ข้ามไปเนื้อหา

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 50

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีชวน
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2535 - 2538
วันแต่งตั้ง23 กันยายน พ.ศ. 2535
วันสิ้นสุด13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(2 ปี 298 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
จำนวนรัฐมนตรี35
พรรคร่วมรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ (79)
พรรคชาติพัฒนา (60) (2537-2538)
พรรคพลังธรรม (46)
พรรคเสรีธรรม (8)
พรรคเอกภาพ (8)
พรรคความหวังใหม่ (53) (2535-2537)
พรรคกิจสังคม (25) (2535-2536)
สถานะในสภานิติบัญญัติรัฐบาลผสม
201 / 360
พรรคฝ่ายค้านพรรคชาติไทย (76)
พรรคประชากรไทย (4)
พรรคราษฎร (1)
ผู้นำฝ่ายค้านพลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร (ถึง 2537)
บรรหาร ศิลปอาชา (เริ่ม 2537)
ประวัติ
การเลือกตั้ง13 กันยายน พ.ศ. 2535
สิ้นสุดจากการเลือกตั้ง2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 18
วาระสภานิติบัญญัติ4 ปี
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 49
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 51

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 50 ของไทย (23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)

นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศนายมารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ประวัติ

[แก้]

ภายหลังการเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายชวน หลีกภัย ไดรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด จำนวน 79 เสียง และรวบรวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคต่างๆ จัดตั้งรัฐบาล ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ 79 เสียง พรรคความหวังใหม่ 51 เสียง พรรคพลังธรรม 47 เสียง พรรคกิจสังคม 22 เสียง และพรรคเอกภาพ 8 เสียง รวมเป็น 207 เสียง (จาก 360 เสียงในสภา) โดยมีการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี จำนวน 48 ตำแหน่ง ให้พรรคการเมืองต่างๆ ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ 18 ตำแหน่ง พรรคความหวังใหม่ 11 ตำแหน่ง พรรคพลังธรรม 11 ตำแหน่ง พรรคกิจสังคม 5 ตำแหน่ง และพรรคเอกภาพ 2 ตำแหน่ง

ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 พรรคกิจสังคม หลังประกาศจะรวมพรรคกับพรรคฝ่ายค้าน อย่างเช่น พรรคชาติพัฒนา พรรคประชากรไทย พรรคมวลชน และพรรคราษฏร แต่สุดท้ายก็มีเพียงพรรคมวลชนเท่านั้น ที่ยุบรวมกับพรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์จึงตัดสินใจปรับพรรคกิจสังคมออกจากการร่วมรัฐบาล และเชิญพรรคเสรีธรรม มาร่วมงานแทน

ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2537 พรรคความหวังใหม่ เกิดความขัดแย้งกับพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องการกระจายอำนาจจึงตัดสินใจถอนตัวออกจากรัฐบาล โดยก่อนหน้านั้นพรรคฝ่ายค้าน ได้ทำสัตยาบันประกาศ ไม่ร่วมรัฐบาล แต่พรรคชาติพัฒนา ตัดสินใจฉีกสัตยาบัน จนกลายเป็นที่มาของคำว่า "เสียบเพื่อชาติ"

อย่างไรก็ตาม ในการอภิปรายไม่วางใจ เมื่อ พ.ศ. 2538 เกิดความขัดแย้งภายในพรรคพลังธรรม เพราะสมาชิกส่วนหนึ่งนำโดย นาวาตรี ประสงค์ สุ่นศิริ และ พันเอก วินัย สมพงษ์ ไม่พอใจเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรีในส่วนของพรรค เพราะเมื่อ พลตรี จำลอง ศรีเมือง กลับมารับตำแหน่ง ได้ล้างไพ่รัฐมนตรีของพรรคใหม่ทั้งหมด และก่อตั้งกลุ่ม 23 ขึ้นมา ซึ่งกลุ่มดังกล่าวมีแนวคิดขัดแย้งกับรัฐบาลหลายหน และในวันก่อนลงมติไม่ไว้วางใจ สมาชิกของกลุ่ม 23 ของพรรคพลังธรรม รวมถึงกลุ่ม 16 ที่อยู่ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ประกาศลงมติไม่ไว้วางใจ พรรคพลังธรรมจึงถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล ส่งผลให้ นายชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในเช้าวันนั้นก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538

แต่คณะรัฐมนตรีก็ทำหน้าที่รักษาการจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ ในวันที่ 13 กรกฎาคม​ พ.ศ. 2538

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

[แก้]
ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี
(จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี)
รัฐมนตรีว่าการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการ
รัฐมนตรีลอย
ออกจากตำแหน่ง
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย
แต่งตั้งเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 ของไทย
ตำแหน่ง รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ พรรคการเมือง
นายกรัฐมนตรี * ชวน หลีกภัย 23 กันยายน พ.ศ. 2535 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 มีพระบรมราชโองการ
ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกตั้งใหม่
ประชาธิปัตย์
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 รักษาการ(ทั้งคณะ)เพื่อรอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
รองนายกรัฐมนตรี 1 บัญญัติ บรรทัดฐาน 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
อำนวย วีรวรรณ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 8 มกราคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
บุญชู โรจนเสถียร 29 กันยายน พ.ศ. 2535 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
2 ศุภชัย พานิชภักดิ์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
สุขวิช รังสิตพล 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
พลตรี จำลอง ศรีเมือง 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม
3 พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
สำนักนายกรัฐมนตรี 4 เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
5 สาวิตต์ โพธิวิหค 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
สุรศักดิ์ เทียมประเสริฐ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
พันเอก ชินวุธ สุนทรสีมะ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
พิมพา จันทร์ประสงค์ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม
6 กร ทัพพะรังสี 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
7 ปัญจะ เกสรทอง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
กระทรวงกลาโหม 8 พลเอก วิจิตร สุขมาก 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
พลตรี สมบัติ รอดโพธิ์ทอง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม
กระทรวงการคลัง 9 ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
บุญชู ตรีทอง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
10 อำนวย ปะติเส 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
11 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
กระทรวงการต่างประเทศ นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
กระแส ชนะวงศ์ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม
12 สุรินทร์ พิศสุวรรณ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
13 ประจวบ ไชยสาส์น 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
สุเทพ เทือกสุบรรณ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 7 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
สวัสดิ์ สืบสายพรหม 29 กันยายน พ.ศ. 2535 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
ถวิล จันทร์ประสงค์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
สมุทร มงคลกิติ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม
14 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
15 ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
กระทรวงคมนาคม พันเอก วินัย สมพงษ์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
16 วิชิต สุรพงษ์ชัย 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม
จรัส พั้วช่วย 29 กันยายน พ.ศ. 2535 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
ไสว พัฒโน 29 กันยายน พ.ศ. 2535 23 กันยายน พ.ศ. 2536 ไปเป็น รมว.ยุติธรรม ประชาธิปัตย์
ทวี ไกรคุปต์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
สมศักดิ์ เทพสุทิน 29 กันยายน พ.ศ. 2535 15 กันยายน พ.ศ. 2536 ปรับออกจากตำแหน่ง กิจสังคม
17 เอนก ทับสุวรรณ 23 กันยายน พ.ศ. 2536 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
18 พินิจ จารุสมบัติ 23 กันยายน พ.ศ. 2536 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เสรีธรรม
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม
19 เดช บุญ-หลง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
กระทรวงพาณิชย์ 20 อุทัย พิมพ์ใจชน 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เอกภาพ
21 ไชยยศ สะสมทรัพย์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เอกภาพ
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
ไพฑูรย์ แก้วทอง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 23 กันยายน พ.ศ. 2536 ไปเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ความหวังใหม่
เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย 23 กันยายน พ.ศ. 2536 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
ฉัตรชัย เอียสกุล 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
22 กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
กระทรวงมหาดไทย พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
23 พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
เด่น โต๊ะมีนา 29 กันยายน พ.ศ. 2535 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
24 สุทัศน์ เงินหมื่น 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
เชาวน์วัศ สุดลาภา 29 กันยายน พ.ศ. 2535 15 กันยายน พ.ศ. 2536 ปรับออกจากตำแหน่ง กิจสังคม
อุดร ตันติสุนทร 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม
วันมูหะมัดนอร์ มะทา 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
25 ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
กระทรวงยุติธรรม สุวิทย์ คุณกิตติ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 15 กันยายน พ.ศ. 2536 ปรับออกจากตำแหน่ง กิจสังคม
26 ไสว พัฒโน 23 กันยายน พ.ศ. 2536 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
กระทรวงแรงงานและสัวสดิการสังคม พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 23 กันยายน พ.ศ. 2536 7 มกราคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
ไพฑูรย์ แก้วทอง 8 มกราคม พ.ศ. 2537 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
27 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
ไพฑูรย์ แก้วทอง 23 กันยายน พ.ศ. 2536 7 มกราคม พ.ศ. 2537 ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการฯ ความหวังใหม่
เสริมศักดิ์ การุญ 23 กันยายน พ.ศ. 2536 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกากตำแหน่ง ความหวังใหม่
28 ยุทธ อังกินันทน์ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิศาล มูลศาสตรสาทร 29 กันยายน พ.ศ. 2535 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
29 สุวัจน์ ลิปตพัลลภ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
30 ปรีชา มุสิกุล 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
กระทรวงศึกษาธิการ 31 สัมพันธ์ ทองสมัคร 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
ปราโมทย์ สุขุม 29 กันยายน พ.ศ. 2535 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
สังข์ทอง ศรีธเรศ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
อดิศร เพียงเกษ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
สฤต สันติเมทนีดล 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม
32 กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
33 เจริญ คันธวงศ์ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
กระทรวงสาธารณสุข บุญพันธ์ แขวัฒนะ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 15 กันยายน พ.ศ. 2536 ปรับออกจากตำแหน่ง กิจสังคม
34 อาทิตย์ อุไรรัตน์ 23 กันยายน พ.ศ. 2536 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เสรีธรรม
รักเกียรติ สุขธนะ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 15 กันยายน พ.ศ. 2536 ปรับออกจากตำแหน่ง กิจสังคม
เอนก ทับสุวรรณ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 23 กันยายน พ.ศ. 2536 ไปเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ประชาธิปัตย์
อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
35 เตือนใจ นุอุปละ 23 กันยายน พ.ศ. 2536 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
36 ไตรรงค์ สุวรรณคีรี 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
37 พรเทพ เตชะไพบูลย์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์
เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ปรับออกจากตำแหน่ง ความหวังใหม่
38 ประเทือง คำประกอบ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ชาติพัฒนา
ทบวงมหาวิทยาลัย สุเทพ อัตถากร 29 กันยายน พ.ศ. 2535 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ลาออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
กระแส ชนะวงศ์ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง พลังธรรม
ถวิล ไพรสณฑ์ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลาออกจากตำแหน่ง(ขณะรักษาการ) พลังธรรม


ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้[1]

  1. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. นายอำนวย วีรวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  3. นายบุญชู โรจนเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  4. นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  5. นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  6. นายสาวิตต์ โพธิวิหค เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  7. นายสุรศักดิ์ เทียมประเสริฐ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  8. พันเอก ชินวุธ สุนทรสีมะ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  9. พลเอก วิจิตร สุขมาก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  10. พลตรี สมบัติ รอดโพธิ์ทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  11. นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  12. นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  13. นายบุญชู ตรีทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  14. นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  15. นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  16. นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  17. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  18. นายสวัสดิ์ สืบสายพรหม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  19. นายถวิล จันทร์ประสงค์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  20. พันเอก วินัย สมพงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  21. นายจรัส พั้วช่วย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  22. นายไสว พัฒโน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  23. นายทวี ไกรคุปต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  24. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  25. นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  26. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  27. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  28. นายไพฑูรย์ แก้วทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  29. พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  30. นายเด่น โต๊ะมีนา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  31. นายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  32. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  33. นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  34. นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  35. นายพิศาล มูลศาสตรสาทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
  36. นายปรีชา มุสิกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
  37. นายสัมพันธ์ ทองสมัคร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  38. นายปราโมทย์ สุขุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  39. นายสังข์ทอง ศรีธเรศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  40. นายอดิศร เพียงเกษ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  41. นายบุญพันธ์ แขวัฒนะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  42. นายรักเกียรติ สุขธนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  43. นายเอนก ทับสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  44. นายอุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  45. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  46. นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  47. นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  48. นายสุเทพ อัตถากร เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

การปรับคณะรัฐมนตรี

[แก้]
  • วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2536 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
  1. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  2. นายเชาวน์วัศ สุดลาภา พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  3. นายสุวิทย์ คุณกิตติ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  4. นายบุญพันธ์ แขวัฒนะ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  5. นายรักเกียรติ สุขธนะ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2536 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
  1. นายไสว พัฒโน พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  2. นายเอนก ทับสุวรรณ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  3. นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  4. นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  5. พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมอีกตำแหน่งหนึ่ง
  6. นายไพฑูรย์ แก้วทอง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
  7. นายเสริมศักดิ์ การุญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
  8. นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  9. นางเตือนใจ นุอุปละ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2537
  1. ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายไพฑูรย์ แก้วทอง พ้นจากความเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สืบแทนพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง

  1. นายอำนวย วีรวรรณ ขอลาออกจากตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี
  • วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
  1. ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง
  • วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้
  1. นายจรัส พั้วช่วย ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  2. พลตรี สมบัติ รอดโพธิ์ทอง ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  • วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้
  1. นายถวิล จันทร์ประสงค์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  2. นายอุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  3. นายสุเทพ อัตถากร ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
  • วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้[2]
  1. พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ขอลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
  2. พันเอก ชินวุธ สุนทรสีมะ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  3. นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  4. นายเด่น โต๊ะมีนา ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

และในวันเดียวกัน ได้มีประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้

  1. นายบุญชู โรจนเสถียร พ้นจากความเป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  3. พันเอก วินัย สมพงษ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  4. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  5. นายอดิศร เพียงเกษ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  6. นายสุขวิช รังสิตพล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  7. พลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  8. นางพิมพ์พา จันทร์ประสงค์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  9. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  10. พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  11. นายสมุทร มงคลกิติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  12. นายวิชิต สุรพงษ์ชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  13. นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  14. นายฉัตรชัย เอียสกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  15. นายอุดร ตันติสุนทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  16. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  17. นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  18. นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  19. นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
  • วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2537 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 นายทวี ไกรคุปต์ ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
  1. นายสุขวิช รังสิตพล พ้นจากความเป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. นายสุรศักดิ์ เทียมประเสิรฐ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  3. นายบุญชู ตรีทอง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  4. นายสวัสดิ์ สืบสายพรหม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  5. นายฉัตรชัย เอียสกุล พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  6. พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  7. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  8. นายไพฑูรย์ แก้วทอง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
  9. นายเสริมศักดิ์ การุญ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
  10. นายพิศาล มูลศาสตรสาทร พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
  11. นายสังข์ทอง ศรีธเรศ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  12. นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้
  1. นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  2. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  3. นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  4. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
  1. พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. นายกร ทัพพะรังสี เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  3. นายปัญจะ เกสรทอง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  4. นายอำนวย ปะติเส เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  5. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  6. นายประจวบ ไชยสาส์น เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  7. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  8. ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  9. นายเดช บุญ-หลง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  10. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  11. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  12. นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  13. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
  14. นายยุทธ อังกินันทน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
  15. นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
  16. นายกำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  17. นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  18. นายประเทือง คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้
  1. พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  2. นายกระแส ชนะวงศ์ ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
  • วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 นายปราโมทย์ สุขุม ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
  1. นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  2. นายถวิล ไพรสณฑ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
  • วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายเจริญ คันธวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้
  1. พลตรี จำลอง ศรีเมือง ขอลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
  2. นางพิมพ์พา จันทร์ประสงค์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  3. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  4. นายกระแส ชนะวงศ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  5. นายสมุทร มงคลกิติ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  6. นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  7. นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  8. นายอุดร ตันติสุนทร ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  9. นายสฤต สันติเมทนีดล ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  10. นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  11. นายถวิล ไพรสณฑ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

ผลการดำเนินงานของรัฐบาล

[แก้]
  • รัฐบาลนายชวน หลักภัย (ครม.50) ได้ริ่มเริ่มดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535 และได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-สนามบินหนองงูเห่า-ระยอง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2537[3]
  • โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ตามมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2536 เพื่อกระจายโอกาสให้คนยากจนในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ได้มีแหล่งเงินทุนในระดับหมู่บ้าน สำหรับยืมไปประกอบอาชีพ หรือขยายกิจการอาชีพของตน เพื่อเพิ่มรายได้ให้พ้นเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยสนับสนุนงบประมาณจัดตั้งเป็นเงินตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับหมู่บ้าน ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี

[แก้]

วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ภายหลังการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลกรณีการแจกเอกสารสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01 พรรคพลังธรรมถอนตัวออกจากการร่วมเป็นรัฐบาล ทำให้นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีตัดสินใจที่จะตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งมีการตีความกันว่าป็นการรับผิดชอบที่ฝ่ายค้านโจมตีนโยบายการปฏิรูปที่ดินในเรื่องการแจก ส.ป.ก. 4-01 ให้แก่พวกพ้องและเศรษฐี [4]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้จึงสิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระบรมราชโองการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538[5] ต่อมาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ทำให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารงานอยู่ ต้องพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
  3. การศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-สนามบินหนองงูเห่า-ระยอง พ.ศ. 2539 เก็บถาวร 2012-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  4. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. "2.4.2 ประชาธิปไตยของไทยยุคปฏิรูปการเมือง (พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา)". ประมวลสาระชุดวิชาไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552. หน้า 100. ISBN 974-645-258-4
  5. พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]