ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)
![]() | เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
![]() | |||||||||||
ผู้พัฒนา | LINE Corporation | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
วันที่เปิดตัว | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | ||||||||||
รุ่นล่าสุด |
| ||||||||||
สถานะการพัฒนา | เปิดให้บริการ | ||||||||||
ระบบปฏิบัติการ | |||||||||||
แพลตฟอร์ม | |||||||||||
ขนาดไฟล์ | |||||||||||
ภาษา | 17 ภาษา | ||||||||||
ประเภท | |||||||||||
สัญญาอนุญาต | ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ | ||||||||||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ ![]() |
ไลน์ (อังกฤษ: LINE) เป็นโปรแกรมเมสเซนเจอร์ระบบส่งข้อความทันที[5][6] ที่ญี่ปุ่นซื้อมาจาก Naver Corporation ของเกาหลี[6][5] ที่มีความสามารถใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์มือถือที่มีระบบปฏิบัติการไอโอเอส, แอนดรอยด์, วินโดวส์โฟน ล่าสุดสามารถใช้งานได้บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และแมคโอเอสได้แล้ว ด้วยความที่มีลูกเล่นมากมาย สามารถคุย ส่งรูป ส่งไอคอน ส่งสติกเกอร์ ตั้งค่าคุยกันเป็นกลุ่ม ฯลฯ ทำให้มีผู้ใช้งานโปรแกรมนี้เป็นจำนวนมาก ชาวไทยนิยมใช้เป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่น
การใช้งาน[แก้]
ไลน์ซึ่งจะต้องเชื่อมต่อเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยซิมการ์ดหรือไวไฟ และต้องลงทะเบียนผ่านอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์ก่อนที่จะใช้งาน ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายในการสนทนาหรือส่งข้อมูลตามบริการที่สมัครไว้เช่น ข้อความ สติกเกอร์ ภาพ เสียง วิดีโอ การถ่ายทอดสด เป็นต้น
ความสำเร็จ ไลน์ถูกสร้างมาโดย NHN Japan ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต เกม เซิร์ฟเวอร์ เว็บไซต์ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งได้ร่วมกับบริษัท Naver Japan Corporation และบริษัท livedoor โดยมี NHN Japan เป็นผู้บุกเบิกและคอยปรับปรุงการให้บริการฟีเจอร์ใหม่ ๆ ของไลน์ บางส่วน ดูแลด้านการพัฒนาด้านธุรกิจ ทางตลาด และโปรโมชันทั่วไป
องค์ประกอบเสริม[แก้]
ไลน์ บิซเนสคะเน็กท์[แก้]
"ไลน์ บิซเนสคะเน็กท์" (Line Business Connect) คือ API สำหรับภาคธุรกิจที่ต้องการสื่อสารกับผู้บริโภค เปิดตัวครั้งแรกในปี 2014 [7] ได้รับการต่อยอดมาจาก Line Official Account และได้รับการพัฒนาให้เป็นเครื่องมือการสร้าง Engagement โดยเน้นการใช้ข้อมูลที่มีอยู่มาสร้าง Value เพื่อนำมาสร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ [8] สำหรับในประเทศไทย ด้านไลน์ บิซิเนสส์ คอนเน็คท์ ให้บริการ 4 ด้าน เช่น Campaign, CRM, Commerce และ Customer Service พร้อมระบบ AI ในการตอบโต้กับผู้ใช้ [9] รวมถึงมีกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ที่ใช้ไลน์ บิซิเนสส์ คอนเน็คท์ ไม่ว่าจะเป็น บริการขายของออนไลน์ผ่าน MyShop, กลุ่มขายปลีก, กลุ่ม FMCG, กลุ่มธนาคารและการเงิน, กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม และกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร [10]
ดูเพิ่ม[แก้]
- ไลน์เฟรนส์
- ไลน์ทีวี
- Line MyShop
- คาเคาทอล์ก (คาเคาเฟรนส์)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ https://www.apkmirror.com/apk/line-corporation/line/line-13-0-1-release/.
- ↑ https://apps.apple.com/app/id443904275.
- ↑ https://apps.apple.com/us/app/line/id539883307.
- ↑ https://chrome.google.com/webstore/detail/line/ophjlpahpchlmihnnnihgmmeilfjmjjc.
- ↑ 5.0 5.1 http://www.reuters.com/article/us-line-results-idUSKBN159154
- ↑ 6.0 6.1 http://www.cnbc.com/2016/07/13/japanese-messaging-app-line-will-keep-close-ties-to-korean-internet-giant-naver.html
- ↑ [1], Blognone.com, (2557), LINE เปิด API เป็นทางการ ใช้ชื่อ LINE Business Connect",สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562
- ↑ [2],Brandbuffet.in.th (2561), LINE x SCB ยกระดับสร้าง Engage รูปแบบใหม่ LINE Business Connect",สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562
- ↑ [3], Brandinside.asia (2559), LINE ใช้ระบบ AI พัฒนาบริการ Official Account ให้เป็นมากกว่าแค่การ Chat",สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562
- ↑ [4],Thumbsup.in.th (2561), LINE Business Connect เครื่องมือทางการตลาดที่เข้าถึงลูกค้าได้แบบไม่น่ารำคาญ",สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]