เกียรติ สิทธีอมร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกียรติ สิทธีอมร
ประธานผู้แทนการค้าไทย
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กันยายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)
ศาสนาคริสต์
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสจริญญา สิทธีอมร

เกียรติ สิทธีอมร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตประธานคณะกรรมการบริหาร หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

เกิดวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2502[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านการต่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยทัฟส์ และ ประกาศนียบัตรชั้นสูงด้านการบริหาร จาก Harvard Business School ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จากสถาบันพระปกเกล้า

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • ที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน)
  • ประธานคณะกรรมการบริหาร หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย
  • กรรมการรองเลขาธิการหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย
  • กรรมการบริหารหอการค้านานาชาติ โดยได้รับการคัดเลือกจากประเทศสมาชิกกว่า 140 ประเทศ
  • ผู้แทนประเทศไทยในกลุ่มวิสัยทัศน์ เอเชียตะวันออก, กรรมการแข่งขันทางการค้า
  • กรรมการ พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ประวัติทางการเมือง[แก้]

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562[2])
  • ประธานผู้แทนการค้าไทย (เทียบเท่ารองนายกรัฐมนตรี)
  • ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ชวน หลีกภัย)
  • ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ รัฐสภา
  • ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระ วุฒิสภา
  • รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
  • รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า(บีทีเอส)
  • ประธานคณะอนุกรรมการฯ ด้านคณะกรรมาธิการการเมืองและเศรษฐกิจ ในการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 40


ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นายเกียรติได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 9 [3]

รัฐบาลเงา[แก้]

หลังเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศจัดตั้ง ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ นายเกียรติ สิทธีอมร ได้รับเลือกจาก ที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เงา[4]

ผู้แทนการค้าไทย[แก้]

ภายหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งผู้แทนการค้าไทยขึ้น ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 นายเกียรติ สิทธีอมร จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนการค้าไทย ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  3. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  4. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 124/2552 เรื่อง แต่งตั้งผู้แทนการค้าไทย (นายเกียรติ สิทธีอมร)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]