อรรชกา สีบุญเรือง
อรรชกา สีบุญเรือง | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ |
ถัดไป | สุวิทย์ เมษินทรีย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช |
ถัดไป | อุตตม สาวนายน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 (64 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
อรรชกา สีบุญเรือง เป็น ประธานกรรมการในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์[1] ประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ[2] กรรมการในคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย[3]และอดีต ประธานกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย[4]
ประวัติ[แก้]
อรรชกา สีบุญเรือง เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายประวิช และนางศศิธร สีบุญเรือง มีพี่น้อง 2 คน[5] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2520 ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก Sussex University ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2527 ตามลำดับ
การทำงาน[แก้]
อรรชกา สีบุญเรือง เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2520 ถึงปี พ.ศ. 2521 จากนั้นจึงไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกที่ประเทศอังกฤษ และกลับมารับราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในปี พ.ศ. 2527 จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการลงทุน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโบายและแผน ระดับ 10 ชช) ในปี พ.ศ. 2547
ในปี พ.ศ. 2548 ดร.อรรชกา ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเป็นเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในปี พ.ศ. 2551 เป็นรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2555 และเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในปีถัดมา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งนับเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับตำแหน่งดังกล่าว[6]
อรรชกา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558[7] ในขณะเดียวกัน จึงได้ลาออกจากตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม[8]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[9]
อรรชกา ยังเป็นอาจารย์พิเศษคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2556 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2551 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/029/T_0020.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/128/21.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/193/22.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/200/10.PDF
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558
- ↑ “อรรชกา สีบุญเรือง” ขึ้นแท่นปลัดอุตสาหกรรมหญิงคนแรก
- ↑ พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง
- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนพิเศษ 296 ง, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559.
- ↑ ประวัติ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง
ก่อนหน้า | อรรชกา สีบุญเรือง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559) |
![]() |
อุตตม สาวนายน |
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- นิสิตเก่าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา