ซูการ์โน มะทา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูการ์โน มะทา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ.2562
ก่อนหน้าอับดุลการิม เด็งระกีนา
เขตเลือกตั้งเขต2
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ.2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 (3 ปี 138 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ
อับดุลการิม เด็งระกีนา
ก่อนหน้าณรงค์ ดูดิง
ถัดไปอับดุลการิม เด็งระกีนา
เขตเลือกตั้งเขต1
เลขาธิการพรรคประชาชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม พ.ศ.2566
ก่อนหน้าทวี สอดส่อง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองประชาชาติ (2561 - ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พลังประชาชน (2550 - 2551)
เพื่อไทย (2551 - 2561)
คู่สมรสนางชะบา มะทา[1]

ซูการ์โน มะทา เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา และเลขาธิการพรรคประชาชาติ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ[2] เป็นอดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงหนึ่งเดียวของพรรคพลังประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เเละเป็นน้องชายเเท้ ๆ ของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ประวัติ

ซูการ์โน มะทา เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของนายอาแว มะทา และนางแมะเย๊าะ วาเยาะตายี[1]เป็นน้องชายของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) จากวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา จากวิทยาลัยครูยะลา และระดับปริญญาโทสาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ซูการ์โน สมรสกับนางชะบา มะทา มีบุตร-ธิดา 3 คน

การทำงาน

ซูการ์โน มะทา เคยเป็นผู้ช่วยดำเนินงาน ส.ส. เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา และเคยเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา 2 สมัย ต่อมาได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดยะลา สังกัดพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.คนเดียวของพรรคในพื้นที่ภาคใต้[3]

ในการเลือกตั้งปี 2554 นายซูการ์โน ได้ลงสมัครในสังกัดพรรคเพื่อไทย ในจังหวัดยะลา เขตเลือกตั้งที่ 2 แต่พ่ายให้กับนายอับดุลการิม เด็งระกีนา อดีต ส.ส.ยะลา 2 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์

ในปี พ.ศ. 2561 เขาในฐานะแกนนำกลุ่มวาดะห์ ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กยืนยันว่าทางกลุ่มวาดะห์ได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาชาติ[4] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[ลิงก์เสีย]
  2. เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
  3. เจาะสนาม: 'เพื่อไทย' กับสภาวะ 'ตะวันรอน' ที่ปลายด้ามขวาน
  4. น้องชาย'วันนอร์'คอนเฟิร์ม!'วาดะห์'รีเทิร์นย้ายสังกัดพรรคประชาชาติ
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น