อำเภอเมืองมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเมืองมหาสารคาม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Maha Sarakham
โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คำขวัญ: 
การศึกษาเลิศล้ำ ศิลปกรรมปรางค์กู่
ทัศนาลัยรุกขเวช วิเศษแก่งเลิงจาน
เชิดชูวัฒนธรรมไทย งามวิไลอุทยานมัจฉา
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอเมืองมหาสารคาม
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอเมืองมหาสารคาม
พิกัด: 16°11′3″N 103°18′4″E / 16.18417°N 103.30111°E / 16.18417; 103.30111
ประเทศ ไทย
จังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด556.7 ตร.กม. (214.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด154,562 คน
 • ความหนาแน่น277.64 คน/ตร.กม. (719.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 44000
รหัสภูมิศาสตร์4401
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองมหาสารคาม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม เป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดและที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจังหวัด รองจาก อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอบรบือ และอำเภอวาปีปทุม เป็นอำเภอศูนย์กลางทางการปกครอง การคมนาคม การศึกษา การแพทย์ อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของจังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเมืองมหาสารคามตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

อำเภอเมืองมหาสารคาม ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2443 หลังจากที่ตั้งเมือง (จังหวัด) มหาสารคามแล้ว 36 ปี ระยะเริ่มแรกมีลักษณะเป็นอำเภอแฝด คือด้านตะวันออก เรียกว่า อำเภออุทัยสารคาม ด้านตะวันตก เรียกว่า อำเภอประจิมสารคาม

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเมืองมหาสารคามแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 185 หมู่บ้าน

1. ตลาด (Talat) 8. แก่งเลิงจาน (Kaeng Loeng Chan)
2. เขวา (Khwao) 9. ท่าสองคอน (Tha Song Khon)
3. ท่าตูม (Tha Tum) 10. ลาดพัฒนา (Lat Phatthana)
4. แวงน่าง (Waeng Nang) 11. หนองปลิง (Nong Pling)
5. โคกก่อ (Khok Ko) 12. ห้วยแอ่ง (Huai Aeng)
6. ดอนหว่าน (Don Wan) 13. หนองโน (Nong No)
7. เกิ้ง (Koeng) 14. บัวค้อ (Bua Kho)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอเมืองมหาสารคามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองมหาสารคาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลแวงน่าง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแวงน่าง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขวาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตูมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแวงน่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแวงน่าง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแวงน่าง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกก่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนหว่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนหว่านทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกิ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งเลิงจานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสองคอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดพัฒนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแอ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแอ่งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบัวค้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวค้อทั้งตำบล

สถานศึกษา[แก้]

สถานพยาบาล[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน[แก้]

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จัดแสดงความเป็นมาของศิลปะอีสาน รวมถึงศิลปหัตถกรรม วรรณคดีอีสานประเภทใบลานซึ่งหาชมได้ยาก ภาพสไลด์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสาน[1]

บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง[แก้]

บ้านหนองเขื่อนช้าง ตั้งอยู่ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมที่สำคัญของจังหวัด มีชื่อเสียงเรื่องการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย ชาวบ้านแทบทุกครัวเรือนทอผ้าเป็นสินค้าพื้นเมืองที่มีคุณภาพดีและราคาย่อมเยา ผลผลิตหัตถกรรมของบ้านหนองเขื่อนช้าง ได้แก่ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เสื้อ กางเกงขาก๊วย หมอนขิด กระเป๋า ย่าม เป็นต้น [1]

พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามการปั้นหม้อ[แก้]

บ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม มีชาวบ้านทำอาชีพปั้นหม้อดินเผา ซึ่งชาวอีสานใช้ใส่น้ำและเป็นภาชนะในการปรุงอาหาร

แต่เดิมชาวบ้านหม้อส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดนครราชสีมา มีอาชีพปั้นหม้อเป็นหลัก (ทำนาเป็นอาชีพรอง) การปั้นหม้อดินของบ้านหม้อนี้เป็นปั้นหม้อโดยใช้ประโยชน์จากหนองน้ำใกล้หมู่บ้าน เรียกว่า หนองเบ็น ใช้กรรมวิธีแบบดั้งเดิมด้วยการนำดินมาขึ้นรูปปากหม้อก่อน แล้วใช้ความชำนาญของมือและเข่าหมุนวนเพื่อขดปากหม้อให้กลมโดยไม่ต้องใช้แป้นหมุน ใช้ไม้แบนตีด้านนอก อีกมือหนึ่งใช้หินดุ (ดินเผารูปโค้งมน) ดุนไว้ภายในหม้อ ตีผิวให้ได้ความหนาสม่ำเสมอจนจดก้นหม้อ ขัดผิวให้เรียบด้วยน้ำโคลนเหลว จากนั้นก็ผึ่งลม 2-3 วัน แล้วจึงนำไปเผา นอกจากหม้อดินแล้ว บ้านหม้อยังมีเครื่องปั้นดินเผาชนิดตุ่มน้ำ กาน้ำ และเตา[1]

สถานที่สำคัญอื่น[แก้]

การคมนาคม[แก้]

การขนส่งระหว่างอำเภอและระหว่างจังหวัด มีรถโดยสารประจำทางวิ่งให้บริการหลายสาย ด้วยความที่มหาสารคามเป็นทางผ่านไปหลายจังหวัด จึงทำให้มีรถโดยสารจำนวนมาก การขนส่งภายในเมือง มีรถสองแถว รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสามล้อ และรถแท็กซี่มิเตอร์ให้บริการ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "อำเภอเมืองสารคาม". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-24. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |year= (help)