ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จาตุรนต์ ฉายแสง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
| footnotes =
| footnotes =
}}
}}
'''จาตุรนต์ ฉายแสง''' (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2499) อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ]] อดีต[[รายนามรองนายกรัฐมนตรีของไทย|รองนายกรัฐมนตรี]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00154678.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี]</ref> อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม]]และรักษาการหัวหน้า[[พรรคไทยรักไทย]] เขาได้รับการคัดเลือกจาก[[นิตยสารเอเชียวีค]]ให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติเอเชียที่มีบทบาทโดดเด่นในศตวรรษที่ 20 เป็นอดีตประธานยุทธศาสตร์[[พรรคไทยรักษาชาติ]]<ref>[https://www.khaosod.co.th/politics/news_1881827 ทษช. ตั้งอ๋อยเป็นขงเบ้ง! ลั่นรัฐธรรมนูญไม่ได้ดีไซน์มาเพื่อเรา แต่เปิดช่องให้ “บิ๊กตู่”]</ref>
'''จาตุรนต์ ฉายแสง''' (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2499) นักเศรษฐศาสตร์และ[[นักการเมือง]][[ชาวไทย]] อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ]] อดีต[[รายนามรองนายกรัฐมนตรีของไทย|รองนายกรัฐมนตรี]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00154678.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี]</ref> อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม]]และรักษาการหัวหน้า[[พรรคไทยรักไทย]] เขาได้รับการคัดเลือกจาก[[นิตยสารเอเชียวีค]]ให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติเอเชียที่มีบทบาทโดดเด่นในศตวรรษที่ 20 เป็นอดีตประธานยุทธศาสตร์[[พรรคไทยรักษาชาติ]]<ref>[https://www.khaosod.co.th/politics/news_1881827 ทษช. ตั้งอ๋อยเป็นขงเบ้ง! ลั่นรัฐธรรมนูญไม่ได้ดีไซน์มาเพื่อเรา แต่เปิดช่องให้ “บิ๊กตู่”]</ref>


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
บรรทัด 53: บรรทัด 53:


== บทบาททางการเมือง ==
== บทบาททางการเมือง ==

จาตุรนต์ ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 ในนาม [[พรรคประชาธิปัตย์]]และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ฉะเชิงเทราสมัยแรก และสมัยที่ 2 ในปี 2531 และได้ย้ายมาร่วมงานกับ[[พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)|พรรคประชาชน]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2531/A/095/22.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค]</ref> ซึ่งนำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัด[[พรรคความหวังใหม่]] และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องกันมาโดยตลอด จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 จาตุรนต์ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัด[[พรรคไทยรักไทย]] จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549
จาตุรนต์ ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 ในนาม [[พรรคประชาธิปัตย์]]และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ฉะเชิงเทราสมัยแรก และสมัยที่ 2 ในปี 2531 และได้ย้ายมาร่วมงานกับ[[พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)|พรรคประชาชน]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2531/A/095/22.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค]</ref> ซึ่งนำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัด[[พรรคความหวังใหม่]] และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องกันมาโดยตลอด จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 จาตุรนต์ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัด[[พรรคไทยรักไทย]] จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549


ภายหลังรัฐประหาร [[ทักษิณ ชินวัตร]] ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จาตุรนต์ ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรครักษาการแทน<ref>The Nation, [http://nationmultimedia.com/2006/10/19/politics/politics_30016563.php EXCLUSIVE INTERVIEW: People were disappointed in us], 19 มิถุนายน พ.ศ. 2549</ref>
ภายหลังรัฐประหาร [[ทักษิณ ชินวัตร]] ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จาตุรนต์ ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรครักษาการแทน<ref>ไทยรัฐ, [https://www.thairath.co.th/person/1626], 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562</ref>


หลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยด้วยมติเอกฉันท์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 แล้ว ซึ่งก่อนมีคำตัดสิน จาตุรนต์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีท่าทีว่าจะขอน้อมรับมติของศาล แต่หลังจากนั้นแล้ว จาตุรนต์ได้เดินทางไปที่ทำการพรรคและปราศรัยว่า เป็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำพิพากษาที่มาจากปากกระบอกปืน ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้าน คมช.<ref>ผู้จัดการ, [http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000062765 “อ๋อย” โวย! ตัดสินไม่เป็นธรรม-ปลุกระดม ปชช.ต่อต้าน คมช.!], 31 พฤษภาคม 2550</ref><ref>แนวหน้า, [http://www.naewna.com/news.asp?ID=61916 "จาตุรนต์" ลั่นยุบ ทรท.ไม่เป็นธรรม ชี้ตัดสินจากอำนาจเผด็จการ ลั่นพร้อมร่วมมือประชาชนโค่นระบอบทหาร], 31 พฤษภาคม 2550</ref>
หลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยด้วยมติเอกฉันท์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 แล้ว ซึ่งก่อนมีคำตัดสิน จาตุรนต์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีท่าทีว่าจะขอน้อมรับมติของศาล แต่หลังจากนั้นแล้ว จาตุรนต์ได้เดินทางไปที่ทำการพรรคและปราศรัยว่า เป็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำพิพากษาที่มาจากปากกระบอกปืน ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้าน คมช.<ref>ผู้จัดการ, [http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000062765 “อ๋อย” โวย! ตัดสินไม่เป็นธรรม-ปลุกระดม ปชช.ต่อต้าน คมช.!], 31 พฤษภาคม 2550</ref><ref>แนวหน้า, [http://www.naewna.com/news.asp?ID=61916 "จาตุรนต์" ลั่นยุบ ทรท.ไม่เป็นธรรม ชี้ตัดสินจากอำนาจเผด็จการ ลั่นพร้อมร่วมมือประชาชนโค่นระบอบทหาร], 31 พฤษภาคม 2550</ref>
บรรทัด 95: บรรทัด 94:
* นิตยสารต่างประเทศยกย่องให้เป็น 1 ใน 4 ผู้นำรุ่นใหม่ของประเทศไทยในปีเดียวกัน
* นิตยสารต่างประเทศยกย่องให้เป็น 1 ใน 4 ผู้นำรุ่นใหม่ของประเทศไทยในปีเดียวกัน
* เป็นนักการเมืองคนที่ 4 ของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติจากรัฐบาล[[ออสเตรเลีย]] เชิญเป็นแขกของรัฐบาลในฐานะนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ และทำประโยชน์ในสังคม เมื่อปี 2543
* เป็นนักการเมืองคนที่ 4 ของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติจากรัฐบาล[[ออสเตรเลีย]] เชิญเป็นแขกของรัฐบาลในฐานะนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ และทำประโยชน์ในสังคม เมื่อปี 2543
* นักศึกษาเก่าดีเด่นจาก[[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] ปีการศึกษา 2544<ref>[http://library.cmu.ac.th/pinmala/show_alumni.php?tyear=2544 หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษาเก่าดีเด่นปีการศึกษา 2544 สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2562 0:30 น.]</ref>
* รางวัล “ลี กวน ยิว” จาก[[ประเทศสิงคโปร์]]ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งนับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลนี้ (คนแรกคือ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในปี 2538)
* รางวัล “ลี กวน ยิว” จาก[[ประเทศสิงคโปร์]]ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งนับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลนี้ (คนแรกคือ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในปี 2538)
* The Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) มอบโล่เกียรติคุณในฐานะผู้ประสานการประชุมร่วมรัฐสภา[[อาเซียน]]กับองค์การ[[สหประชาชาติ]] เมื่อปี 2546
* The Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) มอบโล่เกียรติคุณในฐานะผู้ประสานการประชุมร่วมรัฐสภา[[อาเซียน]]กับองค์การ[[สหประชาชาติ]] เมื่อปี 2546
บรรทัด 108: บรรทัด 108:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.thaigov.go.th/general/cabin/chaturon.htm ข้อมูลจากเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล]
* [http://www.moe.go.th/websm/minister/chaturon.htm ข้อมูลจากเว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ]
* [http://chaturon.ning.com/ เว็บไซต์ส่วนตัว]
* [https://guru.sanook.com/27197/ ข้อมูลจากเว็บไซต์sanook]
* [http://จาตุรนต์.ฉายแสง.th/ เว็บไซต์ส่วนตัว 2]
* [https://hilight.kapook.com/view/102891 ข้อมูลจากเว็บไซต์kapook]
* [https://www.thairath.co.th/person/1626 ข้อมูลจากเว็บไซต์ไทยรัฐ]
* [http://chaturon.net/ เครือข่ายจาตุรนต์]
* [http://library.cmu.ac.th/pinmala/alumni_detail.php?StudentID=167011&ayear=2544 ข้อมูลจากเว็บไซต์หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่]
* [http://blog.tri333.net/2007/05/21.html จาตุรนต์ ฉายแสง พระยาพิชัยดาบหักแห่งศตวรรษที่ 21]
* [http://blog.tri333.net/2007/03/8.html จาตุรนต์ ฉายแสง กับ โลกธรรม 8]
* {{twitter|chaturon}}
* {{twitter|chaturon}}
* [https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage เฟซบุ๊กแฟนเพจ]


{{เริ่มกล่อง}}
{{เริ่มกล่อง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:41, 31 ธันวาคม 2562

จาตุรนต์ ฉายแสง
ไฟล์:Chaturon cropped.jpg
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม 2545 – 11 มีนาคม 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน 2556 – 22 พฤษภาคม 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าพงศ์เทพ เทพกาญจนา
ถัดไปณรงค์ พิพัฒนาศัย
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม 2548 – 19 กันยายน 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอดิศัย โพธารามิก
ถัดไปวิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม 2545 – 3 ตุลาคม 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าพงศ์เทพ เทพกาญจนา
ถัดไปปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 กุมภาพันธ์ 2544 – 5 มีนาคม 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ (2529 - 2531)
พรรคประชาชน (2531 - 2532)
พรรคชาติไทย (2532 - 2534)
พรรคความหวังใหม่ (2535 - 2544)
พรรคไทยรักไทย (2544 - 2550)
พรรคเพื่อไทย (2556 - 2561)[1]
พรรคไทยรักษาชาติ (2561 - 2562)
คู่สมรสจิราภรณ์ ฉายแสง (สกุลเดิม: เปี่ยมกมล)
ลายมือชื่อไฟล์:ลายเซ็น จาตุรนต์ ฉายแสง.png

จาตุรนต์ ฉายแสง (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2499) นักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองนายกรัฐมนตรี[2] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เขาได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารเอเชียวีคให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติเอเชียที่มีบทบาทโดดเด่นในศตวรรษที่ 20 เป็นอดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ[3]

ประวัติ

ภูมิหลังและการศึกษา

เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2498 ที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรคนโตของอนันต์ ฉายแสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉะเชิงเทรา และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับเฉลียว ฉายแสง

จาตุรนต์ศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้น เข้าเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะเรียนชั้นปีที่ 4 เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา มีการกวาดล้างผู้นำนักศึกษา ทำให้เขาไปใช้ชีวิตในป่าระยะหนึ่ง โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า "สหายสุภาพ" ภายหลังสถานการณ์คลี่คลายจึงกลับเข้าเมืองและตัดสินใจไปศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาตรี และปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่บัฟฟาโล สหรัฐอเมริกาและได้รับทุน Teaching ของมหาวิทยาลัยอเมริกัน สหรัฐอเมริกา เรียนต่อระดับปริญญาเอก จนสอบประมวลความรู้ (Comprehensive) แต่ไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ เนื่องจากกลับประเทศไทยเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 และได้รับการเลือกตั้ง

ครอบครัว

จาตุรนต์ ฉายแสงสมรสกับจิราภรณ์ ฉายแสง (สกุลเดิม "เปี่ยมกมล") อดีตเลขานุการหน้าห้องของพิศาล มูลศาสตร์สาทร ขณะดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยพิธีหมั้นระหว่างจาตุรนต์กับจิราภรณ์ มีขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2546 ที่สยามสมาคม

จาตุรนต์มีชื่อจีนว่า หลิว หง อวี่ เมื่อเริ่มศึกษาภาษาจีน และปี พ.ศ. 2551 เขาได้ออกซีดีเพลงจีนที่เขาร้องเอง[4]

บทบาททางการเมือง

จาตุรนต์ ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 ในนาม พรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ฉะเชิงเทราสมัยแรก และสมัยที่ 2 ในปี 2531 และได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน[5] ซึ่งนำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องกันมาโดยตลอด จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 จาตุรนต์ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549

ภายหลังรัฐประหาร ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จาตุรนต์ ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรครักษาการแทน[6]

หลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยด้วยมติเอกฉันท์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 แล้ว ซึ่งก่อนมีคำตัดสิน จาตุรนต์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีท่าทีว่าจะขอน้อมรับมติของศาล แต่หลังจากนั้นแล้ว จาตุรนต์ได้เดินทางไปที่ทำการพรรคและปราศรัยว่า เป็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำพิพากษาที่มาจากปากกระบอกปืน ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้าน คมช.[7][8]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 39[9]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม เขาถูกทหารควบคุมตัวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต โดยจาตุรนต์มิได้ขัดขืน ระหว่างการแถลงต่อผู้สื่อข่าว[10]

เขาเป็นบุคคลแรกที่ถูกไต่สวนในศาลทหารเนื่องจากไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช.[11] เขาถูกตั้ง 3 ข้อหา คือ ขัดคำสั่ง คสช., ยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องและให้ทำผิดกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116) และความผิดต่อความมั่นคงหรือก่อการร้ายตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ รวมมีโทษระวาง 14 ปี[12]เขาถูกจำคุกที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหนคร [13]ก่อนได้รับการปล่อยตัว ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตำแหน่ง

ตำแหน่งในพรรคการเมือง
  • ปี พ.ศ. 2535 - 2538 ดำรงตำแหน่ง โฆษกพรรคความหวังใหม่
  • ปี พ.ศ. 2540 - 2542 ดำรงตำแหน่งเป็น รองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่
  • ปี พ.ศ. 2542 - 2544 ได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรคความหวังใหม่
  • ปี พ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรค สังกัดพรรคไทยรักไทย
รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ
  • ปี พ.ศ. 2539 - 2540 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โดยเป็นการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรก ของนายจาตุรนต์ ฉายแสงในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[14]
  • ปี พ.ศ. 2544 เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปี พ.ศ. 2545
    • เดือนมีนาคม 2545 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[15]
    • เดือนตุลาคม 2545 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
  • ปี พ.ศ. 2548
อื่น ๆ
  • ประธานกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กยต.)
  • กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
  • รองประธานกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก
  • สมาชิกสมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เกียรติรางวัล

จากการทุ่มเททำงานและยึดมั่นในอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม ทำให้เขาได้รับรางวัลยกย่องจากองค์กรต่างๆ มากมาย เช่น

  • รางวัล "นักการเมืองมาตรฐานแห่งปี 2542” จากสมัชชา สสร.แห่งประเทศไทย
  • นิตยสารเอเชียวีค (Asia Week) จัดให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติในเอเชีย ที่มีบทบาทในศตวรรษที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2542
  • นิตยสารต่างประเทศยกย่องให้เป็น 1 ใน 4 ผู้นำรุ่นใหม่ของประเทศไทยในปีเดียวกัน
  • เป็นนักการเมืองคนที่ 4 ของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติจากรัฐบาลออสเตรเลีย เชิญเป็นแขกของรัฐบาลในฐานะนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ และทำประโยชน์ในสังคม เมื่อปี 2543
  • นักศึกษาเก่าดีเด่นจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2544[18]
  • รางวัล “ลี กวน ยิว” จากประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งนับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลนี้ (คนแรกคือ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในปี 2538)
  • The Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) มอบโล่เกียรติคุณในฐานะผู้ประสานการประชุมร่วมรัฐสภาอาเซียนกับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2546
  • รางวัล "บุคคลผู้มีอิทธิพลต่อสังคมไทย" (Thailand key's maker) ปี พ.ศ. 2546 จากการโหวตของประชาชนผ่านคลื่น 101 News Channel ด้วยผลงานการจัดระเบียบโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ เมื่อปี 2547

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. จาตุรนต์ โบกมือลาพรรคเพื่อไทย จ่อซบกับ ไทยรักษาชาติ
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  3. ทษช. ตั้งอ๋อยเป็นขงเบ้ง! ลั่นรัฐธรรมนูญไม่ได้ดีไซน์มาเพื่อเรา แต่เปิดช่องให้ “บิ๊กตู่”
  4. http://thai.cri.cn/1/2008/08/20/82s131794.htm
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  6. ไทยรัฐ, [1], 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
  7. ผู้จัดการ, “อ๋อย” โวย! ตัดสินไม่เป็นธรรม-ปลุกระดม ปชช.ต่อต้าน คมช.!, 31 พฤษภาคม 2550
  8. แนวหน้า, "จาตุรนต์" ลั่นยุบ ทรท.ไม่เป็นธรรม ชี้ตัดสินจากอำนาจเผด็จการ ลั่นพร้อมร่วมมือประชาชนโค่นระบอบทหาร, 31 พฤษภาคม 2550
  9. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  10. ทหารบุกรวบ"จาตุรนต์" แล้ว - เผยเจ้าตัวไปปาฐกถาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศฯ ตั้งใจยอมให้จับโดยดี
  11. "Chaturon arrested at FCCT". Bangkok Post. 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2014-05-27.
  12. "ศาลทหารให้ประกัน 'จาตุรนต์' เจอแจ้งผิดพ.ร.บ.คอมพ์เพิ่มรวม 3 ข้อหา โทษ 14 ปี". มติชน. 2014-06-20. สืบค้นเมื่อ 2014-06-27.
  13. จาตุรนต์ อยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 57ง 2 สิงหาคม 2548
  18. หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษาเก่าดีเด่นปีการศึกษา 2544 สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2562 0:30 น.
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒. ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า จาตุรนต์ ฉายแสง ถัดไป
เดช บุญ-หลง
ปองพล อดิเรกสาร
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 54)
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548)
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 60)
(30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย
อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 55)
(11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
วิจิตร ศรีสอ้าน
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย
(รักษาการ)

(2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550)
สมัคร สุนทรเวช
(ในตำแหน่ง หัวหน้าพรรคพลังประชาชน)