วัชระ พรรณเชษฐ์
วัชระ พรรณเชษฐ์ | |
---|---|
ผู้แทนการค้าไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2 ปี 88 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2532–2549, 2552–2554) เพื่อแผ่นดิน (2550–2552) ชาติไทยพัฒนา (2554–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นวลพรรณ ล่ำซำ (2536–2547) |
บุตร | นวลวรรณ พรรณเชษฐ์ |
วัชระ พรรณเชษฐ์ (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504) อดีตผู้แทนการค้าไทย ในสมัยรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน และเป็นทายาทกลุ่มสิทธิผล ผู้จำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ของไทย
ประวัติ
[แก้]วัชระ พรรณเชษฐ์ หรือ ดร.วัชระ พรรณเชษฐ์ เกิดวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ที่ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร้อยโทอนันต์ พรรณเชษฐ์ และ นางกัลยาณี พรรณเชษฐ์ วัชระเคยเป็นหนึ่งในผู้บริหารพรรคไทยรักไทยเคยดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มี นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีว่าการใน (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 54 ของไทย) ที่มี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบงานด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งถือว่าตรงกับความถนัด ที่ ดร.วัชระ อยู่ในธุรกิจรถยนต์รายใหญ่มาก่อน และรัฐบาลขณะนั้นมีโครงการผลักดันประเทศไทยให้เป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ทางอุตสาหกรรมที่สำคัญของรัฐบาลทักษิณ
ต่อมาภายหลัง รัฐประหาร พ.ศ. 2549 วัชระ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และต่อมาได้เข้าร่วมกับ พรรคเพื่อแผ่นดิน ที่มี นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรค
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]วัชระ พรรณเชษฐ์ เป็นบุตรของ ร้อยโทอนันต์และนางกัลยาณี พรรณเชษฐ์ มีน้องสาวคนเดียว ชื่อ ดร.วัชรี พรรณเชษฐ์ วัชระ เคยสมรสกับ นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้บริหารเมืองไทยประกันภัย และผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ มีบุตรสาวด้วยกันคือ นวลวรรณ พรรณเชษฐ์ (น้องปราง) แต่ต่อมาได้หย่าร้างจากกัน เมื่อปลายปี พ.ศ. 2547
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2522 : โรงเรียนอัสสัมชัญ
- พ.ศ. 2526 : ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (สาขาเครื่องกล) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2528 : ปริญญาโท บริหารธุรกิจ ไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2533 : ปริญาเอก บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแปซิฟิคเวสเทอร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประวัติการดำรงตำแหน่งทางราชการ
[แก้]- กรรมการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
- กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย 5 ปี
- ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ฯพณฯ กร ทัพพะรังสี)
- ผู้แทนในสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเบค APEC Business Adystory Council
- ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมมาธิการ การพาณิชย์สภาผู้แทนราษฏร
- กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
- ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2533-2535)
ประวัติการดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง
[แก้]- ที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี)
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ และการลงทุน
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (นายสุรเกียรติ เสถียรไทย)
- ประธานที่ปรึกษา ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ตั้งแต่ธันวาคม 2545)
- กรรมการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2544)
- กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2533-2535)
- กรรมการหอการค้าไทย แต่งตั้ง พ.ศ. 2536
- กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2541)
- กรรมการบริหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย / กรรมการ สภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- กรรมการคณะกรรมการการร่วมสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย (กกร.)
- ประธานอำนวยการ APECCEO SUMMIT 2003
- ผู้แทนในสภาที่ปรึกษาด้านธุรกิจเอเปค (APEC Business Adystory Council)
- ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการพาณิชย์สภาผู้แทนราษฏร์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2544)
- ประธานองค์กร YOUNG PRESIDENT ORGANIZATION (YPO) แห่งประเทศไทย
ผู้แทนการค้าไทย
[แก้]ในปี พ.ศ. 2552 ดร.วัชระ พรรณเชษฐ์ ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้แทนการค้าไทย (ตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี) ในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[1]
ประวัติการดำรงตำแหน่งทางธุรกิจ
[แก้]- กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานบริหาร บริษัทสิทธิผลเซลล์ จำกัด
- ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มสิทธิผลโฮลดิ้ง จำกัด (ด้านอสังหาริมทรัพย์ คอมพิวเตอร์ ค้าปลีก ลงทุน ฯลฯ)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 130/2552 เรื่อง แต่งตั้งผู้แทนการค้าไทย (นายวัชระ พรรณเชษฐ์ นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- ผู้แทนการค้าไทย
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.