บุณย์ เจริญไชย
บุณย์ เจริญไชย | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2507 | |
ก่อนหน้า | กฤช ปุณณกันต์ |
ถัดไป | มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 |
เสียชีวิต | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 (84 ปี) |
บุณย์ เจริญไชย เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนักการทูตประจำประเทศฝรั่งเศส มีบุตรชาย นายจักร เจริญไชย
ประวัติ
[แก้]บุณย์ เจริญไชย เป็นบุตรของขุนอนุการสกลรัฐ (กาทอน เจริญไชย) กับนางกาไวย อนุการสกลรัฐ เป็นชาวอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ที่สอบได้ที่ 1 ของทุนไปเรียนต่างประเทศถึง 3 ทุน แต่เขาเลือกไปเรียนกฎหมายที่ฝรั่งเศส หลังจบการศึกษานายบุณย์ เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ เป็นเอกอัคราชทูตหลายประเทศ อาทิ กรุงปารีส ฝรั่งเศส อินเดีย[1]
บุณย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ พ.ศ. 2502[2] และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมาในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ใน พ.ศ. 2506[3] ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพลสฤษดิ์ จนกระทั่งเขาลาออกจากตำแหน่ง ใน พ.ศ. 2507[4]
บุณย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติใน พ.ศ. 2516[5] หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจและขับไล่รัฐบาลชุดที่มีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2476 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. 2502 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คนดีๆ ในกระทรวงการต่างประเทศ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (นายบุณย์ เจริญชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมลาออก และตั้ง พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-16.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา