มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Songkhla Rajabhat University | |
ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | สถาบันราชภัฏสงขลา |
---|---|
ชื่อย่อ | มรภ.สข. / SKRU |
คติพจน์ | เป็นคนดี มีทักษะชีวิต มีจิตสาธารณะ |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ | คณะวิชา 16 |
งบประมาณ | 569,843,500 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ ทัศนา ศิริโชติ |
อาจารย์ | 431 คน (พ.ศ. 2566) |
บุคลากรทั้งหมด | 733 คน (พ.ศ. 2566) |
ผู้ศึกษา | 12,494 คน (พ.ศ. 2566) |
ที่ตั้ง | เลขที่ 160 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000 |
วิทยาเขต | วิทยาเขตสตูล |
เพลง | ถิ่นขาว-แดง |
ต้นไม้ | สารภีทะเล |
สี | ████ สีขาว สีแดง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (อังกฤษ: Songkhla Rajabhat University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล วิทยาลัยครูสงขลา, สถาบันราชภัฏสงขลา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดังเช่นปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2462 ธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราชและธรรมการจังหวัดสงขลา ได้จัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล" ขึ้น เพื่อผลิตครูที่สอนในระดับประถมศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา เรียกว่า "ครูประกาศนียบัตรมณฑล" ต่อมา ในปี พ.ศ. 2468 ธรรมการมณฑลได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลขึ้นโดยเฉพาะ เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลประจำมณฑลนครศรีธรรมราช" เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับ "ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูมูล" หลักจากมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดสงขลา" เมื่อปี พ.ศ. 2477 ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้ย้ายมาตั้งที่อำเภอหาดใหญ่ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลสงขลา" และเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา" ในปี พ.ศ. 2498
ในปี พ.ศ. 2504 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูสงขลา" และสามารถจัดการเรียนการสอนถึงระดับปริญญาตรีในสาขาต่าง ๆ ได้ตาม พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนาม “ ราชภัฏ ” แทนชื่อวิทยาลัยครูทั่วประเทศ ดังนั้น วิทยาลัยครูสงขลา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสงขลา" และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา" เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]- ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า " SONGKHLA RAJABHAT UNIVERSITY"
- สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีแดง-ขาว โดย
- สีแดง หมายถึง ความรัก ความเข้มแข็ง
- สีขาว หมายถึง ความถูกต้อง ความบริสุทธิ์
- ดังนั้น สีแดง - สีขาว หมายถึง นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาทุกคนต้องกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามด้วยความบริสุทธิ์ใจ
หน่วยงาน
[แก้]- คณะครุศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะวิทยาการจัดการ [https://web.archive.org/web/20170925165335/http://mgtsk.com/ เก็บถาวร 2017-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะเทคโนโลยการเกษตร http://agri.skru.ac.th เก็บถาวร 2016-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง)
- คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล
- วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล
- คณะอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล
- คณะศิลปศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง)
- คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการจัดตั้ง)
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เก็บถาวร 2007-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน