ข้ามไปเนื้อหา

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
จุรินทร์ ใน พ.ศ. 2552
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 53 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 53 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
ถัดไปภูมิธรรม เวชยชัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม พ.ศ. 2553 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(1 ปี 205 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าวิทยา แก้วภราดัย
ถัดไปวิทยา บุรณศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 15 มกราคม พ.ศ. 2553
(1 ปี 26 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าศรีเมือง เจริญศิริ
ถัดไปชินวรณ์ บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(2 ปี 360 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(2 ปี 100 วัน)
ถัดไปสุทิน คลังแสง
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 364 วัน)
รักษาการ: 14 พฤษภาคม – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 184 วัน)
ก่อนหน้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ถัดไปเฉลิมชัย ศรีอ่อน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มีนาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2529–ปัจจุบัน)
คู่สมรสอรอนงค์ ลักษณวิศิษฏ์
ลายมือชื่อ

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (เกิด 15 มีนาคม พ.ศ. 2499) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) ประธานกรรมการในคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนกระทรวงพาณิชย์ และรองประธานคนที่ 2 ในคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[1] อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 11 สมัย (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงา 6 สมัย และแบบบัญชีรายชื่อ 5 สมัย)

ประวัติ

[แก้]

นายจุรินทร์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาลชวน 1 และ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลชวน 2 นอกจากนี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (2 สมัย)

ด้านการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2529 นายจุรินทร์ ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ดาวรุ่ง (ส.ส. ใหม่ดีเด่น) โดยสื่อมวลชนสายรัฐสภา และได้รับการโหวตจาก สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ให้เป็นคณะกรรมาธิการดีเด่น จากบทบาทใน คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร กรณีดำเนินการทวงคืน ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ จากสหรัฐ จนเป็นผลสำเร็จ

ตั้งแต่การเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 นายจุรินทร์ได้ย้ายไปลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ โดยให้ นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฎ์ น้องชายลงสมัคร ส.ส.เขต แทน และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 นายจุรินทร์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 8 ในลำดับที่ 4 และได้รับการเลือกตั้ง

ภายหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ นายจุรินทร์ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเงา

การศึกษา

[แก้]

จุรินทร์เกิดที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เริ่มศึกษาในระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนศิริราษฎร์วิทยา จังหวัดพังงา (สอบได้ที่ 1 ของจังหวัด) ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำเร็จปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ (สิงห์แดง) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการวางแผน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

การทำงาน

[แก้]

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

[แก้]

นายจุรินทร์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย[4] ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยสำนักเอแบคโพล เกี่ยวกับผลงานของรัฐบาลในรอบ 1 ปี พบว่าผลงานด้านการศึกษา คือ การเรียนฟรี 15 ปี มีคะแนนอยู่ในอันดับที่ 3 (7.28 คะแนน) นับได้ว่าเป็นผลงานที่อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจของรัฐบาล[5]

จากกรณีการลาออกจากตำแหน่งของนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ มีมติให้นายจุรินทร์ ย้ายไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแทน[6] ซึ่งผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในปี พ.ศ. 2553 ยังพบว่านายจุรินทร์ ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเป็นลำดับที่ 1 ของรัฐมนตรีในรัฐบาลดังกล่าว โดยได้รับคะแนน 6.02 จากคะแนนเต็ม 10[7]

รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ 2

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2562 จุรินทร์ ได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 62 ของไทย[8]

ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งนั้นเกิดกรณีอื้อฉาวจากข้อกล่าวหาทุจริตซื้อถุงมือยางขององค์การคลังสินค้ามูลค่าหลักแสนล้านบาท ซึ่งฝ่ายค้านเปิดเผยว่ามีคนใกล้ชิดของเขาเกี่ยวข้องด้วย และมีความล่าช้าในการตามตัวมาลงโทษ[9]

ในเดือนกรกฎาคม 2565 เขาแถลงว่าตนมีผลงานในการตรึงราคาสินค้า 936 รายการท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไว้ที่ซองละ 6 บาท[10] แต่ในเดือนสิงหาคม 2565 กระทรวงพาณิชย์อนุมัติให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขึ้นราคาเป็นซองละ 7 บาท[11]

ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จุรินทร์ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หลังจากความพ่ายแพ้จากการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในวันดังกล่าว[12]

รางวัลเกียรติยศ

[แก้]
  • ปี 2529 ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ดาวรุ่ง (ส.ส. ใหม่ดีเด่น) โดยสื่อมวลชนสายรัฐสภา
  • ปี 2530 ได้รับคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมาธิการดีเด่น โดย สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย จากบทบาทใน คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร กรณีทวงคืนทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ จากสหรัฐอเมริกา
  • ปี 2533 ได้รับเลือกเป็นนักศึกษาดีเด่น สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เนื่องในโอกาสครบรอบ 24 ปี ของการสถาปนาสถาบัน
  • ปี 2534 ได้รับเลือกตั้งเป็นศิษย์เก่าดีเด่นสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปี 2537 นักศึกษาเก่าดีเด่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 28 ปี การสถาปนาสถาบัน
  • ปี 2542 ได้รับอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด จาก “คณะกรรมการโอลิมปิคสากล”
  • ปี 2545 ศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (เนื่องในโอกาสโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ครบรอบ 120 ปี)
  • ปี 2554 ได้รับรางวัล “World No Tobacco Day Awards” จากองค์การอนามัยโลก ( WHO )

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

นายจุรินทร์ เมื่อสมัยยังเป็นนักศึกษาได้เป็นนักเขียน การ์ตูนการเมือง ใช้นามปากกาว่า "อู๊ดด้า" จึงเป็นฉายาที่มักจะเรียกจนติดปากมาจนทุกวันนี้ สถานภาพสมรสกับนางอรอนงค์ ลักษณวิศิษฏ์ มีบุตรี 2 คน

1. นางสาวกันต์กวี ลักษณวิศิษฏ์ (ไอซ์)

2. นางสาวอรจรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (เอ๊ะ)

นอกจากนี้ นายจุรินทร์ ยังเป็นนักเขียน มีผลงานหนังสือแนวท่องเที่ยว ในเครือสำนักพิมพ์มติชน ชื่อ “อู๊ดด้าจับปากกาพาเที่ยว” และเคยเป็นผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์มติชน อีกด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ[13] ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง หน้า ๑, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๓ หน้า ๒, ๒๙ กันยายน ๒๕๓๕
  3. ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง หน้า ๔, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
  5. "เอแบคโพลล์: ผลงานรัฐบาลในรอบ 1 ปี การยุบพรรคประชาธิปัตย์". ryt9.com. 21 Dec 2009.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "มติประชาธิปัตย์ โยก"จุรินทร์" คุม สธ. "ชินวรณ์" ไป ก.ศึกษาฯ "วิทยา" นั่ง "ปธ.วิปรบ."". prachatai.com. 6 Jan 2010.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. เอแบคโพลล์เผย 5 รมต.โลกลืม" นริศรา -ชัยวุฒิ - พรรณสิริ - ศุภชัย -ไชยยศ "
  8. ""จุรินทร์"เข้าทำงานก.พาณิชย์พรุ่งนี้(17 กรกฎาคม 2019)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 2019-09-14.
  9. "บทสรุปศึกซักฟอก "จุรินทร์" แจงดีแต่คะแนนร่วง". กรุงเทพธุรกิจ. 31 July 2022. สืบค้นเมื่อ 25 August 2022.
  10. "จุรินทร์ โชว์ผลงาน ตรึงราคามาม่า 6 บาท เกือบ 2 ปี สินค้า 936 รายการ". ประชาชาติธุรกิจ. 25 July 2022. สืบค้นเมื่อ 25 August 2022.
  11. "มาม่า ไวไว ยำยำ ขึ้นราคา 1 บาท ขยับจากซองละ 6 บาท เป็นซองละ 7 บาท". ไทยรัฐ. 24 August 2022. สืบค้นเมื่อ 25 August 2022.
  12. เลือกตั้ง 2566 : "จุรินทร์" รับผิดชอบผลเลือกตั้ง ขอลาออกหัวหน้าประชาธิปัตย์
  13. "นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ 21 Mar 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๔, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ถัดไป
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 62)
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
ภูมิธรรม เวชยชัย
สมศักดิ์ เทพสุทิน
ปานปรีย์ พหิทธานุกร
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
ศรีเมือง เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 18 มกราคม พ.ศ. 2553)
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
วิทยา แก้วภราดัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม. 59)
(18 มกราคม พ.ศ. 2553 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
วิทยา บุรณศิริ
ชุติมา บุณยประภัศร
(รักษาการ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 62)
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
ภูมิธรรม เวชยชัย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566)
เฉลิมชัย ศรีอ่อน