ประสาท ตันประเสริฐ
ประสาท ตันประเสริฐ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขต 6 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | นิโรธ สุนทรเลขา |
คะแนนเสียง | 24,089 (26.32%) |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | นิโรธ สุนทรเลขา สัญชัย วงษ์สุนทร |
ถัดไป | นิโรธ สุนทรเลขา |
เขตเลือกตั้ง | เขต 6 (2554,2566) เขต 1 (2529,2535,2539) |
เลขาธิการพรรคชาติพัฒนากล้า | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | เทวัญ ลิปตพัลลภ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2494 |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนากล้า |
นายประสาท ตันประเสริฐ หรือที่รู้จักในนาม "กำนันอู๊ด"[1] เลขาธิการพรรคชาติพัฒนากล้า เคยเป็นรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต 6 สังกัดพรรคชาติพัฒนากล้า
ประวัติ
[แก้]ประสาท ตันประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายประชา ตันประเสริฐ กับนางอรดี ตันประเสริฐ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย[2]
การทำงาน
[แก้]ประสาท ตันประเสริฐ เคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่รู้จักในนาม "กำนันอู๊ด" ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจประชาคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคกิจประชาคม[3]
เขายังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จาก การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 และ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ต่อมาใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครในสังกัด พรรคชาติพัฒนาเช่นเดิม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในสังกัด พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ประสาท ตันประเสริฐ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขต 6 สังกัด พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน เพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่ภาคกลาง จาก การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554
ในปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา[4] ต่อมาใน พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกให้เป็นรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา[5] จากนั้นเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ต่อมาเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ.2566 สังกัด พรรคชาติพัฒนากล้า และเป็นผู้สมัครแบบแบ่งเขตคนเดียวของพรรคชาติพัฒนากล้าที่ชนะการเลือกตั้งทั้งประเทศ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]นายประสาท ตันประเสริฐ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 5 สมัย ได้แก่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจประชาคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน 2535 สังกัดพรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคชาติพัฒนากล้า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ลึกลับในสนามข่าว ประจำวันที่ 18 ตุลาคม 2554[ลิงก์เสีย]จาก ข่าวสด
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคกิจประชาคม
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา [จำนวน ๑๕ ราย]
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนครสวรรค์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์
- พรรคกิจประชาคม
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติพัฒนากล้า
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.