จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดสุโขทัย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Sukhothai |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง: | |
คำขวัญ: มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุโขทัยเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ![]() |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | นายวิรุฬ พรรณเทวี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 6,596.092 ตร.กม. (2,546.765 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 30 |
ประชากร (พ.ศ. 2564)[2] | |
• ทั้งหมด | 585,352 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 42 |
• ความหนาแน่น | 88.74 คน/ตร.กม. (229.8 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 51 |
รหัส ISO 3166 | TH-64 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ตาล |
• ดอกไม้ | บัวหลวง |
• สัตว์น้ำ | ปลาก้างพระร่วง |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนนิกรเกษม ตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64000 |
• โทรศัพท์ | 0 5561 4531 |
• โทรสาร | 0 5561 1619 |
เว็บไซต์ | http://www.sukhothai.go.th/ |
![]() |
สุโขทัย (เดิมสะกดว่า ศุโขไทย)[3] เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนหรือบางแห่งแบ่งเป็นภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ)
ประวัติศาสตร์[แก้]
จังหวัดสุโขทัยเป็นที่ตั้งอาณาจักรแรกของชนชาติไทยเมื่อ 700 กว่าปีที่แล้ว คำว่า "สุโขทัย" มาจากสองคำ คือ "สุข+อุทัย" หมายความว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" รอยอดีตแห่งความรุ่งเรืองเห็นได้จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิศาสตร์[แก้]
ตามการแบ่งจังหวัดเป็นภาคโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติและราชบัณฑิตยสภา จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ในภาคกลาง บริเวณตอนบนของภาค หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศและเศรษฐกิจ สังคม จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครตามระยะทางหลวงแผ่นดินประมาณ 440 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ อำเภอลับแล และอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพรานกระต่าย อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก และอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัยจะเป็นที่ราบลุ่ม ทางตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีเขาหลวงเป็นภูเขาที่มีความสูงที่สุด วัดจากระดับน้ำทะเลมีความสูงประมาณ 1,200 เมตร โดยมีแนวภูเขายาวเป็นพืดทางด้านทิศตะวันตก ส่วนพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดจะเป็นที่ราบ มีแม่น้ำยมไหลผ่านจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอกงไกรลาศ ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัยยาวประมาณ 170 กิโลเมตร
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ตราประจำจังหวัด: รูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์
- ธงประจำจังหวัด: ธงพื้นสีแดง-เหลือง-เขียว แบ่งตามแนวนอน แถบสีเหลืองนั้นกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีแดงและสีเขียว ที่มุมธงด้านคันธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์
- คำขวัญประจำจังหวัด: มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ตาล (Borassus flabellifer)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวหลวง (Nelumbo nucifera)
ต้นตาล ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย
ดอกบัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย
การเมืองการปกครอง[แก้]
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 86 ตำบล 843 หมู่บ้าน
จังหวัดสุโขทัยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 91 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย, เทศบาลเมือง 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย เทศบาลเมืองสวรรคโลก และเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี, เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 69 แห่ง[4]
|
|
|
|
ทำเนียบเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย[แก้]
|
|
การขนส่ง[แก้]
จังหวัดสุโขทัยมีทางหลวงสำคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมต่อกับจังหวัดตากและจังหวัดพิษณุโลก, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 เชื่อมต่อกับจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดแพร่, และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102เชื่อมต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์ การขนส่งทางราง มีสถานีรถไฟ 2 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก และสถานีรถไฟคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร นอกจากนี้ ในอนาคตจะมีทางรถไฟความเร็วสูงตัดผ่าน มีสถานี 2 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟความเร็วสูงสุโขทัย และสถานีรถไฟความเร็วสูงศรีสัชนาลัย
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ[แก้]
- อำเภอศรีสำโรง 19 กิโลเมตร
- อำเภอคีรีมาศ 22 กิโลเมตร
- อำเภอกงไกลาศ 22 กิโลเมตร
- อำเภอบ้านด่านลานหอย 31 กิโลเมตร
- อำเภอสวรรคโลก 39 กิโลเมตร
- อำเภอศรีนคร 49 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งเสลี่ยม 65 กิโลเมตร
- อำเภอศรีสัชนาลัย 66 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
|
|
งานเทศกาลและประเพณี[แก้]
- งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ อำเภอเมืองสุโขทัย
- งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อำเภอเมืองสุโขทัย
- งานสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาด อำเภอเมืองสุโขทัย
- งานออกพรรษาแห่ตาชูชก อำเภอบ้านด่านลานหอย
- งานมหาสงกรานต์กรุงเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย
- งานสงกรานต์เสื้อลายดอก ถนนข้าวตอกสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย
- งานแข่งขันเรือพายเทโวโรหณะ อำเภอเมืองสุโขทัย
- ประเพณีบวชนาคแห่ช้างหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย
- งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง อำเภอศรีสัชนาลัย
- งานประเพณีสรงน้ำโอยทานสงกรานต์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย
- งานนสมโภชพระธาตุเฉลียงและพระธาตุมุเตา(วัดพระปรางค์) อำเภอศรีสัชนาลัย
- งานย้อนอดีตศรีสัชนาลัยนุ่งผ้าไทยใส่เงินทองโบราณ อำเภอศรีสัชนาลัย
- งานของดีศรีสัชนาลัยและเทศกาลอาหาร อำเภอศรีสัชนาลัย
- งานประเพณีแห่กฐินทางน้ำ(เฮือซ่วง) อำเภอศรีสัชนาลัย
- งานประเพณีบุญบั้งไฟบ้านหาดสูง อำเภอศรีสัชนาลัย
- งานประเพณีออกพรรษาศรีสัชฯ-ท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย
- งานหมากม่วงหมากปรางและงานของดีศรีสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก
- งานประเพณีสงกรานต์และเทศกาลอาหารเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก
- งานวันพิชิตยอดเขาหลวง อำเภอคีรีมาศ
- ประเพณีการทำขวัญผึ้ง อำเภอคีรีมาศ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ดูเพิ่ม[แก้]
- รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสุโขทัย
- รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดสุโขทัย
- รายชื่อวัดในจังหวัดสุโขทัย
- สถานีรถไฟสวรรคโลก
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สุโขทัย |
พิกัดภูมิศาสตร์: 17°01′N 99°45′E / 17.01°N 99.75°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดสุโขทัย
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด Archived 2005-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติจังหวัดสุโขทัย
- เว็บไซต์จังหวัดสุโขทัย
ก่อนหน้า | จังหวัดสุโขทัย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไม่มี | ![]() |
![]() อดีตเมืองหลวงราชอาณาจักรแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981) |
![]() |
กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310) |