เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., จ.ภ. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สุวิทย์ เมษินทรีย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 มกราคม พ.ศ. 2497 (67 ปี) จังหวัดลำปาง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2544 - 2547) มหาชน (2547 - 2548) รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550) รวมพลังประชาชาติไทย (2561 - ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | รศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ นักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ เป็นกรรมการ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมาชิกและกรรมการบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] ที่ปรึกษาและกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง[2][3] ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560 ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 อธิการ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการและนักการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2497 ที่ จ.ลำปาง[4] เป็นเจ้าของทฤษฎี "สองนคราประชาธิปไตย" ที่สรุปว่า "คนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาล คนกรุงเทพฯล้มรัฐบาล" เคยได้รับสมญานามจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า "ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง"
ประวัติ[แก้]
ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จบการศึกษาชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2515 ได้สอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ร่วมก่อตั้ง พรรคจุฬาประชาชน ปี พ.ศ. 2519 ได้รับเลือกตั้งเป็น นายกสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5] เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ในป่าที่ เขตจังหวัด พัทลุง ตรัง และสตูล อยู่ประมาณ 4 ปี
เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วจึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนแนวทางการศึกษาจากแพทย์ศาสตร์มาศึกษาด้านรัฐศาสตร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สมรสกับ ศาสตราจารย์ พญ จิรพร และไปศึกษาต่อด้วยกันที่นั่น โดยได้เข้าศึกษาในระดับปริญาตรีที่วิทยาลัยชาร์ลสตัน จากนั้นก็ได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยจอร์เจีย จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท และต่อมาก็ได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งสำเร็จการศึกษาเป็นคนแรกในระดับชั้น เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาเศรษฐกิจการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคณบดี คณะรัฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้รับเชิญไปเป็นศาสตราจารย์เยี่ยมเยือนที่วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์ (SAIS) ของมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกด้วย[6]
ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553[7]
ครอบครัว[แก้]
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมรสกับ รศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ เป็น หัวหน้าศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ มีบุตรทั้งสิ้น 4 คน คือ อิศรา เหล่าธรรมทัศน์ (อิศ) เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ (เขต) อินทิรา เหล่าธรรมทัศน์ (อิน) และเขมรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ (เขม) และเป็นอาของ จุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์ (น้องพลับ) นักร้อง นักแสดง และจุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์ (พลัม) ผู้จัดการและเจ้าของโรงแรมห้าดาว เทวมันตร์ทรา รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี
ชีวิตทางการเมือง[แก้]
ศ.ดร.เอนก เริ่มชีวิตทางการเมืองโดยเป็นที่ปรึกษาให้กับศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น มีส่วนร่วมในการก่อตั้ง สถาบันพระปกเกล้า ต่อมาในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธได้เป็นที่ปรึกษาให้กับนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนจะมาเป็นที่ปรึกษาให้กับ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลชวน 2
ช่วงหลังจากนั้นจึงได้มีบทบาทในพรรคประชาธิปัตย์ จนสุดท้ายได้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ต่อมาเมื่อพลตรีสนั่น เกิดความขัดแย้งกับ สมาชิกพรรคสายนายชวน หลีกภัย และลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ดร.เอนกก็ลาออกตาม พล.ต.สนั่น มาก่อตั้งพรรคมหาชน และรับตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคมหาชน คนแรก
พรรคมหาชนเพิ่งก่อตั้งได้ไม่นานก็ต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548 และได้ ส.ส. เพียง 2 คนจากที่เคยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 20 คน ศ.ดร.เอนก ในฐานะหัวหน้าพรรคจึงแสดงความรับผิดชอบ โดยลาออกจากตำแหน่ง และต่อมากรรมการบริหารพรรคมหาชนมีมติให้ พลตรีสนั่น รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่
ซึ่งในหาเสียงเลือกตั้งคราวนี้ ศ.ดร.เอนก ได้ถูกปรามาสจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ว่า เป็นเพียง "ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง"
ปัจจุบัน ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นนักวิชาการ และอธิการวิทยาลัยรัฐกิจ ม รังสิต และเป็นกรรมการสถามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และราชภัฎภูเก็ต มีหนังสือของตนเองกว่าสิบเล่ม ที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะเป็นสองนคราประชาธิปไตย ที่กล่าวว่าการเมืองไทยนั้น คนในชนบทตั้งรัฐบาล ตนในกรุงล้มรัฐบาล และมีหนังสือ พิศการเมือง ที่เน้นประวัติของตนเอง ช่วงการก่อตั้งพรรคมหาชน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ openbooks
ในกลางปี พ.ศ. 2550 เอนกได้ร่วมกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ คือ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่ ศ.ดร.เอนก ก็ได้ลาออกจากพรรคดังกล่าวในปีต่อมา และ ปี พ.ศ. 2561 เอนกเป็นสมาชิกและกรรมการบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย
หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557[แก้]
เขาดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาและกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560 และดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 เขาเคยกล่าวในเวทีเสวนาว่า เขาเคยเข้าร่วมชุมนุม เหตการณ์ 14 ตุลา ซึ่ง ถ้าเขารู้ว่าประชาธิปไตยเป็นแบบนี้ เขาจะไม่เข้าร่วมชุมนุม 14 ตุลาหรอก[8]
ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการปรับคณะรัฐมนตรีเดือนสิงหาคม[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2557 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2552 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2558 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[12]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/019/10.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/104/17.PDF
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ รายนามนายกสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ มหาวิทยาลัยของผม: ในอเมริกา เอนก เหล่าธรรมทัศน์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์)
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=rp__BM6w__M&fbclid=IwAR1kXb955Zft4jGEfCfep95oYLbRSfJN66wTxc4NUVH5mcriHTumVqbmsCc
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2552
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรคุณาภรณ์ หน้า ๒๗ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลจากจังหวัดลำปาง
- นักวิชาการชาวไทย
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- ศาสตราจารย์พิเศษ
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคมหาชน
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- พรรครวมพลังประชาชาติไทย
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นายกองค์การนักศึกษาในประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย