วีระ สุสังกรกาญจน์
วีระ สุสังกรกาญจน์ | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2473 |
เสียชีวิต | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (75 ปี) |
คู่สมรส | กมลเนตร สุสังกรกาญจน์ |
นายวีระ สุสังกรกาญจน์ เป็นอดีตข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษาสภาผู้แทนราษฎร[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49) และเป็นอดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรองอธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม [2]อดีตประธานกรรมการ บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) อดีตประธานกรรมการบริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน)
ประวัติ[แก้]
วีระ สุสังกรกาญจน์ เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2473 เป็นบุตรของนายปทุม และนางสุรภี สุสังกรกาญจน์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนครโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีวิศวกรรมโยธา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยอิลลินอย สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัว นายวีระ สมรสกับนางกมลเนตร มีบุตรธิดา รวม 4 คน
วีระ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2548 รวมอายุ 75 ปี[3]
การทำงาน[แก้]
วีระ สุสังกรกาญจน์ เริ่มเข้ารับราชการช่างตรี กองแบบแผน กรมทางหลวงแผ่นดิน โดยมีความก้าวหน้าในราชการมาโดยลำดับ โดยได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม จนกระทั่งเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2525 จากนั้นเขาถูกย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากไม่สนองนโยบายของนายอบ วสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น จากกรณีนโยบายการรวมบริษัทเหล้าสองบริษัท คือ สุรามหาราษฎร และสุราทิพย์เข้าด้วยกัน
ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49)[4][5]
ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษาสภาผู้แทนราษฎร[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2528 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2525 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2521 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/D/063/8.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/093/3192.PDF
- ↑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 26 ราย)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/D/063/8.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๒, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2473
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2548
- นักการเมืองไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิศวกรชาวไทย