อุกฤษ มงคลนาวิน
อุกฤษ มงคลนาวิน | |
---|---|
ไฟล์:Ukrit Mongkolnavin.jpg | |
ประธานรัฐสภา โดยตำแหน่งประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 30 เมษายน พ.ศ. 2527 – 21 เมษายน พ.ศ. 2532 (4 ปี 357 วัน) | |
ก่อนหน้า | จารุบุตร เรืองสุวรรณ |
ถัดไป | วรรณ ชันซื่อ |
ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา โดยตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 เมษายน พ.ศ. 2534 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2535 (0 ปี 353 วัน) | |
ก่อนหน้า | วรรณ ชันซื่อ (ประธานวุฒิสภา) |
ถัดไป | มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธานวุฒิสภา) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มีนาคม พ.ศ. 2476 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน (บุณยประสพ) |
ลายมือชื่อ | |
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1] อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานรัฐสภา ผู้ก่อตั้งสำนักงานทนายความอุกฤษ มงคลนาวิน เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอิสระเพื่ออำนวยความยุติธรรม และเสริมสร้างสิทธิเสรีภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.ยส.จชต.) คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ปัจจุบันเป็นกรรมการสภากาชาดไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 - ปัจจุบัน นอกจากนั้นยังดำรงตำแหน่งประธานพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อีกด้วย
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรชายของ น.ท.พระมงคลนาวาวุธ ร.น. (มงคล มงคลนาวิน) กับนางต่วนทิพย์ มงคลนาวาวุธ (นามสกุลเดิม:อินทรเสน) สมรสกับท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน (บุณยประสพ) นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีบุตรชาย 2 คน คือ ดร.พืชภพ มงคลนาวิน รองอธิบดี กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และ รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] - สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตและสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ และ ๒๕๐๒ ตามลำดับ - พ.ศ. ๒๕๐๙ สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกทางกฎหมาย (Docteur en Droit) จาก มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส อุกฤษ มงคลนาวิน เคยดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาและประธานรัฐสภาถึง 5 สมัย (2527, 2528, 2530, 2532, 2534 - 2535[3] 22 มีนาคม 2535 – 26 พฤษภาคม 2535 ) ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[4] และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539[5] แต่ได้ขอลาออกหลังจากรับการแต่งตั้งในเดือนเดียวกัน
ด้านการศึกษา
[แก้]เป็นผู้ริเริ่มในการยกฐานะแผนกวิชานิติศาสตร์ ในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ขึ้นเป็นคณะนิติศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ และดำรงตำแหน่งคณบดี อยู่ ๖ ปี นอกจากนั้น เป็นผู้บรรยายกฎหมายในสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง
ด้านวิชาชีพ
[แก้]ได้ก่อตั้งสำนักกฎหมาย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓ จนถึงปัจจุบัน
ด้านการเมือง
[แก้]เริ่มเป็นสมาชิกรัฐสภาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๕ และดำรงตำแหน่งรอง ประธานฯ, ประธานวุฒิสภา, ประธานรัฐสภา หลายสมัย
ด้านบริหารราชการแผ่นดิน
[แก้]ได้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เหตุที่เป็นนักนิติศาสตร์ที่ยึดมั่นใน หลักยุติธรรม นิติธรรม สันติธรรม จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการอำนวยความยุติธรรมใน ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ (กอยส) และเป็นประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรม แห่งชาติ (คอ.นธ)
ด้านเกียรติคุณที่ได้รับทางวิชาการ
[แก้]- ในปี ๒๕๒๒ ได้โปรดเกล้าฯให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - พ.ศ. ๒๕๓๐ และ พ.ศ. ๒๕๓๒ รับพระราชทานปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ - พ.ศ. ๒๕๓๑ รับพระราชทานปริญญาบัตร (กิตติมศักดิ์) จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ด้านสังคมสงเคราะห์
[แก้]- โปรดเกล้าฯให้เป็นกรรมการสภากาชาดไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปัจจุบัน - เป็นประธานกรรมการมูลนิธิตึก สก. ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน - เป็นประธานกรรมการพีระยานุเคราะห์ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปัจจุบัน
ด้านเกียรติยศในสังคม
[แก้]- ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ประเภทส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๗ - ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสดุดี ชั้นที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๔ - เป็นนักศึกษาดีเด่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ในโอกาสมหาวิทยาลัยมีอายุครบ ๕๐ ปี - ได้เป็น “ปูชนียบุคคล” หนึ่งในร้อยคนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐
งานเขียน
[แก้]ตำรากฎหมาย
[แก้]- "ปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน"
- "ประวัติศาสตร์กฎหมายสากล"
- "คู่มือกฎหมายแรงงาน"
- "สารานุกรมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"
หนังสือด้านอื่นๆ
[แก้]- พระมหาภัมภีร์อัลกุรอาน
- หลากหลายแนวคิด อุกฤษ มงคลนาวิน เล่ม 1 "สิทธิและสถานภาพทางกฎหมายของสตรีไทย"
- หลากหลายแนวคิด อุกฤษ มงคลนาวิน เล่ม 2 "บทบาทของนักนิติศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ”
- หลากหลายแนวคิด อุกฤษ มงคลนาวิน เล่ม 3 "กำเนิดคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
- หลากหลายแนวคิด อุกฤษ มงคลนาวิน เล่ม 4 "กำเนิดสำนักกฎหมาย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน"
- หลากหลายแนวคิด อุกฤษ มงคลนาวิน เล่ม 5 "กำเนิด ปปป.,การปฏิรูปการเมืองโดยการจัดระบบและวิธีการเลือกตั้งใหม่"
- “บันทึกภาพประวัติศาสตร์ความทรงจำในการเยือนประเทศต่าง ๆ ตามคำเชิญอย่างเป็นทางการระหว่างดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน (สาธารณรัฐประชาชนจีน ๒๕๒๘)"
- “บันทึกภาพประวัติศาสตร์ความทรงจำ บทบาทด้านต่างประเทศของรัฐสภา ในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา”
- “บันทึกภาพประวัติศาสตร์ความทรงจำในการเยือนประเทศต่าง ๆ ตามคำเชิญอย่างเป็นทางการระหว่างดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา (สหพันธรัฐรัสเซียและสาธารณรัฐโปแลนด์)"
- “บันทึกภาพประวัติศาสตร์ความทรงจำในการเยือนประเทศต่าง ๆ ตามคำเชิญอย่างเป็นทางการระหว่างดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี,สาธารณรัฐประชาชนจีน,ทิเบต ๒๕๓๑)”
- “บันทึกภาพประวัติศาสตร์ความทรงจำในการเยือนประเทศต่าง ๆ ตามคำเชิญอย่างเป็นทางการระหว่างดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา (สาธารณรัฐฝรั่งเศส, สาธารณรัฐอินเดีย,สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๒๕๒๘)”
- “ปัญหาบ้านเมือง โดย คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)”
- “๙ มงคลแห่งชีวิต ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๙” ๘๔ ปี อุกฤษ มงคลนาวิน ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑"
- "อยู่ให้ดี อยู่ให้เป็น"
- "60 ทัศ : 60 ทัศน์"
- "ภารกิจเพื่อชาติ"
- "Design as Desire"
- "สวรรค์บนดิน ถิ่นไทย"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[8]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[10]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
- พ.ศ. 2554 – เหรียญกาชาดสดุดี ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2528 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณด้านบริการการทูต ชั้นที่ 1 (พิเศษ)[11]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2529 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นกอม็องเดอร์[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายอาษา เมฆสวรรค์ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ ๑ พลเอก วิชิต บุณยะวัฒน์ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ ๒)
- ↑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ประกาศรัฐสภา เรื่อง ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอน 2ง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2540
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๗๓ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ 11.0 11.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๙๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๙
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักวิชาการชาวไทย
- ประธานรัฐสภาไทย
- ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ประธานวุฒิสภาไทย
- รองประธานวุฒิสภาไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากอำเภอกันทรลักษ์
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศาสตราจารย์พิเศษ