ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล | |
---|---|
ชวรัตน์ ใน พ.ศ. 2552 | |
รักษาการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 14 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 83 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ สนั่น ขจรประศาสน์ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ สุวิทย์ คุณกิตติ สหัส บัณฑิตกุล |
ถัดไป | สุเทพ เทือกสุบรรณ กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ สนั่น ขจรประศาสน์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2 ปี 232 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | โกวิท วัฒนะ |
ถัดไป | ยงยุทธ วิชัยดิษฐ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 38 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | ไชยา สะสมทรัพย์ |
ถัดไป | เฉลิม อยู่บำรุง |
หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (3 ปี 242 วัน) | |
ก่อนหน้า | พิพัฒน์ พรมวราภรณ์ |
ถัดไป | อนุทิน ชาญวีรกูล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2479 อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2551) ภูมิใจไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ทัศนีย์ ชาญวีรกูล |
บุตร |
|
ลายมือชื่อ | |
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2479) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หลังสมชายพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากถูกตัดสิทธิ์จากการเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนที่ถูกสั่งยุบลง นอกจากนี้ ยังเป็นประธานกรรมการบริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน)
ชวรัตน์เป็นบิดาของอนุทิน ชาญวีรกูล นักการเมืองชาวไทย
ประวัติ
[แก้]ชวรัตน์ ชาญวีรกูล มีชื่อเล่นว่า "จิ้น" คนในสภานิยมเรียก "ปู่จิ้น" เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2479 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน และได้ร่วมอบรมหลักสูตร Chairman 2000 รุ่นที่ 3/2001 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) อีกทั้งอบรมหลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 17/2004 สมาคมส่งเสริมกรรมการบริษัทไทย (IOD)
เขาสมรสกับนางทัศนีย์ ชาญวีรกูล มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นชาย 2 คน คือ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ มาศถวิน ชาญวีรกูล และหญิง 1 คน คือนางสาวอนิลรัตน์ ชาญวีรกูล
การทำงาน
[แก้]เขาเริ่มทำงานในสายธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2505 ได้ก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทขึ้น ใช้ชื่อว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (STECON) ก่อนจะรับงานสัมปทานระดับ "เมกะโปรเจกต์" ของรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ พ.ศ. 2537 ผลงานที่สร้างชื่อ เช่น งานก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 12,260 ล้านบาท, ก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรี วงเงิน 4,325 ล้านบาท, งานโรงงานไฟฟ้าแก่งคอย 2,534 ล้านบาท, การก่อสร้างโรงงานไฟฟ้ากรุงเทพใต้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2,360 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ สัปปายะสภาสถาน วงเงิน 12,000 ล้านบาท
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
[แก้]เขามีสายสัมพันธ์ทางการเมืองมาเป็นระยะเวลานาน เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2539 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ[1] ในโควตาพรรคชาติพัฒนา จากนั้นภายหลังพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง และทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ชวรัตน์ได้หันไปอยู่เบื้องหลังสนับสนุนอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชายซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดทักษิณ และเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยแทน แต่หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบพรรค ทำให้กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 111 คน รวมถึงอนุทิน ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ในปี พ.ศ. 2551 ชวรัตน์จึงกลับมารับตำแหน่งทางการเมืองอีกครั้งในสังกัดพรรคพลังประชาชน ซึ่งสืบทอดมาจากพรรคไทยรักไทย และชนะการเลือกตั้งครั้งนั้น โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ในโควตาของกลุ่มคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[2] ตามโควตาของอนุทิน ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์
หลังจากที่สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากนายกรัฐมนตรี หลังถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองในฐานะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนเนื่องจากถูกยุบพรรค ชวรัตน์ได้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี[3] ต่อมา เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขของสภาผู้แทนราษฎร หลังจากนั้น ชวรัตน์ก็ได้วางมือทางการเมือง[4]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]ชวรัตน์ ชาญวีรกูล | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองอาสารักษาดินแดน |
ประจำการ | พ.ศ. 2551 - 2554 |
ชั้นยศ | นายกองใหญ่ |
บังคับบัญชา | กองอาสารักษาดินแดน |
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ชวรัตน์ ชาญวีรกูล เมื่อ พ.ศ. 2552[5] ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เบลเยียม :
- ปาปัวนิวกินี :
- พ.ศ. 2558 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันวิเศษยิ่งแห่งจักรวรรดิบริติช ชั้นตติยาภรณ์ (ฝ่ายพลเรือน)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
- ↑ ตั้ง ชวรัตน์ รักษาการนายกฯ โอฬาร เยียวยาสนามบิน
- ↑ ชวรัตน์วางมือ ภท.หลังบ้านเลขที่ 111 ปลดล็อก
- ↑ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนนายกองใหญ่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๔, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2019-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๘
ก่อนหน้า | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 57) (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล โอฬาร ไชยประวัติ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ | ||
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | รักษาการนายกรัฐมนตรี (ครม. 58) (2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ||
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 59) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ | ||
ไชยา สะสมทรัพย์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (2 สิงหาคม พ.ศ. 2551- 23 กันยายน พ.ศ. 2551) |
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคภูมิใจไทย
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- บุคคลจากจังหวัดพระนคร
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน