มหาวิทยาลัยมคธ
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
มหาวิทยาลัยมคธ (Magadh University) | |
---|---|
![]() | |
สถาปนา | 1962 |
ประเภท | รัฐ |
ที่ตั้ง | พุทธคยา, รัฐพิหาร, ประเทศอินเดีย |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
วิทยาเขต | ชนบท |
เครือข่าย | UGC |
เว็บไซต์ | http://www.magadhuniversity.ac.in/ |
มหาวิทยาลัยมคธ (อังกฤษ: Magadh University) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาล อยู่ในเมืองโพธิคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติมหาวิทยาลัยแห่งรัฐพิหาร พ.ศ. 2519 ทั้งนี้ โดยพฤตินัยแล้วมหาวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2505 โดยนายสัตเยนทรา นารายัณ สิงห์ (อังกฤษ: Satyendra Narayan Singha) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของอินเดีย มีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนา มหาวิทยาลัยเปิดทำการครั้งแรกในวันที่ 2 มีนาคม ปีก่อตั้งนั้นเอง ปัจจุบัน จัดการเรียนการสอนในสาขาเศรษฐศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ คอมพิวเตอร์ศึกษา วิทยาการคอมพิวเตอร์ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และบริหารศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง[แก้]
มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ดังนี้
- เป็นสถานที่อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งพระพุทธศาสนา
- เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม
- เป็นศูนย์รวมของชาวพุทธผู้มาแสวงบุญทั่วโลก
ประวัติ[แก้]
เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2505 หรือ ค.ศ. 1962 มีท่าน สารวปัลลี เรธะ ขิสษานัน (Sarvapalli Redha Khisshanan) ขณะดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของประเทศอินเดีย เป็นผู้มาวางศิลาฤกษ์ และมี ดร. เค เค ทุตตะ (Dr. K. K. Dutta) ผู้มีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์โลก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดีท่านแรก ในระยะแรกได้ดำเนินงานด้านการศึกษา 7 ภาควิชา 2 วิทยาเขต และ 27 วิทยาลัยในเครือข่ายเท่านั้น มหาวิทยาลัยมคธเป็นสถานที่ที่ดึงดูดนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาได้ดี ทั้งชาวอินเดียและชาวต่างประเทศ ในปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ มีวิทยาเขตถึง 45 แห่ง และวิทยาลัยในเครือข่ายอีก 96 แห่ง นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัยทางแพทยศาสตร์อีก 2 แห่ง วิทยาลัยทางวิศวกรรมศาสตร์อีก 2 แห่ง มีพื้นที่ก่อสร้างของมหาวิทยาลัยทั้งหมดประมาณ 500 เอเคอร์ หรือประมาณ 1,250 ไร่ มหาวิทยาลัยมคธนับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย และเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาลอินเดีย และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจำนวนมากกว่า 300 คน โดยคณะสังคมศาสตร์ (Social Sciences) เป็นคณะที่มีนักศึกษาไทยมากที่สุด
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2010 มีคนไทยที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปี 2007-2010 เข้าพิธีรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยมคธ จำนวน 31 คน [1]
ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง[แก้]
- ร.ท.ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาศาสนศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน
- รศ.ดร.วันชัย พลเมืองดี ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา[2]
- ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ บุณฑริก อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี [3]
- ผศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ ภาควิชาพุทธศาสนา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
- ผศ.ดร.เดชา ใจกลาง ภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ดร.จารุวรรณ พึ่งเทียร คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ผศ.ดร.พระมหาสมศักดิ์ ญาณโพโธ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ผศ.ดร.ธวัช หอมทวนลม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ผศ.ดร.อารีย์ นัยพินิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ดร.พจน์ พจนพาณิชย์กุล อาจารย์พิเศษคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำหง
- ดร.ฑิฏิวุฒิ ศรีมานพ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
- รศ.ดร.มานพ นักการเรียน ภาควิชาพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย[4]
- ผศ.ดร.นฤมล มารคแมน ภาควิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผศ.ดร.ศิลป์ ราศรี สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม[5]
- ผศ.ดร.สุธี แก้วเขียว ผู้ช่วยอธิการบดี สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร [6]
- ดร.สุพิชชา ชูวงษ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม [7]
- ดร.เจษฎา ธรรมวณิช สาขาวิชาธุรกิจดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล[8]
- ศ.ดร.เดือน คำดี ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[9]
- ผศ.ดร.สุรสิทธิ์ ไทยรัตน์ค ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[10]
- ดร.ลุยง วีระนาวิน ประธานสาขาวิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร[11]
- รศ.ดร.ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ศ.ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[12]
- ดร.วิชัย รูปขำดี คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[13]
- ศ.ดร.ประยงค์ แสนบุราณ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[14]
- รศ.ดร.ฉันทนา กล่อมจิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[15]
- ดร.วีระกุล ชายผา รัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[16]
- รศ.ดร.วิทยา จันทร์ศิลา ประธานสภาอาจารย์ ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร[17]
- ดร.จิระทัศน์ ชิตทรงสวัสดิ์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[18]
- ดร.อารีย์ กุดแถลง สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยนครพนม
- ผศ.ดร.จำลอง ชูโต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา [19]
- ดร.ศรีธน นันตาลิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- ผศ.ดร.ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล หลักสูตรปริญญาเอกเอเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร [20]
- ดร.สุธี แก้วเขียว หลักสูตรปริญญาเอกเอเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร [21]
- รศ.ดร.ทองหล่อ วงษ์ธรรมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร [22]
- รศ.ดร.สุจิตรา (อ่อนค้อม) รณรื่น คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี[23]
- รศ.ดร.เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ หัวหน้าโปรแกรมจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต [24]
- พ.ท.หญิง ดร.อภันตรี ทองเนียม หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [25]
- ดร.มงคล สมกิตติกานนท์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา [26]
- ดร.สุรพงษ์ รัตนโคตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ [27]
- รศ.ดร.อารมย์ สนานภู่ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
- ดร.วาสนา (นวะบุศย์) วงศ์ยิ้มย่อง ภาควิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา[28]
- รศ.ดร.นิรุต ถึงนาค อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[29]
- ผศ.ดร.อรุณี จันทร์ศิลา ประธานสาขาวิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[30]
- ดร.ประจัญ จันเติบ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[31]
- ดร.จรัญ สายปิ่น สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย [32]
- ผศ.ดร.อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐผู้ช่วยอธิการบดี /คณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
- ผศ.ดร.ประสิทธิ์ กุลบุญญา สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี [33]
- ผศ.ดร.ดำรงพล ดอกบัว ผู้รับใบอนุญาต/ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเวียงพณิชยการ
- พระครูวิศิษฐ์ธรรมวงศ์ ดร. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย หน.ศูนย์จังหวัดศรีสะเกษ
- ผศ.ดร.ธรรมรักษ์ เรืองจรัส หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม[34]
- จ.ส.ต.ดร.มณเธียร โอทองคำ รองคณบดี คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ [35]
- รศ.ดร.สุจิระ ขอจิตต์เมตต์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี [36]
- ผศ.พ.ต.อ.ดร.เอนก อะนันทวรรณ คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ [37]
- ผศ.ดร.กุณฑล ทองศรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี [38]
- ดร.จารุกิตติ์ พิริยสุวัฒน์ ผู้อำนวยการหลักสูตร พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์เลย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พระครูนิเทศก์ธรรมคุณ ดร. เจ้าคณะอำเภอโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.magadhuniversity.org/convocation-20th-20-12-2010/index.html#65
- ↑ http://www.rmutt.ac.th/
- ↑ http://www.ubru.ac.th/council/p-chaiwat.html
- ↑ www.src.ac.th
- ↑ www.youtube.com/watch?v=8zZbqsRSPn4
- ↑ https://human.pnru.ac.th/
- ↑ www.siam.edu/siamedu_liberalarts/images/stories/.../name_list.pdf
- ↑ http://www.music.mahidol.ac.th/th/faculty/instructor_profile.php?id=261[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-03-28. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2011-09-13. สืบค้นเมื่อ 2011-10-21.
- ↑ www.educ.su.ac.th/index.php
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-12-07. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
- ↑ http://ssde.nida.ac.th/SD-Teachingstaff/Dr.VICHAI.htm[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://ora.kku.ac.th/res_kku/Expertise/PersonView.asp?QID=7176
- ↑ http://ora.kku.ac.th/res_kku/Expertise/PersonView.asp?QID=7176
- ↑ http://www.polsci.kku.ac.th/teacher_weerakul.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://gotoknow.org/blog/vithayaj
- ↑ http://admit.msu.ac.th/gsmis2/5s/advinfo.php?sr=3045[ลิงก์เสีย]
- ↑ www.nmc.ac.th
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-08-07. สืบค้นเมื่อ 2011-10-21.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-08-07. สืบค้นเมื่อ 2011-10-21.
- ↑ gotoknow.org/blog/magadh01/425112
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-10-09. สืบค้นเมื่อ 2010-09-18.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-09-23. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
- ↑ www.apuntree.com/base/?p=1
- ↑ http://web.bsru.ac.th/~humannity/Teacher.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ www.vru.ac.th
- ↑ http://www.human.nrru.ac.th/Program/personal/wasana.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://edurmu.org/index.php?option=com_content&view=article&id=97:-m-m-s&catid=37:2008-08-05-03-10-48&Itemid=63
- ↑ http://science.rmu.ac.th/scweb/index.php?option=com_content&view=article&id=91&Itemid=248[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-01-09. สืบค้นเมื่อ 2011-10-21.
- ↑ www.lru.ac.th/html/index.php
- ↑ http://www.ubru.ac.th/council/p-chaiwat.html
- ↑ http://grad.siamtechu.net/major-mpa-teacher.php
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2015-08-12. สืบค้นเมื่อ 2015-08-12.
- ↑ http://www.rmutt.ac.th/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2015-03-10. สืบค้นเมื่อ 2015-08-12.
- ↑ http://www.rmutt.ac.th/
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- http://www.magadhuniversity.org/ เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมคธ
- http://www.magadh-phd.org Archived 2011-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน / เว็บไซต์ของสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมคธ