วัชรพล โตมรศักดิ์
วัชรพล โตมรศักดิ์ | |
---|---|
รักษาการหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า | |
ดำรงตำแหน่ง 25 มิถุนายน – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | กรณ์ จาติกวณิช (หัวหน้าพรรค) |
ถัดไป | เทวัญ ลิปตพัลลภ (หัวหน้าพรรค) |
เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |
ก่อนหน้า | ดล เหตระกูล |
ถัดไป | เทวัญ ลิปตพัลลภ (เลขาธิการพรรคชาติพัฒนากล้า) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนากล้า |
วัชรพล โตมรศักดิ์ เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงสาธารณสุข[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เป็นรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า และเป็นประธานสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา มาสด้า[2] อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา เขาเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตเพียงคนเดียวของพรรคชาติพัฒนาที่ชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562[3]
ประวัติ
[แก้]วัชรพล โตมรศักดิ์ เกิดเมื่อวันท่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 สำเร็การศึกษาปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ จากสถาบันราชภัฏนครราชสีมา และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
การทำงาน
[แก้]วัชรพล โตมรศักดิ์ เริ่มทำงานการเมืองตั้งแต่ปี 2533 เป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) 6 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ประธานสภาจังหวัดนครราชสีมา
วัชรพล โตมรศักดิ์ เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในนามพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ซึ่งมี พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร เป็นหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาในปี 2554 ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคการเมืองเดิม แต่พรรคเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตเพียงคนเดียวของพรรคชาติพัฒนา และในปี พ.ศ. 2563 ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรค[4]
วัชรพล มีบทบาทในวงการกีฬาโดยเคยรับหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมของสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา มาสด้า[5][6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มติครม. แต่งตั้งพรึบ ชัยเกษม-สงคราม ไขก๊อกส.ส. รับที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อนิพัทธ์-พิชัย
- ↑ Chittinand, Tor (13 June 2023). "สาวก"สวาทแคท" เฮ "บิ๊กโต" คัมแบ็ค นั่งประธานสโมสร,เมธี ลูกหม้อ ผจก.ทีม". Siamsport. สืบค้นเมื่อ 13 June 2023.
- ↑ คนตามข่าว วัชรพล โตมรศักดิ์ เลขาธิการพรรคชาติพัฒนาคนใหม่
- ↑ “สุวัจน์” ชู “เทวัญ” นั่งหัวหน้า “ชพน.” อีกรอบ “ส.ส.โต” เป็นเลขาฯ ย้ายที่ทำการพรรคมาโคราช
- ↑ "นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- ↑ ไม่มีกั้ก! บิ๊กโต สนดึงแข้งยุ่นตัวท็อปเข้ารังหากไปไทยลีก[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- พรรคชาติพัฒนากล้า
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
- บุคคลจากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ประธานสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย