สง่า สรรพศรี
ศาสตราจารย์ สง่า สรรพศรี ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | นายอานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ |
ถัดไป | นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มกราคม พ.ศ. 2475 เชียงใหม่ ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 29 มกราคม พ.ศ. 2542 (67 ปี) |
คู่สมรส | รศ.วชิรา สรรพศรี |
ศาสตราจารย์ สง่า สรรพศรี (วันเสาร์ ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2475 - 29 มกราคม พ.ศ. 2542) เกิดที่ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายมุ่ง และนางอุสา สรรพศรี สมรสกับ รองศาสตราจารย์ วชิรา สรรพศรี มีบุตร 1 คน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.ชโยดม สรรพศรี อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.สง่า สรรพศรี เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สมาชิกวุฒิสภา และตำแหน่งทางวิชาการอื่นๆ หลายตำแหน่ง
การศึกษา[แก้]
สง่า สรรพศรี เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย และโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับอนุปริญญาวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ด้านการป่าไม้ จากมหาวิทยาลัยออริกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันการศึกษาในประเทศ 7 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และจากสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศ 4 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (ญี่ปุ่น) มหาวิทยาลัยซาร์ลันท์ (เยอรมัน) มหาวิทยาลัยออริกอน (สหรัฐอเมริกา) และมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (ประเทศฟิลแลนด์)
ตำแหน่งทางการเมือง และตำแหน่งหน้าที่ราชการ[แก้]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม[1] ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาชิกวุฒิสภา[2] สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
ตำแหน่ง และบทบาทที่สำคัญ[แก้]
กรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล สาขาเกษตรศาสตร์, ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิต Royal Swedish Academy of Engineering Sciences, ราชบัณฑิต Royal Norwegian Society of Sciences and Letters President, The International Society for Mangrove Ecosystems (ISME) Vice-chairman, Executive Committee International Foundation for Science (IFS) ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ประธานกรรมการบริหารองค์การสวนพฤกษศาสตร์
ศิษย์เก่าดีเด่น[แก้]
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยออริกอนสเตต สหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
ผลงาน[แก้]
ตำรา งานวิจัย และบทความทางวิชาการที่ได้รับการพิมพ์ และเผยแพร่ในประเทศ และต่างประเทศกว่า 100 เรื่อง เป็นผู้ก่อตั้ง มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี เพื่อการวิจัย เพื่อส่งเสริมงานวิจัยของสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เชียงใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
สง่า สรรพศรี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2525 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2521 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2529 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2530 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาวิทยาศาสตร์และการบริหาร[7]
- พ.ศ. 2522 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2523 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
เดนมาร์ก:
- พ.ศ. 2529 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 3[10]
- พ.ศ. 2529 –
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)เล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕๙๒, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๑๗๗๘, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๐๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๙ มิถุนายน ๒๕๒๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2475
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2542
- บุคคลจากอำเภอจอมทอง
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์
- ราชบัณฑิต
- บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ
- นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- บุคคลจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยออริกอน
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3