กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
กอบกาญจน์ ในปี พ.ศ. 2559
ประธานคณะกรรมการการพัฒนาพิงคนคร
ดำรงตำแหน่ง
13 มีนาคม พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าปวิณ ชำนิประศาสน์
ถัดไปณอคุณ สิทธิพงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
(3 ปี 85 วัน)
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้านายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์
ถัดไปพลตำรวยสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557
(0 ปี 28 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กันยายน พ.ศ. 2503 (63 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
คู่สมรสพล.ต.อ.ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร สกุลเดิม:สุริยสัตย์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ.2503) ประธานกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)[1]

อดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ[2] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานคณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา[3]และประธานกรรมการกีฬาอาชีพ[4] รองประธานกรรมการคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย[5] ในคณะรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตประธานกรรมการบริหารบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด[6]

ประวัติ[แก้]

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (ชื่อเล่น: น้อง) เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2503 ที่ จังหวัดพระนคร[7] เป็นบุตรของ ดร.กร สุริยสัตย์ และท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ นอกจากนี้ยังเป็นหลานปู่ของพลตรีพระสุริยสัตย์ อดีตเจ้ากรมการเงิน กระทรวงกลาโหม[8]และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[9] โดยราชทินนาม "สุริยสัตย์" นั้นหมายถึง "ซื่อสัตย์ดั่งดวงอาทิตย์" รวมถึงเป็นหลานตาและหลานยายของนายมา และนางบุญครอง แห่งตระกูล “บูลกุล” ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจโรงสีและผู้บริหารบริษัทข้าวรุ่นบุกเบิกของเมืองไทย[10]ในปัจจุบัน

นางกอบกาญจน์ เริ่มศึกษาที่ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และไปต่อชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศสหรัฐอเมริกาที่ Wellesley College [1]รัฐแมสซาชูเซตส์ และจบปริญญาตรีด้านสถาปัตยกรรมที่ Rhode Island School of Design รัฐโรดไอแลนด์สหรัฐอเมริกา ได้รับประกาศนียบัตร “Director Certification Program” และ “The Role of Chairman Program” สถาบันส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ( Thai Institute of Directors , IOD )[2] เก็บถาวร 2009-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2543 และประกาศนียบัตรหลักสูตร “การป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ( ปรอ. ) รุ่นที่ 19 ปี พ.ศ. 2549

โดยระหว่างที่นางกอบกาญจน์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเธอมีผลงานเป็นที่ประชาชนยอมรับเห็นได้จากผลสำรวจของสื่อโทรทัศน์ต่างๆ ภายหลังจากการดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เธอได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี

ครอบครัว[แก้]

เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของ ดร.กร และท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ (เสียชีวิต) มีพี่น้องคือ

  • นางกัลยารัตน์ สุริยสัตย์ (หมู)
  • นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (น้อง)
  • นางกนิษฐ์ เมืองกระจ่าง (หน่อย)
  • นายกนก สุริยสัตย์ (หนก)

ด้านชีวิตส่วนตัว นางกอบกาญจน์ สมรสกับ พลตำรวจเอก[11] ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและนายตำรวจราชองครักษ์เวร อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ,อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ,อดีตรองจเรตำรวจแห่งชาติ,อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3,อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 และอดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ตำแหน่งหน้าที่พิเศษได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีบุตรธิดา 2 คนคือ

1.นายภากร วัฒนวรางกูร

2.นางสาวแพรวา วัฒนวรางกูร

การทำงาน[แก้]

นางกอบกาญจน์ เริ่มทำงานในปี พ.ศ. 2529 เป็นผู้จัดการแผนกโฆษณา ต่อมา พ.ศ. 2555 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[12] และเป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด[13]

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[14] และในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา [15]

ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

เกียรติประวัติ[แก้]

ตำแหน่งทางสังคม[แก้]

อื่นๆ[แก้]

  • คณะกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ K-SME Venture Capital [28] ปี 2550
  • กรรมการพิจารณารางวัล Bai Pho Business Awards by SASIN[29][30] ปี 2550
  • คณะกรรมการประเมินผลทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2551 กรมบัญชีกลาง [31]
  • กรรมการตัดสินการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2550 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ [32]

งานเขียน[แก้]

  • พ็อกเก็ตบุ๊ค "บันทึกดีๆแห่งชีวิต" สำนักพิมพ์อมรินทร์ https://anyflip.com/bookcase/kyxva
  • CEO Blogs คอลัมน์ "ข้อคิดที่ดีเพื่อชีวิตกับอิฐแดง"[33]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เช็คมติครม.แต่งตั้งครบทุกตำแหน่ง
  2. ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร
  3. ประธานคณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
  4. ประธานกรรมการกีฬาอาชีพ
  5. รองประธานกรรมการคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
  6. ประธานกรรมการบริหารบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด
  7. "ประวัติ นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 2014-10-25.
  8. "ประวัติกระทรวงกลาโหม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-06. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
  9. "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  10. มาบุญครอง
  11. ตำแหน่งหน้าที่พิเศษได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  12. (เพิ่มเติม) ครม.เห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการหลายชุดแทนตำแหน่งที่ว่าง
  13. ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด
  14. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  15. ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, 31 สิงหาคม 2557
  16. "ได้รับรางวัลนักธุรกิจสตรีดีเด่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-02. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  17. "รองประธานกรรมการ : หอการค้าไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-12. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  18. ประธาน : สมาคมไทย – ญี่ปุ่น
  19. กรรมการสภามหาวิทยาลัย
  20. กรรมการ : หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
  21. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา
  22. "กรรมการ : กีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-30. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  23. "กรรมการ : มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-09. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  24. "กรรมการ: สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-31. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  25. ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ : สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน
  26. "คณะทำงาน : มูลนิธิ Art for All". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  27. กรรมการ : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
  28. "คณะกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ K-SME Venture Capital". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-25. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  29. กรรมการพิจารณารางวัล Bai Pho Business Awards by SASIN
  30. กรรมการพิจารณารางวัล Bai Pho Business Awards by SASIN
  31. คณะกรรมการประเมินผลทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2551 กรมบัญชีกลาง
  32. "กรรมการตัดสินการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-03. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  33. CEO Blogs คอลัมน์ "ข้อคิดที่ดีเพื่อชีวิตกับอิฐแดง" เก็บถาวร 2011-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  34. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๑, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  35. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๓๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  36. กิตติพงษ์-กอบกาญจน์ 2 คนไทย รับพระราชทานเครื่องราชฯ จากสมเด็จพระจักรพรรดิ แห่งญี่ปุ่น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ถัดไป
สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์