ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าปรีดิยาธร เทวกุล
ถัดไปสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าวัฒนา เมืองสุข
ถัดไปสุธา ชันแสง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มีนาคม พ.ศ. 2484
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เสียชีวิต9 เมษายน พ.ศ. 2555 (71 ปี)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[1]
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (24 มีนาคม พ.ศ. 2484 — 9 เมษายน พ.ศ. 2555) อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ใน รัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และอดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสิน

ประวัติ[แก้]

นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เกิดวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2484 ที่ บ้านนาคู ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Hull สหราชอาณาจักร สมรสกับ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิกสภากาชาดไทย อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ นายพิชา วัฒนศิริธรรม (สมรสกับณัฎฐพร ทิตตยานนท์) และ นางชมพรรณ กุลนิเทศ (สมรสกับณัฐวุฒิ กุลนิเทศ)

นายไพบูลย์เคยทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นายไพบูลย์รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลชั่วคราวของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ [2] เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพิ่มอีกตำแหน่ง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550

นายไพบูลย์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน ขณะมีอายุได้ 71 ปี ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555[3] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ณ วัดธาตุทอง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

การศึกษาและวุฒิกิตติมศักดิ์[แก้]

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Hull ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2510 ต่อมาได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษาหลักสูตร SEANZA Central Banking Course ในปี พ.ศ. 2517 และหลักสูตร Australian Management College Mount Eliza : Advanced Management Course ในปี พ.ศ. 2521

ในปี พ.ศ. 2528 สำเร็จการศึกษาหลักสูตร Wharton School of Finance – Philadelphia National Bank : Advanced Management Program for Overseas Bankers ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ผ่านการศึกษาจาก Institute of Development Research : Asian NGO Leadership Fellows Program และ พ.ศ. 2539 สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 1

ไพบูลย์ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาเศรษฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในปี พ.ศ. 2545 และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการพัฒนาชุมชน) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2548

การทำงาน[แก้]

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เริ่มทำงานเป็นเจ้าหน้าที่และผู้บริหารในธนาคารแห่งประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2510 – พ.ศ. 2523 ต่อจากนั้นได้รับตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2525) เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยทนุ จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2531) เป็นผู้อำนวยการ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2540) และได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง การเคหะแห่งชาติ (พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2540)

ในปี พ.ศ. 2539 เป็นสมาชิกวุฒิสภา (มีนาคม พ.ศ. 2539[4] – มีนาคม พ.ศ. 2543) และในปี พ.ศ. 2540 เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (ธันวาคม พ.ศ. 2540 – ตุลาคม พ.ศ. 2543) จากนั้นจึงมารับตำแหน่งประธานกรรมการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2547 ) และเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สิงหาคม พ.ศ. 2544 – สิงหาคม พ.ศ. 2548)

การทำงานในคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ[แก้]

นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และนำไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "มะเร็งตับอ่อนคร่า'ไพบูลย์'วัย71ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-04-09.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
  3. พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ "ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม" 5โมงเย็นวันนี้ วัดธาตุทอง
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  5. "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  6. ราชกิจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2550 เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 124 ตอนที่ 18ข วันที่ 5 ธันวาคม 2550

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ถัดไป
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายสังคม

(7 มีนาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
สหัส บัณฑิตกุล