ข้ามไปเนื้อหา

อนุทิน ชาญวีรกูล

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อนุทิน ชาญวีรกูล
อนุทิน ใน พ.ศ. 2566
รองนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 132 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พ.ศ. 2562–2566)
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พ.ศ. 2562–2563)
วิษณุ เครืองาม (พ.ศ. 2562–2566)
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พ.ศ. 2562–2566)
ดอน ปรมัตถ์วินัย (พ.ศ. 2563–2566)
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ (พ.ศ.2563–2566)
ภูมิธรรม เวชยชัย (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน)
สมศักดิ์ เทพสุทิน (พ.ศ. 2566–2567)
ปานปรีย์ พหิทธานุกร (พ.ศ. 2566–2567)
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ (พ.ศ. 2566–2567)
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน)
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน)
พิชัย ชุณหวชิร (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน)
ประเสริฐ จันทรรวงทอง (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
เศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
ประจิน จั่นตอง
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(1 ปี 79 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยเกรียง กัลป์ตินันท์
(2566 – 2567)
ชาดา ไทยเศรษฐ์
(2566 – 2567)
ทรงศักดิ์ ทองศรี
ซาบีดา ไทยเศรษฐ์
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
ก่อนหน้าอนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 53 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีช่วยสาธิต ปิตุเตชะ
ก่อนหน้าปิยะสกล สกลสัตยาทร
ถัดไปชลน่าน ศรีแก้ว
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(0 ปี 98 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
ก่อนหน้าสิริกร มณีรินทร์
ถัดไปสุชัย เจริญรัตนกุล
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 192 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการสุชัย เจริญรัตนกุล
ก่อนหน้าสุชัย เจริญรัตนกุล
ถัดไปมรกต กรเกษม
วัลลภ ไทยเหนือ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(0 ปี 157 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการอดิศัย โพธารามิก
ก่อนหน้าพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ถัดไปสุริยา ลาภวิสุทธิสิน
หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
(12 ปี 36 วัน)
ก่อนหน้าชวรัตน์ ชาญวีรกูล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 240 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 กันยายน พ.ศ. 2509 (58 ปี)
จังหวัดพระนคร​ ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2544–2550)
ภูมิใจไทย (2555–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสนองนุช วัฒนวรางกูร (หย่า)
ศศิธร จันทรสมบูรณ์ (หย่า)
วธนนนท์ นิรามิษ
บุตร2 คน
บุพการี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮอฟสตรา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทรัพย์สินสุทธิ4,198 ล้านบาท (พ.ศ. 2562)
ลายมือชื่อ

อนุทิน ชาญวีรกูล ท.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ง.ภ. (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น หนู เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เคยถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย

ประวัติ

อนุทินเกิดที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า "หนู" ที่สื่อมวลชนนิยมเรียกกัน​ว่า "เสี่ยหนู" ต่อมาสื่อมวลชนได้เรียกเป็น “หมอหนู[2]” ในช่วงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเขาเป็นบุตรคนโตของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผู้ก่อตั้ง บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น อนุทินสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ และระดับอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮอฟสตรา (Hofstra University)​ รัฐนิวยอร์กสหรัฐ​ เมื่อปี พ.ศ. 2532 และจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Mini MBA) เมื่อปี พ.ศ. 2533[3]

ชีวิตส่วนตัว สมรสครั้งแรกกับสนองนุช (สกุลเดิม วัฒนวรางกูร) เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีบุตร 2 คน คือ นัยน์ภัค และเศรณี ชาญวีรกูล[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 เขาได้หย่ากับสนองนุช และสมรสใหม่กับศศิธร (สกุลเดิม จันทรสมบูรณ์) รองกรรมการผู้จัดการ แรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ท แอนด์ คันทรีคลับ ปากช่อง[5][6] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 อนุทินได้หย่ากับศศิธร[7] อีกสามปีต่อมาเขาเปิดตัวสุภานัน นิรามิษ (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วธนนนท์"[8]) ซึ่งเป็นคู่รักคนปัจจุบัน[9] เขามีความชื่นชอบส่วนตัวคือ สะสมพระเครื่อง[10]

ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567 เขาได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นนายกองใหญ่ให้แก่อนุทิน ในฐานะเป็นผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดนจากการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[11] และเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 สถาบันพระบรมราชชนกได้มอบปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่อนุทิน

บทบาททางการเมือง

พ.ศ. 2539 เข้าสู่วงการการเมืองโดยการรับตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ประจวบ ไชยสาส์น) และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2548) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2547) ต่อมาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย

หลังจากพ้นกำหนดการตัดสิทธิทางการเมืองในปี พ.ศ. 2555 เขาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ที่ในขณะนั้นมีหัวหน้าพรรคคือชวรัตน์ ชาญวีรกูล ผู้เป็นบิดาที่ย้ายมาจากพรรคพลังประชาชนร่วมกับกลุ่มเพื่อนเนวิน และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม อนุทินได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคต่อจากบิดา[12]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1[13] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[14] สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอชื่อต่อรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลังการเลือกตั้ง อนุทินและพรรคภูมิใจไทยได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ และสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นสมัยที่ 2 โดยเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และดำรงตำแหน่งประธานสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขไปโดยปริยาย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอชื่อต่อรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และหลังการเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทยประกาศไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคแกนนำหรือพรรคร่วมใด ๆ ที่มีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[15][16] แต่ก็จะไม่จัดตั้งหรือสนับสนุนรัฐบาลเสียงข้างน้อยเช่นเดียวกัน[17] ต่อมาเมื่อพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคภูมิใจไทยจึงเข้าร่วมรัฐบาล จากนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย[18] จนทำให้ปลายปีผู้สื่อข่าวสายทำเนียบตั้งฉายาให้ว่ารัฐบาล "แกงส้มผักรวม" สื่อความหมายถึง การฉีก บันทึกความเข้าใจ (MOU) ล้มพรรคส้ม (ก้าวไกล) ในการเป็นรัฐบาล แล้วมารวมกับภูมิใจไทยตั้งรัฐบาลแทน[19]

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สัมภาษณ์เชิงตำหนิบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่รักษาโควิด-19[20] ซึ่งต่อมาเจ้าตัวได้ออกมาชี้แจงในวันเดียวกัน[21] อีกทั้งยังเคยมีมุมมองส่วนตัวต่อโรคดังกล่าวว่าเป็นเหมือนโรคหวัด[22] ซึ่งต่อมาการระบาดของโควิด-19 กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วทั้งประเทศ เขาได้ร่วมแถลงข่าวกับคณะแพทย์จนปรากฏภาพการร้องไห้ออกมา และเผยต่อสื่อว่า ขอให้เชื่อมั่นจะไม่ทำให้ผิดหวัง[23]

ต่อมาในวาระเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เขาได้กล่าวว่า "ผมเป็นคนทำงานวันนี้ สั่งงานวันนี้ ต้องเสร็จเมื่อวาน เพราะงั้นก็ขอให้ทุกคนได้มีความมั่นใจ" [24] จึงทำให้วลีดังกล่าวเป็นกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ วันต่อมาในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว เขามอบหมายให้ ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้คัดกรองบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในส่วนท้องถิ่น[25] ทั้งนี้ ชาดาเคยถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จับตามองในฐานะผู้มีอิทธิพล[26] และเคยถูกเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามคำสั่ง คสช. ตรวจค้นบ้านของเขาในปี พ.ศ. 2560[27]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อนุทิน ชาญวีรกูล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ[28] ดังนี้

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๒๓, ๑ เมษายน ๒๕๖๔
  2. ""หมอหนู" อนุทิน ชาญวีรกูล ขุนศึกปราบไวรัสโคโรนา กลางสมรภูมิการเมืองและข่าวปลอม". สยามรัฐ. 2020-02-01.
  3. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Mini MBA)
  4. "ชีวิตที่ต้องพิสูจน์ตัวเอง 'เป๊ก เศรณี ชาญวีรกูล' หนุ่มหล่อทายาทนักการเมือง". มติชนออนไลน์. 2018-09-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "คู่รักคู่ร้าง ขาเตียงแยกแอบแซบเวอร์ ปิดฉากรักฉบับไฮโซ". mgronline.com. 2013-12-30.
  6. "อนุทินรักจริงแต่งใหม่". www.thairath.co.th. 2013-09-20.
  7. "ส่องทรัพย์สิน'เสี่ยหนู-อนุทิน'จ่ายค่าหย่า'ภรรยา'50 ล.-พอร์ตหุ้นซิโน-ไทยฯ 1.7 พันล". สำนักข่าวอิศรา. 2019-08-22.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. อนุทินอัพเดตทรัพย์สินภรรยาคนที่ 3 “วธนนนท์” ค้างค่าหย่าภรรยาคนที่ 2
  9. "เปิดวาร์ป 'จ๋า สุภานัน' รักครั้งใหม่ของ 'อนุทิน' หลังซุ่มปลูกต้นรักนาน2ปี". เดลินิวส์.
  10. อนุทินมีความชื่นชอบส่วนตัวคือ สะสมพระเครื่อง[ลิงก์เสีย]
  11. โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นกรณีพิเศษแก่ “อนุทิน-เกรียง-ชาดา”
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๔๘ ง หน้า ๖๔, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๓๑, ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๓, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  15. "ภูมิใจไทย แถลงไม่ยกมือให้พรรคแก้ ม.112 ลั่นไม่แคร์โซเชียลกดดัน". สนุก.คอม. 2023-05-17. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. ""อนุทิน" ประกาศชัดไม่ร่วมรัฐบาลที่มีก้าวไกล เหตุผลักดันแก้ 112 แบบแข็งกร้าว". ไทยรัฐ. 2023-07-21. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. ""อนุทิน"ยัน ภท.ไม่คิดตั้งรัฐบาลแข่ง ย้ำจุดยืนไม่หนุนรัฐบาลเสียงข้างน้อย-ไม่ร่วมวงพรรคแตะ ม.112". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-07-20. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
  19. S, Nateetorn (2023-12-26). "'อนุทิน' ร้องอุ๊ยดีใจ ปีนี้นักข่าวไม่ได้ตั้งฉายาให้ ยอมรับแปลกใจ". Thaiger ข่าวไทย.
  20. "ด่วน!ชัดเจน "อนุทิน" พูดถึงบุคลากรการแพทย์ ป่วยโควิด-19". คมชัดลึกออนไลน์. 2020-03-26.
  21. ""อนุทิน"อัดคลิปขอโทษ "หมอ-พยาบาล" ยันไม่มีเจตนาตำหนิ". posttoday.com. 2020-03-26.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. ""อนุทิน" เผยส่วนตัวมองไวรัสโคโรนา เป็นโรคหวัดโรคนึง มั่นใจไทยคุมอยู่ ขอปชช.ฟังข้อมูลรัฐ". workpointTODAY. 26 Jan 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. ""อนุทิน" หลั่งน้ำตา ขอคนเชื่อมั่น-จะไม่ทำให้ผิดหวัง". Thai PBS. 2020-03-21.
  24. ""สั่งงานวันนี้ เอาเมื่อวาน" วลีกระแทกใจวัยทำงาน มีที่มาจากไหน ทำไมจึงเป็นไวรัล". www.thairath.co.th. 2023-09-07.
  25. "เกลือจิ้มเกลือ 'อนุทิน' ยื่นดาบให้ 'ชาดา ไทยเศรษฐ์' ลุยปราบมาเฟีย". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-09-08.
  26. Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-03-11). "Voice Politics : "ผมคือผู้มีอิทธิพล" - 'ชาดา ไทยเศรษฐ์' หมดสมัยปลายกระบอกปืน". VoiceTV.
  27. https://www.pptvhd36.com (2017-03-24). "ค้นบ้าน "ชาดา ไทยเศรษฐ์ - ส.จ.เปี๊ยก" ทลายคลังอาวุธ จ.อุทัยธานี". pptvhd36.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  28. "นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ 21 Mar 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๓, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๕, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
ก่อนหน้า อนุทิน ชาญวีรกูล ถัดไป
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
(ครม. 61 และ 62)
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(ครม. 61)
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ดอน ปรมัตถ์วินัย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
(ครม. 62)

รองนายกรัฐมนตรี
(ครม. 62 และ 63)

(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (ครม. 62) และ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (ครม. 63) – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
ปิยะสกล สกลสัตยาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(ครม. 62)

(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
ชลน่าน ศรีแก้ว
สุชัย เจริญรัตนกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(ครม. 55)

(11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
มรกต กรเกษม
วัลลภ ไทยเหนือ
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
(ครม. 54)

(6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548)
สุริยา ลาภวิสุทธิสิน
สิริกร มณีรินทร์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(ครม. 54)

(30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547)
สุชัย เจริญรัตนกุล
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
(14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง