คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Medicine,
Chiang Mai University
ตราสัญลักษณ์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถาปนาคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
• 28 ตุลาคม พ.ศ. 2502 (63 ปี)
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• 16 มีนาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี)
คณบดีศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์[1]
ที่อยู่
110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
วารสารวารสารเชียงใหม่เวชสาร
สี███ สีเขียวใบไม้
มาสคอต
งูพันคบเพลิง
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ศูนย์ศรีพัฒน์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์
เว็บไซต์www.med.cmu.ac.th

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Medicine, Chiang Mai University) เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย[2] และได้รับการรับรองจากแพทยสภาและเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศ[3]ถัดจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีพันธกิจในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม เป็นสากล สร้างสรรค์งานวิจัยมาตรฐานสากล เพื่อชี้นำด้านสุขภาพ ให้บริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานระดับสากล[4]

สถานที่ตั้งปัจจุบันของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ เลขที่ 110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่(โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับตติยภูมิขั้นสูง Super Tertiary Care) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class) ประจำปี 2562[5] จากการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่ สนับสนุน และผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและการบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลกจะได้รับการประกาศเกียรติคุณด้วยรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งรางวัลคุณภาพแห่งชาติถือเป็นรางวัลระดับโลก (World Class) เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA)[6]

ประวัติ[แก้]

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีต้นกำเนิดมาจากการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2499 และพัฒนามาเป็น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์(มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) นับเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน

การจัดตั้งโรงเรียนแพทย์เกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการแพทย์ยังมีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทั้งประเทศมีโรงเรียนแพทย์อยู่เพียง 2 แห่ง และทางมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์เห็นว่าการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์จะเป็นการกระจายโอกาสด้านการศึกษาแพทย์ในท้องถิ่น ทำให้นักศึกษาแพทย์เกิดความรักในท้องถิ่น จึงเสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่ในพ.ศ. 2497 โดยได้ร่วมมือกับองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USOM) ช่วยเหลือจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งในด้านงบประมาณ อุปกรณ์การสอน และวิทยาการ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

หลังจากได้รับการอนุมัติจัดตั้งโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ก็ได้มีความเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ เมื่อมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้มีการโอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปเป็นคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2508 หลังจากที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีการก่อตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว

มีประวัติโดยสรุปดังนี้

  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ ตามที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้เสนอ
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2502 โอนโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ของกระทรวงสาธารณสุขมาสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • 28 ตุลาคม พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • 22 มกราคม พ.ศ. 2507 มีพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 24 มกราคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 16 มีนาคม พ.ศ. 2508 โอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[7]

อันดับโลก[แก้]

การจัดอันดับของ QS world university ranking by subject

ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2021

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 301 - 350 ของโลก[8]

- สาขา Medicine

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)

  • สาขาวิชาแพทยศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • กายวิภาคศาสตร์
  • จุลชีววิทยา
  • ชีวเคมี
  • ปรสิตวิทยา
  • พิษวิทยา
  • เภสัชวิทยา
  • ฟิสิกส์การแพทย์
  • สรีรวิทยา
  • ปรสิตวิทยา (นานาชาติ)
  • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (นานาชาติ)
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (นานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • กายวิภาคศาสตร์
  • จุลชีววิทยา
  • ชีวเคมี
  • นิติวิทยากระดูก
  • ปรสิตวิทยา
  • เภสัชวิทยา
  • ระบาดวิทยาคลินิก
  • สรีรวิทยา
  • กายวิภาคศาสตร์ (นานาชาติ)
  • ชีวเคมี (นานาชาติ)
  • ปรสิตวิทยา (นานาชาติ)
  • เภสัชวิทยา (นานาชาติ)
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (นานาชาติ)
  • เวชศาสตร์ชุมชน (นานาชาติ)
  • สรีรวิทยา (นานาชาติ)
  • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (นานาชาติ)

หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง

  • กุมารเวชศาสตร์
  • จักษุวิทยา
  • จิตเวชศาสตร์
  • พยาธิวิทยากายวิภาค
  • วิสัญญีวิทยา
  • รังสีวินิจฉัย
  • รังสีรักษา
  • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • เวชศาสตร์ครอบครัว
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  • ศัลยศาสตร์
  • สูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา
  • โสต ศอ นาสิกวิทยา
  • ออร์โธปิดิกส์
  • อายุรศาสตร์

หลักสูตรอื่นๆ[แก้]

หลักสูตรที่คณะต่าง ๆ ร่วมบริหารหลักสูตร[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หลักสูตรที่ร่วมสอนกับคณะอื่น[แก้]

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

หลักสูตรปริญญาคู่[แก้]

หลักสูตรปริญญาคู่ ร่วมกับ Graduate School of Medical Sciences, Kumamoto University, Japan

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาชีวเคมี (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาสรีรวิทยา (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาเภสัชวิทยา (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา

ทำเนียบคณบดี[แก้]

ทำเนียบคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
0. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชาร์ลส์ อี ริชาร์ดส์ พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2508
(รักษาการคณบดี คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์)[9]
1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2512
2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ระเบียบ ฤกษ์เกษม พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2515
3. ศาสตราจารย์ นาวาอากาศเอก นายแพทย์ ตะวัน กังวานพงศ์ พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2518
4. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชาญ สถาปนกุล พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2521
5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อาวุธ ศรีศุกรี พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2525
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ พิสิฏฐ์ โนตานนท์ พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529
7. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เตชะทัต เตชะเสน พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2533
8. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชาลี พรพัฒน์กุล พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2537
9. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำพล กลั่นกลิ่น พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2541
10. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยะ เนตรวิเชียร พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545
11. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุพจน์ วุฒิการณ์ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549
12. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2555
13. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ วัฒนา นาวาเจริญ พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2559
14. ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) นายแพทย์ บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

ภาควิชา-หน่วยงาน[แก้]

ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีภาควิชาทั้งสิ้น 22 ภาควิชา และหน่วยงานอีก 14 หน่วยงาน ดังต่อไปนี้[10]

ภาควิชา[แก้]

หน่วยงาน[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ดูบทความหลักที่ รายชื่อบุคคลจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์[แก้]

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6) ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสมทบที่ผลิตแพทย์ร่วมกับทางคณะอีก 2 โรงพยาบาล โดยได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก" ในโรงพยาบาลต่างๆ ที่ร่วมผลิตแพทย์ เพื่อเป็นหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอน และเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการบริการร่วมกับทางคณะ โดยมีดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ จังหวัด สังกัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง[แก้]

  1. รายนามผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. "ประวัติ - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่". web.med.cmu.ac.th.
  3. แพทยสภา. โรงเรียนแพทย์ภายในประเทศ ที่แพทยสภารับรอง เรียงลำดับ. 18 กุมภาพันธ์ 2565
  4. "วิสัยทัศน์/พันธกิจ - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่". web.med.cmu.ac.th.
  5. "ปี 2562". Thailand Quality Award สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-02-05.
  6. "ความเป็นมารางวัลคุณภาพแห่งชาติ". Thailand Quality Award สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. พระราชบัญญัติ โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ราชกิจจานุเบกษา หน้า 154 เล่ม 82 ตอน 26 วันที่ 30 มีนาคม 2508
  8. "QS World University Rankings by Subject 2021: Medicine". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).
  9. "Hall of fame". w2.med.cmu.ac.th.
  10. ภาควิชาและหน่วยงาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  11. นักศึกษาเก่าดีเด่นประจำปีการศึกษา 2554
  12. สมาคมศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  13. ข่าวหุ้นธุรกิจ. "RAM แต่งตั้ง "นพ.พิชญ"-"นพ.เอื้อชาติ" นั่งบอร์ดบริหาร มีผล 8 ม.ค. | ข่าวหุ้นธุรกิจ". LINE TODAY.
  14. "แพทยสภา :: The Medical Council of Thailand". tmc.or.th (ภาษาอังกฤษ).
  15. สมาคมศิษย์เก่าแพทย์เชียงใหม่
  16. "แพทย์สตรีดีเด่น 2562 แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ". www.tmwa.or.th.
  17. ครีเอทีฟ/ดีไซน์...จุดประกายธุรกิจ "สุวิน ไกรภูเบศ"
  18. เข้าใจให้ตรงกัน! "หมอลี่" ไม่ใช่แพทย์ประจำทีมชาติไทยนะครับทุกคน

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]