พิศาล มูลศาสตรสาทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พิศาล มูลศาสตร์สาทร)
พิศาล มูลศาสตรสาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน 2535 – 11 ธันวาคม 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าไพจิตร เอื้อทวีกุล
ถัดไปสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
17 กรกฎาคม 2538 – 27 มีนาคม 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ถัดไปประสงค์ บูรณ์พงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 พฤษภาคม พ.ศ. 2472
อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
เสียชีวิต27 มีนาคม พ.ศ. 2539 (66 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงมะลิ มูลศาสตรสาทร
บุตร5 คน

พิศาล มูลศาสตรสาทร (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2539) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และอดีตเลขาธิการพรรคความหวังใหม่

ประวัติ[แก้]

พิศาล มูลศาสตรสาทร เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของขุนมูลศาสตรสาทร (พงศ์ มูลศาสตรสาทร) กับนางผกา มูลศาสตรสาทร และเป็นพี่ชายแท้ของ นายพูนสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ (ส.ส.สุรินทร์) 7 สมัย สมรสกับ คุณหญิงมะลิ มูลศาสตรสาทร (สกุลเดิม สันติภพ) มีบุตร 5 คน รวมถึงเกียรติศักดิ์ มูลศาสตรสาทร อดีตรองผู้ว่าราชการหลายจังหวัด และ ทศพร มูลศาสตรสาทร อดีต ส.ส. สุรินทร์ 2 สมัย

พิศาล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2539 สิริอายุรวม 67 ปี

การทำงาน[แก้]

พิศาล มูลศาสตรสาทร รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จนได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด เช่น จังหวัดนครพนม, จังหวัดศรีสะเกษ ตำแหน่งสูงสุด คือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึงปี พ.ศ. 2532 รวมระยะเวลากว่า 8 ปี[1] ต่อมาจึงได้เข้ามาสู่วงการการเมืองและได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีถึง 2 สมัย คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[2][3] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

พิศาล มูลศาสตรสาทร ได้รับฉายาว่า "ปลัดฮิ" มาจากการที่เคยเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย จากบุคลลิกที่เป็นผู้ทำงานว่องไว ตอบสนองฝ่ายการเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการล้อคำโฆษณาทางโทรทัศน์ของโทรทัศน์สียี่ห้อ ฮิตาชิ ที่ว่า "เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ"[4]

นอกจากนั้นในทางการเมือง เขายังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปลัดทูลฉลองและปลัดกระทรวงมหาดไทยในอดีต[ลิงก์เสีย]
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  3. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[ลิงก์เสีย]
  4. อธิบดีฮิ “เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ” โดย วันชัย ตัน, มติชน: ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน 2548
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2022-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๑๙๕, ๖ เมษายน ๒๕๒๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๙, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๘๗ ง หน้า ๒๐๑๖, ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘