาณวินิจ | พ.ศ. 2485 | พ.ศ. 2485 |
10 | นายชลอ จารุจินดา | พ.ศ. 2485 | พ.ศ. 2486 |
11 | หลวงเกษมประศาสน์ | พ.ศ. 2486 | พ.ศ. 2487 |
12 | ขุนสำราษราษฎร์บริรักษ์ | พ.ศ. 2487 | พ.ศ. 2487 |
13 | นายแม้น อรจันทร์ | พ.ศ. 2487 | พ.ศ. 2487 |
14 | ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ | พ.ศ. 2489 | พ.ศ. 2492 |
15 | นายเลื่อน ไขแสง | พ.ศ. 2492 | พ.ศ. 2496 |
16 | ขุนอักษรสารสิทธิ์ | พ.ศ. 2496 | พ.ศ. 2497 |
17 | นายจันทร์ สมบูรณ์กุล | พ.ศ. 2497 | พ.ศ. 2501 |
18 | นายฉลอง รมิตานนท์ | พ.ศ. 2501 | พ.ศ. 2503 |
19 | นายประพันธ์ ณ พัทลุง | พ.ศ. 2503 | พ.ศ. 2509 |
20 | นายพร บุญยะประสพ | พ.ศ. 2509 | พ.ศ. 2511 |
21 | นายคล้าย จิตพิทักษ์ | พ.ศ. 2511 | พ.ศ. 2515 |
22 | นายอรุณ นาถะเดชะ | พ.ศ. 2515 | พ.ศ. 2517 |
23 | นายอนันต์ สงวนนาม | พ.ศ. 2517 | พ.ศ. 2519 |
24 | นายชลิต พิมลศิริ | พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2521 |
25 | นายกาจ รักษ์มณี | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2522 |
26 | นายสนอง รอดโพธิ์ทอง | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2524 |
27 | นายไสว ศิริมงคล | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2526 |
28 | นายนิพนธ์ บุญญภัทโร | พ.ศ. 2526 | พ.ศ. 2530 |
29 | นายวิโรจน์ ราชรักษ์ | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2532 |
30 | นายดำริ วัฒนสิงหะ | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2533 |
31 | นายอนุ สงวนนาม | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2535 |
32 | นายประพัฒน์พงษ์ บำเพ็ญสิทธิ์ | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2537 |
33 | นายประยูร พรหมพันธุ์ | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2539 |
34 | นายปรีชา รักษ์คิด | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2540 |
35 | นายนิเวศน์ สมสกุล | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2541 |
36 | นายภุชงค์ รุ่งโรจน์ | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2543 |
37 | นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์ | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2544 |
38 | นายยงยุทธ ตะโกพร | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2545 |
39 | หม่อมหลวงประทีป จรูญโรจน์ | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2546 |
40 | นายธีระ โรจนพรพันธุ์ | พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2547 |
41 | นายวิจิตร วิชัยสาร | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2549 |
42 | ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2550 |
43 | นายวินัย บัวประดิษฐ์ | พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2551 |
44 | นายประชา เตรัตน์ | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2552 |
45 | นายดำริห์ บุญจริง | พ.ศ. 2552 | พ.ศ. 2553 |
46 | นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล | พ.ศ. 2553 | พ.ศ. 2555 |
47 | นายเชิดศักดิ์ ชูศรี | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2555 |
48 | นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2558 |
49 | นายวงศศิริ พรหมชนะ | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2559 |
50 | นายอวยชัย อินทร์นาค | พ.ศ. 2559 | พ.ศ. 2560 |
51 | นายวิชวุทย์ จินโต | พ.ศ. 2560 | ปัจจุบัน |
เศรษฐกิจ[แก้]
เกษตรกรรม[แก้]
ประชากรในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 162,329 บาท ต่อปี โดยส่วนมากจะประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ โดยใช้ที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูกประมาณ 45% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เงาะ ทุเรียน และกาแฟ[12] นอกจากนั้น ยังมีการเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมง โดยปศุสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ แพะ โดยปศุสัตว์ที่มีมูลค่าผลผลิตมากที่สุด คือ โค สุกร ไก่ กระบือ และเป็ดตามลำดับ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รายงานแสดงจำนวนครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร แยกตามอาชีพทางการเกษตร
อุตสาหกรรม[แก้]
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น อุตสาหกรรมปลาป่น อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งในจังหวัดมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 730 โรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีมากที่สุด[12] นอกจากนี้ ยังมีการให้สัมปทานเหมืองแร่ โดยแร่ที่สำคัญในจังหวัด ได้แก่ ยิปซัม โดโลไมต์ แอนไฮโครต์ หินปูน ดินขาว และบอลเคลย์[12] สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่ได้รวมอยู่ในบริเวณศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่จะตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดใหม่ ระหว่างซอย 7 และซอย 9 ในตำบลตลาดถัดไปจากที่ว่าการอำเภอเมืองฯ เพียงเล็กน้อย
การคมนาคม[แก้]



สถานีขนส่งหลักที่สำคัญ[แก้]
ท่าอากาศยาน[แก้]
สถานีรถไฟ[แก้]
สถานีรถโดยสารประจำทาง[แก้]
- สถานีขนส่งสุราษฎร์ธานี
- ตลาดเกษตร 1
- ตลาดเกษตร 2
ท่าเทียบเรือ[แก้]
|
|
การศึกษา[แก้]
สถาบันอุดมศึกษา[แก้]
|
|
สถาบันอาชีวศึกษา[แก้]
|
|
โรงเรียน[แก้]
ธนาคาร[แก้]
ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีธนาคารทั้งหมด 18 ธนาคาร และมีจำนวนสาขาของธนาคารทั้งหมด 192 สาขา ได้แก่
|
|
โรงพยาบาล[แก้]
โรงพยาบาลศูนย์[แก้]
- โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
โรงพยาบาลทั่วไป[แก้]
|
|
|
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- เขื่อนรัชชประภา หรือ เขื่อนเชี่ยวหลาน เก็บถาวร 2019-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ป่าต้นน้ำ บ้านน้ำราด เก็บถาวร 2019-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พิพิธภัณฑ์ปลาหิน เก็บถาวร 2019-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- คมสัน นันทจิต
- จีรนันทน์ เศวตนันทน์
- ใจบัว ฮิดดิง
- ไชยวัฒน์ วรรณานนท์
- ชัชชัย สุขขาวดี
- นนธวรรณทัศ บรามาซ
- นาตยา จันทร์รุ่ง
- ภาณุ สุวรรณโณ
- มิลลิ (แร็ปเปอร์)
- ศิวกร เลิศชูโชติ
- ศุ บุญเลี้ยง
- สีเทา เพ็ชรเจริญ
- โสภา สถาพร
- อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม
- พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ
- ศุภวิทย์ เจริญสุข
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ "พัฒนาการทางประวัติศาสตร์: จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หอมรดกไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-11.
- ↑ "แฟนพันธุ์แท้ 25 เมษายน 2557 - เกาะทะเลไทย". แฟนพันธุ์แท้. 25 April 2014. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014.
- ↑ โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้โดยธนาคารแห่งประเทศไทย หน้า 1[ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 5.2 ระบบสารสนเทศจังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดู "ประวัติความเป็นมา"
- ↑ ฐานข้อมูลท้องถิ่น, เมืองโบราณ เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี
- ↑ ประวัติศาสตร์จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ↑ ประวัติความเป็นมา ที่ตั้งและอาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ การเดินทาง
- ↑ "ภูมิประเทศจังหวัดสุราษฏร์ธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
- ↑ "ข้อมูลอุณหภูมิในรอบปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-19. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
- ↑ "ข้อมูลปริมาณน้ำฝนในรอบปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-19. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 ฐานข้อมูลท้องถิ่น, สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา เก็บถาวร 2008-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- กองบิน 7 ฐานบินรบหลักของชาวปักษ์ใต้ เก็บถาวร 2007-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 10 สถานที่ท่องเที่ยวสุราษฎร์ธานี เก็บถาวร 2019-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โรงแรมในสุราษฎร์ธานี
พิกัดภูมิศาสตร์: 9°08′N 99°20′E / 9.14°N 99.33°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย