ตลาดหลักทรัพย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตลาดหลักทรัพย์ (อังกฤษ: stock exchange, securities exchange, หรือ bourse) เป็นสถานที่ที่นายหน้าซื้อขายหุ้น (โบรเกอร์) และนักลงทุนสามารถซื้อและขายหลักทรัพย์ เช่น หุ้นของทุน พันธบัตร และเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ตลาดหลักทรัพย์ยังให้บริการอำนวยความสะดวกสำหรับการออกและไถ่ถอนหลักทรัพย์ เช่น ตราสาร และกิจกรรมเงินทุน รวมถึงการจ่ายรายได้และเงินปันผล หลักทรัพย์ที่ลงทุนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ประกอบไปด้วย หุ้นที่ถูกออกโดยบริษัทที่จดทะเบียน หน่วยลงทุน ตราสารอนุพันธ์ ผลิตภัณฑ์การลงทุนรวม และพันธบัตร ตลาดหลักทรัพย์มักจะทำหน้าที่เป็นตลาด"การประมูลขายทอดตลาดอย่างต่อเนื่อง" กับผู้ซื้อและผู้ขายที่ทำธุรกรรมผ่าน Open outcry ที่ตำแหน่งศูนย์กลาง เช่น ชั้นของการแลกเปลี่ยน หรือการใช้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ (electronic trading platform)[1]

เพื่อให้สามารถลงทุนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์บางแห่ง หลักทรัพย์ต้องมีการแสดงรายการต่างๆ โดยปกตินั้น จะตั้งอยู่ที่ตั้งศูนย์กลางที่เล็กที่สุดสำหรับการเก็บบันทึกข้อมูล แต่การลงทุนนั้นจะเชื่อมโยงกับสถานที่จริงได้น้อยลง เนื่องจากตลาดสมัยใหม่ได้ใช้ระบบเครือข่ายการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้พวกเขามีความได้เปรียบในด้านความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นและลดต้นทุนในการทำธุรกรรม การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นจำกัดเฉพาะโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงไม่กี่ปี ช่องทางการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างๆ มากกมาย เช่น ระบบเครือข่ายการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ทางเลือก และ"ดาร์คพลู" ซึ่งมีกิจกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีความแตกต่างไปจากตลาดหลักทรัพย์แบบดั้งเดิม[2]

การเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกของหุ้นและพันธบัตรให้กับนักลงทุนที่จะทำกันในตลาดหลักและตามมาด้วยการลงทุนซื้อขายหุ้นที่จะทำกันในตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์มักเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของตลาดหุ้น อุปสงค์และอุปทานในตลาดหุ้นได้รับแรงขับเคลื่อนจากปัจจัยต่างๆ ที่ในตลาดเสรีทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลต่อราคาของหุ้น (ดูที่การประเมินมูลค่าหุ้น)

โดยทั่วไป จะไม่มีข้อผูกมัดใดๆ สำหรับหุ้นที่ถูกออกผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ และจะต้องไม่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงในภายหลัง เช่น การซื้อขายดังกล่าวอาจจะต้องผ่านทางตลาดเจรจาต่อรอง (off exchange หรือ over-the-counter) นี่เป็นวิธีแบบปกติที่มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์และพันธบัตร เพื่อที่จะเพิ่มมากขึ้น ตลาดหลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ตลาดหลักทรัพย์ยังทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจในการให้สภาพคล่องแก่ผู้ที่ถือหุ้นในการจัดหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในจัดการหุ้น

ดัชนีราคาหุ้น[แก้]

ประชาชนโดยทั่วไป จะรู้จักตลาดหลักทรัพย์ของประเทศต่าง ๆ ผ่านทางชื่อดัชนีราคาหุ้น (Price Index) ของตลาดหลักทรัพย์นั้น ๆ มากกว่าชื่อของตลาดหลักทรัพย์ ตัวอย่างดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นที่รู้จัก เช่น

ประเทศ ตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีราคาหุ้น
สหรัฐ นิวยอร์ก (NYSE) ดาวโจนส์
เอสแอนด์พี 500
แนสแด็ก (NASDAQ) แนสแด็ก
อังกฤษ ลอนดอน ฟุตซี่
สิงคโปร์ สิงคโปร์ สเตรทไทมส์
ญี่ปุ่น โตเกียว นิกเคอิ
จีน เซี่ยงไฮ้ เซี่ยงไฮ้คอมโพสิต
ฮ่องกง ฮ่องกง ฮั่งเส็ง
ไทย ประเทศไทย SET
เอ็ม เอ ไอ MAI

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก หรือ New York Stock Exchange ถือไว้ว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่เก่าแก่ที่สุด[3] และดัชนีดาวโจนส์ ถือว่าเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่เก่าแก่ที่สุด ตลาดหลักทรัพย์ลาว[4] เป็นตลาดหลักทรัพย์ล่าสุด (เปิด10-10-10) เปิดทำการจริง 11-01-11 ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกจะนิยมใช้การคิดดัชนีราคาหลักทรัพย์ตามแบบ เอสแอนด์พี S&P ซึ่งคิดค้นโดยบริษัท สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ จำกัด เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากจะสามารถสะท้อนถึงปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดได้ดีกว่าทั้งในด้านปริมาณของธุรกรรม และด้านราคาของหลักทรัพย์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lemke and Lins, Soft Dollars and Other Trading Activities, §2:3 (Thomson West, 2013-2014 ed.).
  2. Lemke and Lins, Soft Dollars and Other Trading Activities, §§2:25 - 2:30 (Thomson West, 2013-2014 ed.).
  3. หลักการลงทุน ศาสตรจารย์เพชรี ขุมทรัพย์
  4. "ตลาดหลักทรัพย์ลาว". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-23. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]