ภราดร ปริศนานันทกุล
ภราดร ปริศนานันทกุล | |
---|---|
![]() รูปถ่ายทางการของภราดร ในปี 2566 | |
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2567 (8 เดือน 30 วัน) | |
ประธาน | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
ก่อนหน้า | พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (17 ปี 5 เดือน 20 วัน) | |
ก่อนหน้า | สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กันยายน พ.ศ. 2522 อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2550–2551) ชาติไทยพัฒนา (2551–2561) ภูมิใจไทย (2561–ปัจจุบัน) |
บุพการี |
|
ชื่อเล่น | แบด |
ภราดร ปริศนานันทกุล ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 18 กันยายน พ.ศ. 2522) ชื่อเล่น แบด เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง 4 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และอดีตโฆษกพรรคภูมิใจไทย
ประวัติ
[แก้]นายภราดร ปริศนานันทกุล เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2522[1] ที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับนางรวีวรรณ ปริศนานันทกุล (สกุลเดิม: ฉัตรบริรักษ์)
สำเร็จการศึกษาการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี สาขาสถิติ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ จาก Warwick University ประเทศอังกฤษ[2]
การทำงาน
[แก้]ภราดร ปริศนานันทกุล ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง คู่กับนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เมื่อ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทองอีกสมัย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกพรรคภูมิใจไทย[3]
ในปี พ.ศ. 2563 ภราดรได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความเห็นของนักเรียน นิสิต และนักศึกษา และประชาชน สภาผู้แทนราษฎร[4]
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2567 สรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อภราดรขึ้นเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 โดยไม่มีผู้เสนอชื่อเพิ่มเติม จึงทำให้ภราดรเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ไปโดยปริยาย[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2556 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นายภราดร ปริศนานันทกุล
- ↑ ไทยรัฐ
- ↑ ภท.แต่งตั้ง “ภราดร ปริศนานันทกุล” โฆษกพรรคภูมิใจไทยคนใหม่ แต่งตั้งรองโฆษกอีกสองคน
- ↑ "ภราดร" นั่ง ปธ.กมธ.รับฟังความเห็นนศ. ลั่นตั้งใจจริงปัดเตะถ่วง-ซื้อเวลา ขีดเส้น 30-45 วัน ก่อน
- ↑ "ตามคาด สภาฯ เลือก "พิเชษฐ์" เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 1 "ภราดร" ผงาด รองฯ 2". ไทยรัฐ. 11 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2024.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2522
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอป่าโมก
- สกุลปริศนานันทกุล
- สกุลฉัตรบริรักษ์
- นักการเมืองไทย
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.