สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
National Institute of Development Administration | |
![]() สพบ. / นิด้า (NIDA) | |
คติพจน์ | นตฺถิ ปญฺญฺสมา อาภา (ไม่มีแสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญา) |
---|---|
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
สถาปนา | พ.ศ. 2509 |
นายกสภาฯ | รศ.ดร.ปรีชา จรุงกิจอนันต์ |
อธิการบดี | ศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ |
ที่ตั้ง | |
สี | เหลือง |
เว็บไซต์ | www |
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ย่อว่า สพบ.; อังกฤษ: National Institute of Development Administration) หรือ นิด้า (NIDA) เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของรัฐ มีสถานภาพเป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแห่งเดียวในประเทศไทยที่ทำการสอนเฉพาะระดับ บัณฑิตศึกษา (สูงกว่าปริญญาตรี) โดยเน้นหนักในสาขาวิชาทางด้านการบริหารการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในด้านการวิจัย ฝึกอบรม และให้บริการทางวิชาการด้านอื่นๆ แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน และประชาชนทั่วไป และถือเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดการสอนหลักสูตร MBA เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยคณะบริหารธุรกิจของนิด้าได้รับการจัดอยู่ในอันดับต้นของทวีปเอเชียอยู่สม่ำเสมอจากสื่อชั้นนำระดับนานาชาติ ประกอบกับเป็นสถาบันที่มีอัตราส่วนอาจารย์ระดับปริญญาเอกต่อจำนวนนักศึกษาที่สูงที่สุดในประเทศไทย และสัดส่วนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการสูงที่สุดในประเทศไทย รวมไปถึงยังได้รับคะแนนการประเมินการดำเนินงานจากหลากหลายองค์กรในระดับสูงที่สุดในประเทศไทย[1][2]
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถาบันรวมถึงคณาจารย์และศิษย์เก่ามีหลากหลาย ซึ่งรวมถึงบุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครองและภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และข้าราชการระดับสูง รวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ ของประเทศไทย[3][4]
ประวัติ[แก้]
เป็นสถาบันการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 ด้วยความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมวิเทศสหการ มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Consortium for International Affairs (MUCIA) โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานฝึกอบรมส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ งานฝึกอบรม และงานสอนส่วนหนึ่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาเป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบัน
ปัจจุบัน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก "ส่วนราชการ" สู่ การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดย พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2562 ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก วันที่ 16 เมษายน 2562 หน้า 177-207 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในอดีต[แก้]
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ เมื่อราว พ.ศ. 2503 ได้ทรงปรารภกับ นายเดวิด รอกกิเฟลเลอร์ ถึงเรื่องที่จะปรับปรุงการสถิติของชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ และในที่สุดได้มีการจัดทำโครงการเสนอรัฐบาล โดยให้ตั้ง Graduate Institute of Development Administration (GIDA) ขึ้น ต่อมารัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดตั้งสถาบันสอนวิชาการบริหารเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ โดยได้นำโครงการ GIDA มาศึกษา และได้เสนอมติของที่ประชุมคณะกรรมการต่อคณะรัฐมนตรีว่าควรจะตั้ง สถาบันพัฒนาการบริหาร (Institute of Development Administration) โดยดำเนินการสอนในขั้นปริญญาโทและเอก การศึกษาฝึกอบรม และการวิจัย ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2509 ด้วยความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก กรมวิเทศสหการ, มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Consortium for International Affairs (MUCIA) โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานฝึกอบรมส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และงานฝึกอบรมและงานสอนส่วนหนึ่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาเป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบัน
สัญลักษณ์ประจำสถาบัน[แก้]
- ตราประจำสถาบัน เป็นรูปธรรมจักร อยู่ภายในวงกลมซ้อนกันสองวง วงกลมด้านบนบรรจุคำขวัญว่า "นตฺถิ ปญฺญฺสมา อาภา" แปลว่า "ไม่มีแสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญา" ขอบล่างของวงกลมเป็นชื่อ "สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์" ภายในวงกลมทำเป็นรูปคบเพลิง 8 อัน มีกงที่แยกออกเป็นแกน 8 กง มีเปลวเป็นสีขาว ซึ่งหมายความว่า "การใช้ความรู้ไปในทางที่ดี โดยถือมรรค 8 เป็นหลัก จะส่งผลให้เกิดความรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติหรือมวลมนุษย์" ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของสถาบัน[5]
ปรัชญา[แก้]
- “สร้างปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” “WISDOM for Sustainable Development”
อำนาจและหน้าที่[แก้]
- "สถาบันซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเห็นความสำคัญของการจัดให้มีสถาบันการศึกษาชั้นสูง ทางด้านการบริหารเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ เป็นสถานศึกษาชั้นสูงระดับบัณฑิตศึกษา มีวัตถุประสงค์และพันธกิจในการให้การศึกษาและอบรม สร้าง พัฒนา ประมวล ประยุกต์ และเผยแพร่องค์ความรู้ ทำการวิจัย และให้บริการทางวิชาการด้านพัฒนบริหารศาสตร์และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก ทำนุบำรุงและส่งเสริมคุณธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สถาบันมีปณิธานในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและ ประเทศชาติ ตลอดจนมุ่งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยนำความรู้และคุณธรรมมาสร้างปัญญาสร้างจิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล"
รายนามอธิการบดี[แก้]
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มีอธิการบดีมาแล้ว ดังรายนามต่อไปนี้
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | ||
---|---|---|
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง |
1. บุญชนะ อัตถากร | 27 เมษายน พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2510 | [6] |
2. มาลัย หุวะนันทน์ | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2510 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2514 | [7] |
3. ชุบ กาญจนประกร | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2517 | [8] |
4. สมศักดิ์ ชูโต | 12 เมษายน พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2521, 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | [9] [10] |
5. ไพจิตร เอื้อทวีกุล | พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2524 | [11] |
6. ฑิตยา สุวรรณะชฎ | พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2528 | [12] |
7. อมร รักษาสัตย์ | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 | |
8. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ | พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538 | [13] |
9. อนุมงคล ศิริเวทิน | พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542 | [14] |
10. จุรี วิจิตรวาทการ | พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 | [15] |
11. ปรีชา จรุงกิจอนันต์ | พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2550 | [16] |
12. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ | พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2556 | [17] |
13. ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ | พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 | [18][19] |
14. กำพล ปัญญาโกเมศ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (รักษาการอธิการบดี) 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564 |
[20][21] |
15. ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (รักษาการอธิการบดี)
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
หน่วยงาน[แก้]
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 11 คณะ 1 วิทยาลัยและหน่วยงานสนับสนุน ดังนี้[22]
คณะ[แก้]
- คณะรัฐประศาสนศาสตร์
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Governance and Development) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคปกติ
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ กทม.
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ พิษณุโลก
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ นครราชสีมา
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ อุดรธานี
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สุราษฎร์ธานี
- หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต ภาคปกติ
- หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ กทม.
- หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ ชลบุรี
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน ภาคปกติ
- หลักสูตรฝึกอบรม
− หลักสูตร Mini Master of Management Program
− หลักสูตรนักบริหารการพัฒนาในยุคดิจิทัล
− หลักสูตรนวัตกรรมการบริหารในโลกยุคใหม่สำหรับนักบริหารระดับสูง
− หลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง
- คณะบริหารธุรกิจ[23]
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ (Flexible MBA Program)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สำหรับผู้บริหาร (Executive MBA Program)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่ (Young Executive MBA Program)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สำหรับมืออาชีพ (Professional MBA Program)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคปกติ ภาษาไทย (Regular MBA)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคปกติ ภาษาอังกฤษ(English MBA Program)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต นานาชาติ (International MBA Program)
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การลงทุนและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน (M.Sc. in Financial Investment and Risk Management (FIRM))
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง โครงการ Flexible - CFIRM (เรียนในเวลาราชการ และ เสาร์ อาทิตย์)
- หลักสูตรปรัชญาฎีบัณฑิต บริหารธุรกิจ (Ph.D. in Business Administration)
- หลักสูตร Double Degree Program (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และมหาวิทยาลัย Indiana)
- คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) ภาคปกติ
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) ภาคปกติ
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน) ภาคปกติ
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน) ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์และการผู้บริหาร) ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์
- หลักสูตรอีเลิร์นนิ่ง − EC7012 : Project Planning and Analysis Teacher: ผศ.ดร. อนันต์ วัฒนกุลจรัส − EX7003 : Project Planning and Analysis Teacher: ผศ.ดร. อนันต์ วัฒนกุลจรัส − ME7004 : GLOBAL ECONOMICS AND IMPACT ANALYSIS Teacher: ผศ.ดร. อนันต์ วัฒนกุลจรัส − ศศ.610 : จุลเศรษฐศาสตร์
- หลักสูตรอบรมพัฒนา − ผู้บริโภคและผู้ประกอบการอัจฉริยะภายใต้เศรษฐกิจไร้พรมแดน − เศรษฐกิจไทยยุคดิจิตอลและบทบาทภาครัฐ − การวิเคราะห์และการบริหารโครงการสำหรับภาครัฐและเอกชน − การบริหารการเงินเพื่อความมั่งคั่ง − การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
- คณะสถิติประยุกต์
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สถิติประยุกต์) หลักสูตรนานาชาติ − สาขาวิชาเอก Statistics − สาขาวิชาเอก Quantitative Risk Management − สาขาวิชาเอก Business Analytics and Research − สาขาวิชาเอก Operations Research − สาขาวิชาเอก Population and Development
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ) หลักสูตรนานาชาติ − สาขาวิชาเอก Computer Science − สาขาวิชาเอก Information Systems
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์) − สาขาวิชาเอกสถิติ (Statistics : STAT) − สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง (Actuarial Science and Risk Management : ACT) − พลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen Data Sciences)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ) − สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ − สาขาวิชาเอกการจัดการระบบสารสนเทศ − สาขาวิชาเอกวิศวกรรมซอฟต์แวร์ − สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีข้อมูล)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการความเสี่ยงความมั่นคงทางไซเบอร์)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยกค์) − สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง − สาขาวิชาเอกการวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย (Business Analytics and Research) − สาขาวิชาเอกสิถิติ
- หลักสูตรฝึกอบรม − ReAct Native Development − Mobile Application Development for iOS Devices − FinTech and Blockchain for Digital Transformation − High Impact Professional Presentation (HIPP)
- คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาตร์การพัฒนา)
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) ภาคพิเศษ กทม.
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) ภาคพิเศษ ยะลา
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา) ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา) ภาคพิเศษ
- คณะภาษาและการสื่อสาร
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษาและการสอนภาษาอังกฤษ) หลักสูตรนานาชาติ ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษาและการสอนภาษาอังกฤษ) หลักสูตรนานาชาติ ภาคพิเศษ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสาร วัฒนธรรม และภาษาญี่ปุ่น) ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสาร วัฒนธรรม และภาษาญี่ปุ่น) ภาคพิเศษ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ) ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ) ภาคพิเศษ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษาและการสอนภาษาอังกฤษ) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาและการสื่อสาร) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรฝึกอบรม (การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษระดับย่อหน้า)
- คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) ภาคพิเศษ
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (ภาวะผู้นำ การจัดการและ นวัตกรรม) ภาคปกติ
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (ภาวะผู้นำ การจัดการและ นวัตกรรม) ภาคพิเศษ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และองค์การ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ นานาชาติ
- หลักสูตรระยะสั้น − การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่องค์การยุคใหม่ − วิชา (ชะตา) ชีพทรัพยากรมนุษย์ในยุค New Normal − พื้นฐานทางการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ − เตรียมความพร้อม HR ในยุค PDPA
- คณะนิติศาสตร์
- หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต − สาขาวิชาเอกกฎหมายเพื่อวิชาชีพกฎหมาย (Law for Legal Professions) − สาขาวิชาเอกกฎหมายมหาชน (Public Law) − สาขาวิชาเอกกฎหมายธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (International Business and Trade Law)
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเพื่อการบริหาร
- หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
- หลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมายปกครอง และคดีปกครองชั้นสูง
- คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ[24]
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม − สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดและดิจิทัล − สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการจัดการสื่อสารดิจิทัลเพื่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ − สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารผ่านสื่อสังคม − สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาพและการขับเคลื่อนสังคมอย่างยั่งยืน − นวัตกรรมการสื่อสารการตลาด − นวัตกรรมการจัดการนโยบายการสื่อสารสาธารณะและสารสนเทศ − นวัตกรรมนิเทศศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการสื่อสารด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม)
- คณะการจัดการการท่องเที่ยว
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ) ภาคปกติ / ภาคพิเศษ กทม./ ภาคพิเศษภูเก็ต − สาขาวิชาเอกนโยบาย การวางแผนการจัดการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ − สาขาวิชาเอกการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ − สาขาวิชาเอกการจัดการธุรกิจโรงแรม − สาขาวิชาเอกการจัดการธุรกิจขนส่งและการบิน − สาขาวิชาเอกการจัดการธุรกิจบริการ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ (Ph.D. in Integrated Tourism Management)
- คณะการบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) ภาคปกติ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) ภาคพิเศษ กทม.
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) ภาคพิเศษ ระยอง
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน) ภาคปกติ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน) ภาคพิเศษ กทม.
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม)
- วิทยาลัยนานาชาติ (International College of NIDA)
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (Master of Management) 9 หลักสูตร − International Business Management − Financial Management − Entrepreneurship Management − E-Business Management − Human Capital Management − Policy and Management − International Development and Governance − Sustainable Business Management − Digital Innovation and Communication
- หลักสูตร DOUBLE-DEGREE PROGRAMS − Master of Management (ICO-NIDA) and Master of Economics (University of Economics in Bratislava, Slovakia) − Master of Management (ICO-NIDA) and Master of Money and Banking (University of Economics in Bratislava, Slovakia) − Master of Management (ICO NIDA) and MA in Media and Design (RheinMain University of Applied Science, Germany) − Master of Management (ICO NIDA) and Master of International Business Management (MIBA) (RheinMain University of Applied Science, Germany) − Master of State Governance (College of State Governance, Southwest University, China) − Master of Management (ICO NIDA) and Master of Business Administration (Nürtingen-Geislingen University, Germany) − Master of Management (ICO NIDA) and Master of International Finance (Nürtingen-Geislingen University, Germany) − Master of Management in Public Policy Management (ICO-NIDA) and Public Administration (MPA) (Indiana University at Bloomington, USA)
- หลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต (Ph.D. in Management)
หน่วยงาน[แก้]
- สำนักงานสถาบัน
- สำนักงานสภาสถาบัน
- สำนักงานตรวจสอบภายใน
- กองกลาง
- กองแผนงาน
- กองบริการการศึกษา
- กองคลังและพัสดุ
- กองบริหารทรัพยากรบุคคล
- กองงานผู้บริการ
- งานสภาคณาจารย์
- งานสภาพพนักงาน
- สำนักสิริพัฒนา
- สำนักงานเลขานุการสำนัก
- ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้
- สำนักวิจัย
- สำนักงานเลขานุการสำนัก
- หน่วยสนับสนุนศูนย์วิจัย
- สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
- สำนักงานเลขานุการสำนัก
- กลุ่มสนับสนุนการปฏิบัติงานห้องสมุด
- สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ Information and Digital Technology Center (IDT)
- กองอำนวยการบริหารงานสำนัก
- กองบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ คณะผู้บริหารของ NIDA
- ↑ ผลการประเมินคุณภาพของ NIDA
- ↑ ขอแสดงความยินดีกับตัวแทนจากประชาคมนิด้า ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
- ↑ นายพรชัย รุจิประภา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๕๒) (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี)
- ↑ [1]
- ↑ [2]
- ↑ [3]
- ↑ [4]
- ↑ [5]
- ↑ [6]
- ↑ [7]
- ↑ [8]
- ↑ [9]
- ↑ [10]
- ↑ [11]
- ↑ [12]
- ↑ [13]
- ↑ [14]
- ↑ คณะผู้บริหารของ NIDA
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ [นายกำพล ปัญญาโกเมศ]
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๕
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-08. สืบค้นเมื่อ 2021-08-29.
- ↑ http://gscm.nida.ac.th/home/th/index.php
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- IT grads นิด้า | สาระน่ารู้ สำหรับคนทำงานไอทีต้องอ่าน คนสนใจศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท MIS ต้องรู้
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°46′11″N 100°39′09″E / 13.769621°N 100.652622°E