เขตพระนคร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เขตพระนคร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Phra Nakhon |
คำขวัญ: กรุงรัตนโกสินทร์วังวัดกษัตริย์สร้าง ศูนย์กลางสนามหลวงกระทรวงศาล ป้อมประตูคูคลองของโบราณ แหล่งสถาบันการศึกษาประชาธิปไตย รวมดวงใจไทยทั้งประเทศ… เขตพระนคร | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตพระนคร | |
พิกัด: 13°45′52″N 100°29′57″E / 13.76444°N 100.49917°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 5.536 ตร.กม. (2.137 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 40,254[1] คน |
• ความหนาแน่น | 7,271.32 คน/ตร.กม. (18,832.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10200 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1001 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 78 ซอยสามเสน 3 (วัดสามพระยา) ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 |
เว็บไซต์ | bangkok |
พระนคร เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตพระนครตั้งอยู่บนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นบริเวณตะวันตกสุดของฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดุสิต มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์ มีถนนราชดำเนินนอกและคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตคลองสานและเขตธนบุรี มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่ เขตบางกอกน้อย และเขตบางพลัด มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
[แก้]เขตพระนครเดิมมีฐานะเป็น อำเภอชนะสงคราม ขึ้นกับกรมนครบาล มีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ถนนจักรพงษ์ ติดกับวัดชนะสงครามด้านเหนือ
ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458 ได้มีประกาศยกเลิกอำเภอชั้นในแต่เดิมและตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ 25 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระราชวัง อำเภอชนะสงคราม อำเภอสำราญราษฎร์ อำเภอพาหุรัด อำเภอจักรวรรดิ อำเภอสัมพันธวงศ์ อำเภอสามแยก อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอสามยอด อำเภอนางเลิ้ง อำเภอบางขุนพรหม อำเภอสามเสน อำเภอดุสิต อำเภอพญาไท อำเภอประแจจีน อำเภอประทุมวัน อำเภอบางรัก อำเภอสาธร อำเภอบ้านทะวาย อำเภอบางพลัด อำเภออมรินทร์ อำเภอหงสาราม อำเภอราชคฤห์ อำเภอบุปผาราม และอำเภอบุคคโล
ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2471 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรวมพื้นที่อำเภอพาหุรัด อำเภอสำราญราษฎร์ อำเภอพระราชวัง และอำเภอชนะสงครามเป็นอำเภอเดียวกัน เรียกว่า อำเภอพระนคร ตามประกาศยุบรวมอำเภอและกิ่งอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี (ภายหลังได้ยุบอำเภอสามยอดและอำเภอบางขุนพรหมเข้ามารวมด้วย) และใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดระเบียบการปกครองในเขตนครหลวงใหม่ อำเภอพระนครจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระนคร ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เขตพระนครแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
พระบรมมหาราชวัง | Phra Borom Maha Ratchawang | 1.647 |
2,896 |
1,758.35 |
|
2. |
วังบูรพาภิรมย์ | Wang Burapha Phirom | 0.720 |
8,489 |
11,790.28
| |
3. |
วัดราชบพิธ | Wat Ratchabophit | 0.220 |
2,846 |
12,936.36
| |
4. |
สำราญราษฎร์ | Samran Rat | 0.230 |
2,654 |
11,539.13
| |
5. |
ศาลเจ้าพ่อเสือ | San Chaopho Suea | 0.144 |
2,676 |
18,583.33
| |
6. |
เสาชิงช้า | Sao Chingcha | 0.153 |
1,870 |
12,222.22
| |
7. |
บวรนิเวศ | Bowon Niwet | 0.496 |
3,575 |
7,207.66
| |
8. |
ตลาดยอด | Talat Yot | 0.193 |
1,904 |
9,865.29
| |
9. |
ชนะสงคราม | Chana Songkhram | 0.339 |
1,636 |
4,825.96
| |
10. |
บ้านพานถม | Ban Phan Thom | 0.414 |
5,439 |
13,137.68
| |
11. |
บางขุนพรหม | Bang Khun Phrom | 0.458 |
3,736 |
8,157.21
| |
12. |
วัดสามพระยา | Wat Sam Phraya | 0.522 |
2,533 |
4,852.49
| |
ทั้งหมด | 5.536 |
40,254 |
7,271.32
|
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตพระนคร[2] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 89,103 | ไม่ทราบ |
2536 | 89,076 | -27 |
2537 | 87,255 | -1,821 |
2538 | 83,674 | -3,581 |
2539 | 82,885 | -789 |
2540 | 81,656 | -1,229 |
2541 | 83,742 | +2,086 |
2542 | 82,921 | -821 |
2543 | 81,687 | -1,234 |
2544 | 80,118 | -1,569 |
2545 | 78,351 | -1,767 |
2546 | 76,230 | -2,121 |
2547 | 69,266 | -6,964 |
2548 | 67,357 | -1,909 |
2549 | 65,835 | -1,522 |
2550 | 64,356 | -1,479 |
2551 | 62,966 | -1,390 |
2552 | 61,374 | -1,592 |
2553 | 60,313 | -1,061 |
2554 | 58,771 | -1,542 |
2555 | 57,831 | -940 |
2556 | 56,684 | -1,147 |
2557 | 55,373 | -1,311 |
2558 | 53,889 | -1,484 |
2559 | 52,522 | -1,367 |
2560 | 51,231 | -1,291 |
2561 | 50,382 | -849 |
2562 | 47,701 | -2,681 |
2563 | 44,923 | -2,778 |
2564 | 43,062 | -1,861 |
2565 | 41,646 | -1,416 |
2566 | 40,254 | -1,392 |
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]- วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 รัฐบาลประกาศ พระราชบัญญัติ (พรบ.) การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเขตพื้นที่เขตดุสิต เฉพาะแขวงดุสิต แขวงสวนจิตรลดา และแขวงสี่แยกมหานาค เขตพระนคร เฉพาะแขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงเสาชิงช้า แขวงสำราญราษฎร์ แขวงชนะสงคราม แขวงตลาดยอด แขวงวัดบวรนิเวศ แขวงบ้านพานถม และแขวงบางขุนพรหมและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เฉพาะแขวงวัดโสมนัส แขวงบ้านบาตร กรุงเทพมหานครต่อเนื่องถึง 30 พฤศจิกายน 2556
- วันที่ 26 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สถานที่สำคัญในเขตพระนคร
[แก้]หน่วยงานราชการ
[แก้]- ทำเนียบองคมนตรี
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กรมข่าวทหารบก
- กรมศิลปากร
- กรมแผนที่ทหาร
- กรมสวัสดิการทหารเรือ
- กรมพระธรรมนูญ (ศาลทหารกรุงเทพมหานคร)
- กองบัญชาการกองทัพบก
- หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
- ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า
- ศาลฎีกา
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขที่ 1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- อาคารที่ทำการสหประชาชาติประจำประเทศไทย
- กรมส่งเสริมสหกรณ์
- กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
- สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- สำนักงานอัยการสูงสุด
- กรมการปกครอง
- กองบังคับการตำรวจนครบาล 6
- สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง
- สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์
- สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม
วัด
[แก้]มีจำนวน 23 แห่ง ได้แก่
- วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- วัดสุทัศนเทพวราราม
- วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
- วัดบวรนิเวศวิหาร
- วัดมกุฏกษัตริยาราม
- วัดอินทรวิหาร
- วัดใหม่อมตรส
- วัดนรนารถสุนทริการาม
- วัดเอี่ยมวรนุช
- วัดราชนัดดาราม
- วัดเทพธิดาราม
- วัดตรีทศเทพ
- วัดราชบุรณะ
- วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
- วัดมหรรณพาราม (โรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกของไทย)
- วัดปรินายกวรวิหาร
- วัดทิพยวารีวิหาร
- วัดชนะสงคราม
- วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร
- วัดสามพระยา
- วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
- วัดบุรณศิริมาตยาราม (วัดศิริอำมาตย์)
มัสยิด
[แก้]มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่
ศาลเจ้า
[แก้]- ศาลเจ้าพ่อเสือ
- ศาลเจ้าพ่อหอกลอง
- ศาลเจ้าแม่ทับทิม
- ศาลเจ้าบ้านหม้อ
- ศาลเจ้าพ่อเขาตก เจ้าพ่อพันท้ายนรสิงห์
- ศาลเจ้าแม่สาวิตรี
- ศาลเจ้าพ่อหนู
- ศาลเจ้าพ่อครุฑ
- ศาลหลักเมือง
- ศาลเจ้าตลาดพาหุรัด
- ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน
- ศาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
- ศาลเจ้าพ่อบุญมา
- เทวาลัยพระวิษณุ
- ศาลเจ้าที่หลวง
พระราชวังและวัง
[แก้]- พระบรมมหาราชวัง
- พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ พระบวรราชวัง
- วังบูรพาภิรมย์
- วังสราญรมย์
- วังท่าเตียน หรือ วังจักรพงษ์
- วังสะพานช้างโรงสี วังเหนือ
- วังสะพานช้างโรงสี วังใต้
- วังท่าพระ หรือ วังล่าง
- วังมะลิวัลย์
- วังบางขุนพรหม
- วังเทวะเวสม์
- วังสรรพสาตรศุภกิจ
- วังบ้านหม้อ
- วังวรวรรณ
- วังตรอกสาเก
- วังถนนพระอาทิตย์
พระบรมราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์
[แก้]- อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
- อุทกทาน
- อนุสาวรีย์ทหารอาสา
- อนุสาวรีย์พระบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (หน้าที่ทำการกระทรวงพาณิชย์ แห่งเดิม)
- อนุสาวรีย์สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (หน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์)
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (หน้าที่ทำการกระทรวงยุติธรรม แห่งเดิม)
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (หน้ากระทรวงมหาดไทย)
- อนุสาวรีย์หมู (ถนนราชินี ริมคลองคูเมืองเดิม)
- พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)
- พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ภายในบริเวณวัดสุทัศน์ ฯ)
- ปฐมพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า)
โบราณสถานและสถานที่สำคัญต่าง ๆ
[แก้]- พิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ป้อมพระสุเมรุ
- ป้อมมหากาฬ
- กำแพง และ ประตูพระนคร (ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร และหลังป้อมมหากาฬ)
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์
- พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์
- ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
- โรงละครแห่งชาติ
- ศาลาเฉลิมกรุง
- อนุสรณ์สถานวีรชน 14 ตุลาคม
- สนามหลวง
- เสาชิงช้า
- สนามไชย
- สวนสราญรมย์
- คลองคูเมือง ได้แก่ คลองคูเมืองเดิม (คลองหลอดและคลองตลาด) คลองรอบกรุง (คลองบางลำพูและคลองโอ่งอ่าง) และคลองผดุงกรุงเกษม
- ท่าราชวรดิฐ
- ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
- โลหะปราสาท (วัดราชนัดดาราม)
- หอภูวดลทัศนัย (ใกล้หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง)
- ตึกรามแบบตะวันตก เช่น หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง อาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ถนนหน้าพระลาน
- ประตูฝรั่ง (ถนนแพร่งสรรพศาสตร์)
- หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า
- หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า)
- ศูนย์สังคีตศิลป์ (ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนตะนาว)
- ศาสนสถาน โบสถ์พราหมณ์
- บ้านพระอาทิตย์
- บ้านเจ้าพระยา
- บ้านมะลิวัลย์
- หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร
ในตอนเริ่มแรกนั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง14 ป้อมปราการ เพื่อรักษาพระนคร แต่ถูกรื้อลงเกือบหมดในสมัยต่อมา ปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียง 2 ป้อม ได้แก่ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ แต่เดิมนั้นบริเวณรอบ ๆ ป้อมพระสุเมรุ เป็นถนนธรรมดา แต่ใน พ.ศ. 2543 ได้สร้างสวนสาธารณะสวนสันติชัยปราการ
เมื่อ พ.ศ. 2548 ทางรัฐบาลได้อภิปรายพื้นที่บริเวณตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้าจนถึงท่าวาสุกรี ส่งไปให้องค์การยูเนสโกเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคต
โรงเรียน มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยของรัฐ
[แก้]- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
- มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
- สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
- วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
- วิทยาลัยนาฏศิลป
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนช่างฝีมือในวัง
- โรงเรียนตั้งตรงจิตรพณิชยการ
- โรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
- โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์
- โรงเรียนราชินี
- โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- โรงเรียนวัดราชบพิธ
- โรงเรียนสตรีวิทยา
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ตลาดและศูนย์การค้า
[แก้]- ปากคลองตลาด
- ตลาดยอดพิมาน
- ไชน่าเวิลด์
- เมก้าพลาซ่า
- ตั้งฮั่วเส็ง
- พาหุรัดพลาซ่า
- ดิโอลด์สยาม
- ห้างไนติงเกล
- บ้านหม้อ
- ตลาดบางลำพู
- ตลาดตรอกหม้อ
การคมนาคม
[แก้]เป็นเขตเดียวที่มีบริการรถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์[3] มีถนนสายหลักในเขตพระนคร ได้แก่
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 4 แห่ง ได้แก่
- สะพานพระราม 8 เชื่อมระหว่างเขตพระนครกับเขตบางพลัด
- สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เชื่อมระหว่างเขตพระนครกับเขตบางกอกน้อย
- สะพานพระพุทธยอดฟ้า เชื่อมระหว่างเขตพระนครกับเขตธนบุรี
- สะพานพระปกเกล้า เชื่อมระหว่างเขตพระนครกับเขตคลองสาน
รถไฟฟ้า (รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล) 2 สถานี ได้แก่
- สถานีสามยอด บริเวณทางแยกสามยอด
- สถานีสนามไชย ตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ในแนวถนนสนามไชย บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และ (รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม)(เตาปูน–ราษฎร์บูรณะ–ครุใน) กำลังก่อสร้าง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ "รถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์สำนักงานเขตพระนคร เก็บถาวร 2019-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่เขตพระนคร เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน