มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Sripatum University | |
ชื่อเดิม | วิทยาลัยไทยสุริยะ (วทส.) Thaisuriya College (TSC) |
---|---|
ชื่อย่อ | มศป. / SPU |
คติพจน์ | การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน |
สถาปนา | วิทยาลัยไทยสุริยะ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2513[1] วิทยาลัยศรีปทุม 31 มกราคม พ.ศ. 2515 มหาวิทยาลัยศรีปทุม 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 |
ผู้สถาปนา | ดร.สุข พุคยาภรณ์ |
นายกสภาฯ | รองศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต |
อธิการบดีมหาวิทยาลัย | ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน |
ผู้ศึกษา | 34,530 คน (2566)[2] |
ที่อยู่ | เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 , เลขที่ 79 ถนนบางนา-ตราด ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 เลขที่ 182/12 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 ประเทศไทย |
วิทยาเขต | วิทยาเขต |
เพลง | บัวเบิกบาน |
ต้นไม้ | ปาล์มขวด, ดอกบัวหลวงสีชมพู |
สี | ฟ้า ชมพู |
เครือข่าย | ASAIHL |
เว็บไซต์ | www.spu.ac.th |
มหาวิทยาลัยศรีปทุม เดิมชื่อวิทยาลัยไทยสุริยะ ก่อนได้รับพระราชทานนามใหม่จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยพัฒนา[3] ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีปทุมตั้งอยู่ที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และมีวิทยาเขตที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดขอนแก่น[4]
ประวัติ
[แก้]วิทยาลัยไทยสุริยะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513 เป็น 1 ใน 5 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรก ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย โดย ดร.สุข พุคยาภรณ์
ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2515 วิทยาลัยไทยสุริยะ ได้รับพระราชทานนามใหม่จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น “วิทยาลัยศรีปทุม” (กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นชื่อวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2515) และพระราชทานความหมายว่า "เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว" พร้อมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดป้ายนาม "ศรีปทุม" และพระราชทานปริญญาบัตร อนุปริญญา และประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นที่1,2และ 3
ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปลี่ยนประเภทเป็น “มหาวิทยาลัยศรีปทุม” เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2530
มหาวิทยาลัยฯ ได้ขยายวิทยาเขตออกไปในปีการศึกษา 2530 โดยได้จัดตั้งวิทยาเขตที่สมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2530
ในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศรีปทุมขออนุมัติทบวงมหาวิทยาลัย (ในขณะนั้น) จัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท เปิดสอนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนานักบริหาร โดยเปิดสอนครั้งแรก ณ อาคารเอ็กซิม (อาคารบุญผ่องเดิม) ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท ต่อมาได้ย้ายสำนักงานมาเปิด ณ อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 17 และชั้น 20 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท เพื่อเปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับนักบริหาร (ปัจจุบันไม่มีการสอนที่วิทยาคารพญาไทแล้ว)
ในปี พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ขยายการเรียนการสอนไปยังจังหวัดขอนแก่น ภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556
สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
[แก้]-
เครื่องหมายประจำมหาวิทยาลัย ใช้เป็นเครื่องหมายในการสื่อสารที่เป็นแบบเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไปสามารถจดจำและมีความน่าเชื่อถือต่อองค์กร -
ธงประจำมหาวิทยาลัย
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระราชทานนาม “ศรีปทุม” แก่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ พร้อมความหมายว่า “เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบาน เช่นดอกบัว” ดังนั้น ดอกบัวหลวงสีชมพูจึงเป็นสัญลักษณ์แทนนามศรีปทุม มีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยม มีรูปดอกบัวอยู่ภายใน มีความหมายดังนี้
- ดอกบัว 3 กลีบ หมายถึง ความเป็นผู้มีปัญญาธรรม สามัคคีธรรม และ คารวะธรรม คือ มีความรู้หรือปัญญา มีความเชี่ยวชาญ ในการประกอบวิชาชีพ และรู้จักปรับตนให้เป็นคนที่มีความเบิกบาน มีน้ำใจไมตรีในการดำเนินชีวิต
- รูปหกเหลี่ยม หมายถึง ทิศทั้งหกในพระพุทธศาสนา ที่หมายถึงผู้มีพระคุณและผู้ที่เข้ามามีความเกี่ยวข้องผู้พันในชีวิต ซึ่งก็คือ ความเป็นผู้มีคุณธรรม
การศึกษา
[แก้]ที่ตั้งมหาวิทยาลัย
[แก้]มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดดำเนินการสอนใน 3 แห่ง ได้แก่
- วิทยาเขตบางเขน เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
- วิทยาเขตชลบุรี เลขที่ 79 ถนนเทพรัตน ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
- วิทยาเขตขอนแก่น เลขที่ 182/12 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
คณะ
[แก้]
|
วิทยาลัย
[แก้]
|
คณะ/วิทยาลัยที่ไม่มีการเปิดสอนในปัจุบัน
[แก้]- วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก (เคยมีแผนจะเปิดสอน)
- คณะเศรษฐศาสตร์ (เปลี่ยนสถานะเป็นศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
พิธีสำเร็จการศึกษา
[แก้]มหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่แยกพิธีสำเร็จการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน แบ่งเป็น
- พิธีประสาทปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาเขตบางเขน
- พิธีประสาทปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาเขตชลบุรี
- พิธีประสาทปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาเขตขอนแก่น
สำเร็จการศึกษาจาก | สถานที่ | ประธานในพิธี |
---|---|---|
วิทยาเขตบางเขน | ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร |
รองศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต และนายกสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม |
วิทยาเขตชลบุรี | อาคารยิมเนเซียม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี |
รองศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต และนายกสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม |
วิทยาเขตขอนแก่น | ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น (ไคซ์) อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น |
ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม |
- หมายเหตุ สถานที่และประธานในพิธี อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมในแต่ละปี
สีของแถบพาดบ่าของชุดครุยวิทยฐานะ
[แก้]สีแถบครุยวิทยฐานะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม แบ่งตามหลักสูตร | ||||
████ สีเหลือง | นิเทศศาสตร์ | ████ สีฟ้าคราม | วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน | |
████ สีเหลืองทอง | รัฐประศาสนศาสตร์ | ████ สีฟ้า | บริหารธุรกิจ | |
████ สีส้ม | ศิลปศาสตร์ | ████ สีน้ำเงิน | เศรษฐศาสตร์ ปัจจุบันไม่มีเปิดสอน | |
████ สีชมพูอมม่วง | ศิลปกรรมศาสตร์ | ████ สีแดงเลือดหมู | วิศวกรรมศาสตร์ | |
████ สีม่วง | วิทยาศาสตร์ | ████ สีน้ำตาล | สถาปัตยกรรมศาสตร์ | |
████ สีเทา | ศึกษาศาสตร์ | ████ สีส้มริมสีเทา | ศิลปศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ | |
████ สีเขียว | บัญชี | ████ สีฟ้าริมสีเทา | บริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ | |
████ สีขาว | นิติศาสตร์ | TBA | เทคโนโลยี |
โครงสร้างการบริหาร
[แก้]หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
[แก้]
|
|
อันดับมหาวิทยาลัย
[แก้]- ปี 2018 คว้าอันดับ 1 สถาบันการศึกษาเอกชน และอันดับ9 มหาวิทยาลัยในไทยเว็บไซต์การจัดอันดับสถาบันการศึกษา 4Icu หรือ "Unirank" ประกาศการจัดอันดับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เดือนมกราคม 2018 "Unirank" Top Universities in Thailand 2018 Thai University Ranking [5]
- ปี 2017 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ถูกจัดเป็นอันดับ1 มหาวิทยาลัยเอกชนในไทย และอันดับ12 มหาวิทยาลัยในไทย ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากการจัดอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยโลก โดย UNIRANK และตามด้วยอันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อันดับที่ 4 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตามลำดับ[6]
- ปี 2016 การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่างๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยศรีปทุม อยู่ในอันดับที่ 4,265 ของโลก อันดับที่ 60 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[7]
สถาบันในเครือ (ไทย-เทค)
[แก้]- วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณาบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอโยธยาบริหารธุรกิจ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษาก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนวิทยาลัยไทยสุริยะเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแรก5แห่งเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ สถาบันอุดมศึกษา เก็บถาวร 2011-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์ สกอ.
- ↑ Unirank Top Universities เก็บถาวร 2020-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนTop Universities in Thailand 2018 Thai University Ranking
- ↑ The 2017 University Web Rankings : Top 200 Universities in the world เก็บถาวร 2017-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนThai University Ranking 2017
- ↑ Ranking Web of World Universities เก็บถาวร 2009-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนTop South East Asia