โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (Learn how and when to remove this template message) |
โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
89 หมู่ที่ 3 ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 64110 | |
ข้อมูล | |
สี | ███ น้ำเงิน ███ ชมพู |
เว็บไซต์ | http://www.sawananan.ac.th |
โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอสวรรคโลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มีอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี และมี อัตราการแข่งขันสูง แห่งหนึ่งของประเทศไทย
ประวัติ[แก้]
โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 128 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา เป็นโรงเรียนสหศึกษา ซึ่งเกิดจากการรวมโรงเรียนสวรรคโลก "สวรรควิทยา" โรงเรียนชายประจำจังหวัดสวรรคโลก กับโรงเรียนสตรีสวรรคโลก "อนันตนารี" โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก เข้าด้วยกันตามนโยบายและ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2513 โดยจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาต้อนต้น เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ณ อาคารเลขที่ 89 หมู่ 3 ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โดยมีนายฉลวย บุญครอบ เป็นอาจารย์ใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 กรมวิสามัญศึกษา ได้เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น ม.ศ. 4 - 5 แผนวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันได้เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คือ ชั้น ม.1- ม.3 และในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น ม.4 - ม.6
โรงเรียนสวรรคโลก"สวรรควิทยา" เดิมชื่อ "โรงเรียนบัณฑิตสภา" นามพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ก่อตั้งโดยสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2438 หรือ ร.ศ. 113 ในระยะแรกได้อาศัยอาคาร "ศาลาบัณฑิต" สันนิษฐานว่าใช้เป็นที่ประชุมบัณฑิต หรือคณะกรรมการการเมือง ซึ่งเป็นอาคารไม้ตั้งอยู่ข้างศาลากลางจังหวัดสวรรคโลก สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมี หลวงศาสนนิเทศก์เป็นครูใหญ่ท่านแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้ย้ายไปอยู่โรงเรียนสร้างใหม่ บริเวณเหนือวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนสวรรควิทยา" โดยถือนามเมืองสวรรคโลกเป็นมงคลและปี พ.ศ. 2513 ก็ย้ายมาอยู่ที่อาคารเลขที่ 89 หมู่ 3 ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
ส่วนโรงเรียนสตรีสวรรคโลก "อนันตนารี" เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 โดยใช้พลับพลาเป็นที่จัดการเรียนการสอน มีนางสาวเนื่อง บิณฑดิษฐ์ เป็นครูใหญ่ท่านแรก ปลายปี พ.ศ. 2466 ได้ย้ายไปเรียนรวมกับโรงเรียนสวรรควิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัดสวรรคโลก ปี พ.ศ. 2467 ได้ย้ายไปเรียนโรงเรียนสร้างใหม่ และปี พ.ศ. 2513 ได้ย้ายไปเรียนรวมกับโรงเรียนสวรรควิทยา โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา" ปัจจุบันอาคารเรียนของโรงเรียนอนันตนารีเป็นอาคารร้าง ส่วนที่ดินของโรงเรียนได้จัดเป็นนิคมบ้านพักอาจารย์โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยามีเนื้อที่อยู่ 3 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา [1]
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]
- คำขวัญ ได้แก่ เรียนดี ประพฤติดี การงานดี
- คติพจน์ ได้แก่ สุวิชาโน ภวํ โหติ แปลว่า ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ
- สีประจำสถาบัน ได้แก่ น้ำเงิน-ชมพู สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่อการศึกษาของพสกนิกรสยาม สีชมพู หมายถึง สีประจำวันอังคาร ซึ่งเป็นสีขอวันพระราชสมทบพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5) ผู้ทรงพระราชทานนามสถาบัน
- ต้นไม้ประจำสถาบัน ได้แก่ ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน เมื่อก่อนโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา มีต้นคูนอยู่เต็มโรงเรียน เมื่อถึงฤดูแล้งก็ออกดอกเหลืองทั้งต้นทั่วโรงเรียน ดังตอนหนึ่งของเพลง สวรรค์สามัคคี หนึ่งในเพลงประจำโรงเรียนซึ่งประพันธ์โดยอาจารย์ ระพีพรรณ ฤทธิ์น้ำ ว่า "ร่มคูนร่มรื่นชื่นสราญ ดังทิพย์วิมาน อบอุ่นสุขสันต์ ทั้งกายใจ" ปัจจุบันต้นคูนส่วนใหญ่ ถูกน้ำท่วมตายจนแทบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นแล้วในปีการศึกษา 2544 ได้มีโครงการปลูกต้นคูน เพื่อคืนความร่มรื่นชื่นสราญ ให้แก่โรงเรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มเกษตรกรรมเป็นแกนนำในการปลูก
- ดอกไม้ประจำสถาบัน ได้แก่ ดอกเข็ม เมื่อพระมหาสุมนเถร พบพระธาตุใต้กอดอกเข็ม ณ เมืองบางขลัง จุดพักกลางทางถนนพระร่วงระหว่างเมืองศรีสัชนาลัยและสุโขทัย (ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นสีใด) นี่คือการพบพระธาตุที่พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาประเทศทรงเลื่อมใสศรัทธาและสร้างสธูปครอบพระธาตุถวาย ปัจจุบันคือ วัดพระธาตุดอยสุเทพแลัวัดบุปผาราม(วัดสวนดอก) ที่ เมืองนพบุรีนครพิงค์เชียงใหม่(จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีวันพระราชสมทบตรงกับวันอังคารที่ 20 กันยายน 2396 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงประจำจังหวัดสวรรคโลก และทรงพระราชทานนามว่า โรงเรียนสวรรควิทยา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2442 นั้น เมื่อปฏิสังขรณ์วัดปรมัยยิกาวาส ถวายสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร(ทูนกระหม่อมแก้ว) ทรงปลูกต้นแก้วรอบประอุโบสถแล้วทรงปลูกต้นเข็มดอกสีชมพู รอบกำแพงแก้วพระอุโบสถ ของสมเด็จยายที่ทรงเคารพสักการะเสมอสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี และโปรดเกล้าให้สำนักงานพระราชวังออกรับสั่ง เทื่อสมเด็จยายสิ้นพระชนม์ว่า สวรรคต นอกจากนี้สมเด็จพระปิยะมหาราชทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอนุมัติงบประมาณสร้างทางรถไฟหลวง ให้แล่นมาถึงจังหวัดสวรรคโลก เพื่อสืบสานความจงรักภัคที่พสกนิกรชาวจังหวัดสวรรคโลก ต่อพระปิยมหาราชตลอดไป โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จึงกำหนดให้ดอกเข็มสีชมพู เป็นดอกไม้ประจำโรงเรียนหลวง แห่งแรกของจังหวัดสวรรคโลกนี้กัลปาวสาน
- ศาลาบัณฑิต หรือที่เรียกกันในนาม "ศาลหลวงปู่" สืบเนื่องมาจากการจัดงานฉลองครบรอบ 76 ปี ของโรงเรียนสวรรควิทยา และอายุครบรอบ 50 ปี ของโรงเรียน อนันตนารี คณะกรรมการจัดงานจึงมีมติตั้งศาลที่ระลึกขึ้น สำหรับผู้ก่อตั้งและผู้มีอุปการคุณแก่โรงเรียนสวรรควิทยา ได้แก่ "พระสวรรค์วรนายก (ทองคำ จิตรธร)" (พ.ศ. 2420-2508)อดีตเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลกและสุโขทัย เพื่อเป็นที่เคารพสักการบูชาแก่ครู และนักเรียน ศาลาที่จัดสร้างขึ้นนี้จึงให้ชื่อว่า "ศาลาบัณฑิต" ตามชื่อเดิมของโรงเรียนสวรรควิทยา อันได้แก่ โรงเรียนบัณฑิตสภา "ศาลาบัณฑิต" แห่งนี้ นอกจากจะเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคณะนักเรียน และครูโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยาแล้วยังเป็นศูนย์รวมใจของศิษย์เก่า สวรรควิทยา อนันตนารี และสวรรค์อนันต์วิทยาอีกด้วย[2]
- พลับพลารับเสด็จ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 9) และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ ณ พลับพลากลางสนามโรงเรียนสวรรคอนันต์วิทยา เยี่ยมเยือนราษฎรและมอบธงให้กับลูกเสือชาวบ้านจังหวัดสุโขทัย
ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]
- โรงเรียน "สวรรควิทยา" จังหวัดสวรรคโลก (ตั้งแต่เป็นโรงเรียนบัณฑิตสภา)
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | หลวงศาสนนิเทศ์ | พ.ศ. 2438 |
2 | พระวินัยธรจ่าง | ไม่ปรากฏ |
3 | พรสมุห์น่วม | ไม่ปรากฏ |
4 | พระมหาเจริญ | ไม่ปรากฏ |
5 | พระใบฎีกาเชย | ไม่ปรากฏ |
6 | พระภิกษุแก้ว ปิณฑดิษฐ์ | ไม่ปรากฏ |
7 | พระภิกษุชม | ไม่ปรากฏ |
8 | นายแย้ม สีตะสุด | พ.ศ. 2446 - 2461 |
9 | นายจำปา เวชบุตร | พ.ศ. 2461 - 2463 |
10 | นายแตงกวย บูรณะเกียรติ | พ.ศ. 2463 - 2467 |
11 | นายเหรียญ วงศ์มณี | พ.ศ. 2467 - 2471 |
12 | นายสอด กล่ำประเสริฐ | พ.ศ. 2471 - 2475 |
13 | นายด้าย บูรณะกร | พ.ศ. 2475 - 2479 |
14 | นายงาม สีตะธาณี | พ.ศ. 2479 - 2482 |
15 | นายเจริญ ฐิตาภาวิทยศักดิ์ | พ.ศ. 2482 - 2494 |
16 | นายสุด สุวรรณาคินทร์ | พ.ศ. 2494 - 2506 |
17 | นายพจน์ จิตต์ภักดี | พ.ศ. 2506 - 2510 |
- โรงเรียนสตรีสวรรคโลก "อนันตนารี"
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นางสาวเนื่อง บิณฑดิษฐ์ | พ.ศ. 2465 - 2480 |
2 | นางสาวฝัน แสนโกศิก | พ.ศ. 2480 - 2486 |
3 | นางสาวเจียมจิตต์ บุญญานุรักษ์ | พ.ศ. 2486 - 2491 |
4 | นางทวีศิริ ง้าวสุวรรณ | พ.ศ. 2491 - 2494 |
5 | นางเฉลิมลักษณ์ บุณเกตุ | พ.ศ. 2494 - 2498 |
6 | นางนันทิยา งามขำ | พ.ศ. 2498 - 2502 |
7 | นางลำดวน กำปั่นทอง | พ.ศ. 2502 - 2513 |
- โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายฉลวย บุญครอบ | พ.ศ. 2513 - 2528 |
2 | นายเขจร เปรมจิตต์ | พ.ศ. 2528 - 2529 |
3 | นายปรีชา จาดศรี | พ.ศ. 2529 - 2539 |
4 | นายไพวัน คงกระพันธ์ | พ.ศ. 2539 - 2540 |
5 | นายไพรัตน์ ใยดี | พ.ศ. 2540 - 2542 |
6 | นายสมศักดิ์ จงรู้ธรรม | พ.ศ. 2542 - 2547 |
7 | นายประมวล ลอยฟ้า | พ.ศ. 2547 - 2549 |
8 | นายจำลอง คุรุบรรเจิดจิต | พ.ศ. 2549 - 2551 |
9 | นายถวิล หิรัญศรี | พ.ศ. 2551 - 2556 |
10 | นายสมชาย ธรรมปรีชา | พ.ศ. 2556 - 2559 |
11 | นายถาวร ปรากฏวงศ์ | พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน [3] |
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
- เว็บไซต์วิชาการโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
- เว็บไซต์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- เว็บไซต์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
- เว็บไซต์ศิษย์เก่าโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา รุ่น SW 105
เว็บไซต์โครงการห้องเรียนพิเศษ(โอลิมปิควิชาการ) โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
ดูเพิ่ม[แก้]