รัฐบาลเสียงข้างน้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รัฐบาลเสียงข้างน้อย (อังกฤษ: minority government) เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองซึ่งไม่ได้เสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ[1] ตรงกันข้ามกับรัฐบาลเสียงข้างมาก ที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองซึ่งได้เสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ[1]

รัฐบาลเสียงข้างน้อยอาจเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากอย่างชัดเจนในสภานิติบัญญัติ ซึ่งเป็นสภาวะที่เรียกว่า สภาแขวน (hung parliament)[2] แต่ถึงจะจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ ฝ่ายเสียงข้างน้อยก็ยังต้องอาศัยเสียงจากพรรคอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายตนในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น ในการออกกฎหมาย[2][3] ถ้าไม่ได้เสียงสนับสนุนจากพรรคอื่น ๆ เช่นนี้แล้ว ก็จะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่[4]

การศึกษาวิจัยของสถาบันประชาธิปไตยอิสราเอลเกี่ยวกับรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศทางยุโรป 29 ประเทศซึ่งปกครองในระบอบประชาธิปไตยระหว่าง ค.ศ. 1945–2010 นั้น พบว่า ราว 33% เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย[5] รัฐบาลเสียงข้างน้อยส่วนใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศประชาธิปไตยนั้นเป็นรัฐบาลพรรคเดียว แต่ก็มีจำนวนพอสมควรที่มาจากการรวมกลุ่มเสียงข้างน้อย[5] ตัวอย่าง คือ กรณีของเทรีซา เมย์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ที่นำเสียงข้างน้อยของพรรคตนเอง คือ พรรคอนุรักษนิยม มารวมกับเสียงข้างน้อยของพรรคสหภาพนิยมประชาธิปไตย จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ในช่วง ค.ศ. 2017–2019[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Parliament of Cananda (n.d.). "Majority and Minority Governments". Learn about Parliament.
  2. 2.0 2.1 UK Parliament (2023). "Minority government". UK Parliament.
  3. "Minority government". Tutor2u. 2023.
  4. Commonwealth of Australia (2023). "If we now have a minority government, why aren't we having an election?". Parliamentary Education Office.
  5. 5.0 5.1 Shapira, Assaf (2022-04-06). "Minority Governments: Why Smaller Is Not Necessarily Worse". Israel Democracy Institute.
  6. Field, Bonnie N.; and, Martin, Shane (2022-12-05). "Understanding minority governments in parliamentary democracies". London School of Economics and Political Science.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)