พลเดช ปิ่นประทีป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเดช ปิ่นประทีป
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ
คู่สมรสวณี ปิ่นประทีป

นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และอดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ชั่วคราว) กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[1] ใน รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ประวัติ[แก้]

พลเดช ปิ่นประทีป เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายเสงี่ยม กับนางกาญจนา ปิ่นประทีป[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต ระดับปริญญาโท แพทยศาสตร จากมหาวิทยาลัยมหิดล และวุฒิบัตรด้านเวชศาสตร์ แพทยสภา

พลเดช ปิ่นประทีป สมรสกับนางวณี ปิ่นประทีป (สกุลเดิม สุขอารมณ์) มีบุตรทั้งหมด 3 คน คือ พิชญา ตั้งปกรณ์ (พิชญา ปิ่นประทีป) , วศิน ปิ่นประทีป, สวรรยา ปิ่นประทีป

การทำงาน[แก้]

นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป รับราชการในกระทรวงสาธารณสุข และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลในจังหวัดพิษณุโลก ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมืองในตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) ซึ่งภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[3] ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อช่วยงานของไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง

หลังจากพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2551 เขาได้ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และ กรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

พลเดช ปิ่นประทีป ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และนำไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย [4]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พลเดช ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2559 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ[5]

ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข [6]

ใน พ.ศ. 2561 ได้ร่วมก่อตั้ง พรรคพลังประชารัฐ แต่นายแพทย์พลเดชขอเป็นเพียงผู้ก่อตั้ง ไม่ขอเป็นผู้บริหารพรรค และไม่ขอลงสมัคร ส.ส.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายพลเดช ปิ่นประทีป[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์, พลเดช ปิ่นประทีป, มรกต กรเกษม)
  4. "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  5. ‘หมอพลเดช’ เป็นเลขาธิการ สช.ต่อจาก ‘หมออำพล’ เริ่ม ก.ค.นี้
  6. ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
  7. ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘