เซ็นทรัล ลาดพร้าว

พิกัด: 13°49′01″N 100°33′36″E / 13.816944°N 100.56°E / 13.816944; 100.56
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซ็นทรัล ลาดพร้าว
ภาพของเซ็นทรัล ลาดพร้าว เมื่อ พ.ศ. 2566
แผนที่
ที่ตั้ง1691, 1693 และ 1695 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร[1][2][3]
พิกัด13°49′01″N 100°33′36″E / 13.816944°N 100.56°E / 13.816944; 100.56
เปิดให้บริการ25 ธันวาคม พ.ศ. 2524 (42 ปี)[4]
ผู้บริหารงานบริษัท เซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด
พื้นที่ชั้นขายปลีก43,446 ตารางเมตร (ไม่รวมห้างสรรพสินค้าและโรงแรม)
จำนวนชั้นศูนย์การค้าฝั่งบีซีซีฮอลล์ 6 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน)
อาคารศูนย์การค้ากลาง 4 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน)
ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล 7 ชั้น (รวมชั้นใต้ดินและโรงภาพยนตร์)
เว็บไซต์www.centralpattana.co.th

เซ็นทรัล ลาดพร้าว[5] (อังกฤษ: Central Ladprao)[6] เป็นศูนย์การค้า สำนักงาน ศูนย์แสดงสินค้า และโรงแรมครบวงจร ซึ่งเป็นธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก แห่งแรกของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร บริเวณที่ดินสามเหลี่ยมใกล้แยกลาดพร้าว เปิดให้บริการครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2524 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2526

ประวัติ[แก้]

กลุ่มเซ็นทรัล โดยการนำของสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ชนะการประมูลที่ดินรกร้างรูปสามเหลี่ยม บริเวณแยกลาดพร้าว ซึ่งเป็นจุดตัดถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต และถนนหอวัง ในพื้นที่แขวงลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในแขวงจตุจักร เขตจตุจักร) มาจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2521 [7][8] และในอีกสองปีต่อมาก็ดำเนินการจัดตั้ง บริษัท เซ็นทรัล พลาซา จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)) เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2523 เพื่อเป็นบริษัทในการบริหารจัดการศูนย์การค้าแบบครบวงจรบนพื้นที่ดังกล่าว[9] ไม่กี่เดือนต่อมา เซ็นทรัล ลาดพร้าว ก็เปิดบริการ โดยเปิดในส่วนของห้างสรรพสินค้าก่อนเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2524[4], ส่วนของศูนย์การค้าเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2525[4], โรงแรมไฮแอทเซ็นทรัลพลาซ่าและบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ) เปิดบริการเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2526[10] และมีพิธีเปิดโครงการเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526 ภายใต้แนวคิดในการจำหน่ายสินค้าแห่งเดียวเบ็ดเสร็จ (One-Stop-Shopping)[4]

เซ็นทรัล ลาดพร้าว เป็นที่ตั้งของร้านค้าสาขาแรก ทั้งในกลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต (ต่อมาเปลี่ยนเป็น ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์), เพาเวอร์บาย, ซูเปอร์สปอตส์, บีทูเอส (ต่อมาได้ปรับรูปแบบเป็น บีทูเอส ธิงค์สเปซ) และนอกกลุ่มเซ็นทรัล อาทิ เอ็มเคสุกี้[11] เคเอฟซี[12] สเวนเซ่นส์[13] เอ แอนด์ ดับบลิว[14] บาร์บีคิวพลาซ่า[15] เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า[16] เป็นต้น[17] นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา และ บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา ก่อนย้ายไปยังโครงการเซ็นทรัลเวิลด์

ต่อมา รฟท.จัดการประมูลที่ดินสามเหลี่ยมบริเวณแยกลาดพร้าว พร้อมทั้งอาคารศูนย์การค้าบนที่ดินดังกล่าว ขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เนื่องจากใกล้ถึงเวลาสิ้นสุดสัญญาเช่าที่ดินกับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนาแล้ว ซึ่งผลการประมูลปรากฏว่า รฟท.ประกาศต่อสัญญากับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ต่อไปอีก 20 ปี[7] โดยใช้งบลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท หลังจากนั้นทางบริษัทได้ดำเนินโครงการปรับปรุงกลุ่มอาคารครั้งใหญ่ ด้วยมูลค่าทั้งหมด 3,000 ล้านบาท และปิดให้บริการเป็นระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างเดือนเมษายน-ตุลาคม พ.ศ. 2553 แต่เนื่องจากศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ประกาศปิดตัวเอง โดยให้เหตุผลว่า ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากมีการชุมนุมทางการเมืองบริเวณแยกราชประสงค์ และต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เกิดเพลิงไหม้ จนตัวอาคารพังถล่มลงมา หลังจากที่กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมทางการเมืองดังกล่าว[18]

ดังนั้น เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อร้านค้าและลูกค้า ตลอดจนรายได้และกระแสเงินสดของ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนาเอง จึงเลื่อนกำหนดการปิดปรับปรุงศูนย์การค้าที่ลาดพร้าว ออกไปเป็นระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์-28 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ทั้งนี้ ในส่วนของอาคารสำนักงาน บริษัทฯ เริ่มดำเนินการไปก่อน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 จนแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน และอาคารส่วนโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ใช้เวลาประมาณ 6 เดือนด้วยกัน[4][18] แต่หลังจากเปิดให้บริการใหม่ได้ไม่นาน อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ขยายขอบเขตมาถึงบริเวณแยกลาดพร้าวในราวเดือนพฤศจิกายน ศูนย์การค้าจึงต้องเลื่อนเวลาปิดให้บริการเป็น 21:00 น.ซึ่งเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จากนั้นต้องปิดให้บริการ ระหว่างวันที่ 4-17 พฤศจิกายน หลังจากนั้น คือตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน กลับมาเปิดให้บริการโดยปรับเวลาปิดให้บริการเป็น 21:00 น.[19][20]

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 มีกระแสข่าวว่าเซ็นทรัลพัฒนาจะไม่ต่อสัญญาเช่าโครงการกับ รฟท. ซึ่งจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2571 ต่อมาเพจเฟซบุ๊กของศูนย์การค้าได้โพสต์ขอความร่วมมือไม่แชร์ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดในวงกว้าง[21] ทั้งนี้ ในช่วงเวลาเดียวกัน ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ได้มีการฉลองปรับปรุงโฉมใหม่เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าทุกช่วงวัยด้วย[22]

การจัดสรรพื้นที่[แก้]

เซ็นทรัล ลาดพร้าว เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมแบบประสม พื้นที่รวมทั้งหมด 310,000 ตารางเมตร[5] ประกอบด้วย อาคารห้างสรรพสินค้าและโรงภาพยนตร์ ความสูง 7 ชั้น, อาคารค้าปลีกหลัก ความสูง 4 ชั้น, อาคารค้าปลีกส่วนตะวันออกรวมศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า ความสูง 6 ชั้น, อาคารสำนักงาน สถาบันการศึกษา ศูนย์การเรียนรู้ และสถานเสริมความงาม ความสูง 14 ชั้น, อาคารโรงแรมและศูนย์ประชุม ความสูง 25 ชั้น และอาคารจอดรถ ความสูง 6 ชั้น โดยประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
    • บีทูเอส ธิงค์สเปซ[23]
    • เพาเวอร์บาย
    • ซูเปอร์สปอตส์
    • ลิฟวิ่ง เฮาส์ โค-ลิฟวิ่งแอนด์อีตติ้ง สเปซ[24]
  • ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์[25] (เดิมเซ็นทรัล พลาซา ซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกในศูนย์การค้าเซ็นทรัล[4], ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และท็อปส์ มาร์เก็ต ตามลำดับ)
    • ท็อปส์ อีทเทอรี
    • ศูนย์อาหาร ท็อปส์ เฟลเวอร์
  • โรงภาพยนตร์เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า จำนวน 10 โรง ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์เฟิร์สคลาส และซิกมา ซิเนสเตเดียม ระบบละ 1 โรง
    • เอ็กซ์-เท็น เกม เซ็นเตอร์
  • อาคารสำนักงานเซ็นทรัล ลาดพร้าว
  • โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ
    (ชื่อเดิม โรงแรมไฮแอทเซ็นทรัลพลาซ่า (พ.ศ. 2525-2530)[10][26], โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (พ.ศ. 2531-2543), โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทรัลพลาซา (พ.ศ. 2544-2552)[27] และโรงแรมโซฟิเทลเซ็นทาราแกรนด์ (พ.ศ. 2552-2555)[27] ตามลำดับ)
  • บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งประกอบด้วยห้องบีซีซีฮอลล์ สกายฮอลล์ วิภาวดีบอลรูม และห้องประชุมย่อยอีก 19 ห้อง โดยสกายฮอลล์เคยใช้เป็นจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร หอการค้าไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า[6][28]

การคมนาคม[แก้]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เซ็นทรัล ลาดพร้าว | แผนที่ห้าง & ข้อมูลร้านค้า | Central Department Store". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
  2. "ติดต่อสาขา | Central Pattana (CPN)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-12. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
  3. "ข้อมูลพื้นฐานการลงทุน บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-07. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 ""เซ็นทรัลลาดพร้าว" เราจะมาที่นี้อีกครั้งหนึ่ง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
  5. 5.0 5.1 "รายงานประจำปี 2563 บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-08.
  6. 6.0 6.1 "Sky Hall in Central Ladprao converted for vaccinations". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
  7. 7.0 7.1 "โครงการสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-11. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  8. "Central wins bid for new shopping centre". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
  9. "รายงานประจำปี พ.ศ. 2557 ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซีพีเอ็น รีเทล โกรท" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-10. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
  10. 10.0 10.1 "รายงานประจำปี 2557 บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-08.
  11. "รายงานประจำปี 2563" (PDF). สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.
  12. "KFC ในไทย เป็นของใครบ้าง?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  13. "สเวนเซ่นส์ ฉลองความเป็นหนี่งอลังการ กับ งาน 20 ปี...ความสุขที่ไม่มีวันละลาย". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
  14. "10 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ A&W". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
  15. "About us | บาร์บิคิว พลาซ่า ตัวจริง อร่อยจริง เรื่องปิ้งย่าง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
  16. "เกี่ยวกับ SF | SF Cinema". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
  17. "ห้างเซ็นทรัลลลาดพร้าวในอดีตเป็นยังไงบ้าง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  18. 18.0 18.1 "การเลื่อนปิดปรับปรุงศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-12. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  19. "บ๊ายบายน้องน้ำ 'เซ็นทรัล เมเจอร์ ยูเนี่ยนมอลล์' เปิดแล้ว". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-12. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
  20. "เซ็นทรัล ลาดพร้าว เปิดให้บริการ 18 พ.ย.หลังน้ำลด". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-12. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
  21. "เซ็นทรัล ลาดพร้าว โต้เฟกนิวส์ปิดกิจการปี 2571 ยันลงทุนที่เดิมตอกย้ำแลนด์มาร์กอันดับ 1". mgronline.com. 2022-12-01.
  22. "ส่องนิวลุค "ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว" ยืนหนึ่งแลนด์มาร์คของคนทุกเจน". bangkokbiznews. 2022-11-27.
  23. ""บีทูเอส" ปรับโฉมเสริมไลฟ์สไตล์ มุ่งหน้าสู่การสร้างคอมมูนิตี้ เปิด "B2S Think Space ลาดพร้าว" แลนด์มาร์กแห่งใหม่". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  24. "เซ็นทรัลลาดพร้าวเปิดตัว 'Living House' ยกสตรีทฟู้ด 20 เจ้าดังรอบกรุงมารวมไว้ในที่เดียว". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-30. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  25. "เปิดประสบการณ์แห่งใหม่กับ "เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ ลาดพร้าว" ด้วยคอนเซปต์ unique shop-in-shop รวมอาณาจักรอาหาร-วัตถุดิบ-ความอิ่มอร่อย ที่เป็นมากกว่าฟู้ดสโตร์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-30. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  26. ทรัพย์ไพบูลย์, ธนวัฒน์ (2013). กลยุทธ์สู่ความร่ำรวยตระกูล "มหาเศรษฐีอาเซียน". เนชั่นบุ๊คส์. ISBN 6-1675-3641-4.
  27. 27.0 27.1 "Accor and Centara to end partnership in Thailand". Business Traveller (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-14. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  28. ""เซ็นทรัลลาดพร้าว" นำร่องเปิดหน่วยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด รับได้ 2 พันคนต่อวัน เล็งอีก 8 สาขาทั่วกรุง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]