มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย | |
---|---|
Loei Rajabhat University | |
![]() | |
ชื่อย่อ | มรล. / LRU |
สถาปนา | 29 กันยายน พ.ศ. 2516 (46 ปี) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชาว์ อินใย[1] |
นายกสภาฯ | ดร.สุชาติ เมืองแก้ว |
จำนวนผู้ศึกษา | 12,316 คน |
ที่ตั้ง | ศูนย์หลัก 234 ถนนเลย-เชียงคาน ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 17°32′19″N 101°43′27″E / 17.538617°N 101.724268°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 17°32′19″N 101°43′27″E / 17.538617°N 101.724268°E
|
ชื่อเดิม | วิทยาลัยครูเลย Loei Teacher College |
สีประจำสถาบัน | ██████ สีฟ้า-สีชมพู |
เพลง | มาร์ชมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
เว็บไซต์ | www.lru.ac.th |
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (อังกฤษ: Loei Rajabhat University) เป็นสถาบันอุดมศึกษา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 เดิมมีฐานะเป็น "วิทยาลัยครูเลย" เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยใช้เงินงบประมาณโครงการเงินยืมจากธนาคารโลก มีพื้นที่ประมาณ 323 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณทุ่งขุมทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยและร่วมกับพื้นที่ของชาวบ้าน อยู่ห่างจากจังหวัดเลยประมาณ 5 กิโลเมตร ตามเส้นทาง 201 เลย-เชียงคาน เริ่มรับนักศึกษาเมื่อ ปี พ.ศ. 2519 ชั้น ปกศ. และ ปกศ.สูง ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
- พ.ศ. 2519 เริ่มรับนักศึกษาชั้น ประกาศนียบัตร และ ประกาศนียบัตรชั้นสูง เมื่อ พ.ศ. 2520 ได้ยกฐานะเป็น "วิทยาลัยครู" ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 สามารถเปิดสอนได้ในระดับปริญญาตรีทางครู (คบ.) โดยเปิดสอน ครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี ในปี พ.ศ. 2521 และได้ขยายจำนวนมากขึ้น ในปีต่อ ๆ มาทั้งในภาคปกติและภาค อคป.
- พ.ศ. 2528 เริ่มเปิดการศึกษาในสาขาที่ไม่ใช่ครู 2 สาย คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต และ วิทยาศาสตรบัณฑิต ถึงระดับปริญญาตรี (ตาม พ.ร.บ. วิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2527) ได้ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นในปีต่อมา และได้เปลี่ยนการศึกษานอกเวลา จาก อคป. เป็น กศ.บป.
- พ.ศ. 2า538 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏขึ้น และได้เปลี่ยนชื่อจาก "วิทยาลัยครู" เป็น "สถาบันราชภัฏ" ซึ่งเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าระดับปริญญาตรีได้ ปี พ.ศ. 2540 ได้เริ่มเปิดสอนปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาทั้งภาคปกติและภาคพิเศษและได้เปิดสาขาไทยศึกษา เพื่อการพัฒนา และสาขาการบริหารเพื่อการศึกษาในปีถัดมาตามลำดับ
- พ.ศ. 2541 ได้จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยเปิดสอนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยเป็นโครงการเพื่อการร่วมมือระหว่างสถาบันราชภัฏเลยกับจังหวัดเลย และเปิดรับนักศึกษาในโปรแกร ปี พ.ศ. 2542 จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยเปิดสอนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรไทยศึกษา ศึกษาเพื่อการพัฒนารุ่นที่ 1 และเปิดรับนักศึกษาใน โปรแกรมวิชาที่เปิดใหม่ทั้งระดับปริญญาตรี 4 ปี , ระดับปริญญาตรี 2 ปี และระดับอนุปริญญา ปี พ.ศ. 2543 จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยเปิดสอนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรการบริหารการศึกษารุ่นที่ 1 และเปิดรับนักศึกษาในโปรแกรมวิชาที่เปิดใหม่ทั้งระดับปริญญาตรี 4 ปี , ระดับปริญญา 2 ปี และระดับอนุปริญญา ปี พ.ศ. 2544 ได้เปิดศูนย์โครงการจัดการศึกษา เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ท้องถิ่น (กศ.อท.) สำหรับจัดการศึกษาในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ อ.ชุมแพ จ. ขอนแก่น โดยเปิดสอนในสาขาวิชาการศึกษา , ระดับปริญญาตรี 2 ปี , ระดับปริญญาตรี 4 ปี , และระดับปริญญา 2 ปี มวิชาที่เปิดใหม่ทั้งระดับปริญญาตรี 4 ปี , ระดับปริญญาตรี 2 ปี และระดับอนุปริญญา
- 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไป และได้เปลี่ยนชื่อจาก “ สถาบันราชภัฏเลย ” เป็น “ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย “ ชื่อภาษาอังกฤษ “ Loei Rajabhat University ”
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
ลักษณะตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานให้แก่กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า "LOEI RAJABHAT UNIVERSITY" ภายใต้วงรีด้านในมีตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุหรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตาฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน
- สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “ราชภัฏ”
- สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งอยู่ในแหล่งธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม
- สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญา
- สีส้ม แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
- สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หน่วยงานในมหาวิทยาลัย[แก้]
- สำนักงานอธิการบดี
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
- กองนโยบายและแผน
- กองพัฒนานักศึกษา
- สำนักงานส่งเสริมวิชาการ
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศ
- สำนักศิลปและวัฒนธรรม
- งานประกันคุณภาพ
- งานประชาสัมพันธ์
- งานกิจการพิเศษและสิทธิประโยชน์
คณะวิชา[แก้]
หลักสูตรหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ)
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)
ภาควิชามนุษย์ศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
ภาควิชาสังคมศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
|
โครงการจัดตั้งคณะวิชา[แก้]
การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ[แก้]
ระดับปริญญาตรี[แก้]
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ระบบ Admission กลาง โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-Net) โดยจะนำผลการทดสอบดังกล่าวมาเลือกคณะและสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการโดยผ่านทางการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- ระบบรับตรง (โควตา) มหาวิทยาลัยดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร สุรินทร์ ศรีสะเกษ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี
- โครงการพิเศษ
- เว็บไซต์การรับบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยในระดับปริญญาตรี คลิกที่นี่
ระดับปริญญาโท[แก้]
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทดังนี้
- การสอบคัดเลือก เป็นการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง
- การคัดเลือก เป็นการคัดเลือกครูประจำการที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อน
ระดับปริญญาเอก[แก้]
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาต่างๆ โดยการพิจารณาของมหาวิทยาลัย หรือสามารถสมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยได้
ศูนย์การศึกษา[แก้]
โรงเรียน[แก้]
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (แผนกมัธยมศึกษา)
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (แผนกประถมศึกษา)
สำนัก/ศูนย์/สถาบัน/ฝ่าย[แก้]
- ศูนย์คอมพิวเตอร์
- ศูนย์วิทยาศาสตร์
- ศูนย์ประสานงาน กศ.บ.ป
- ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา
- ศูนย์ภาษา
- ศูนย์วิทยบริการ
- ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
- สำนักงานคณาจารย์และข้าราชการ
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
- เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย เขต 3
- นันทนา ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย เขต 2
- ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
- ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
- เว็บไซต์วาไรตี้แหล่งรวมข้อมมูลข่าวสารของจังหวัดเลย
อ้างอิง[แก้]
|
|