ต่อศักดิ์ สุขวิมล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต่อศักดิ์ สุขวิมล
ต่อศักดิ์ ใน พ.ศ. 2566
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 124 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี[a]
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 201 วัน)
รักษาการแทนพลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 364 วัน)
ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564
(0 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจโท สุทิน ทรัพย์พ่วง
ถัดไปพลตำรวจโท จิรภพ ภูริเดช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มกราคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
คู่สมรสนิภาพรรณ สุขวิมล
บุตร2
บุพการี
  • นิพนธ์ สุขวิมล (บิดา)
  • สมนึก สุขวิมล (มารดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ยศ พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล (เกิด 27 มกราคม พ.ศ. 2507) เป็นนายตำรวจชาวไทย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1][2] อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และอดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

ประวัติ[แก้]

พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507 ที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องในบรรดาพี่น้อง 5 คนของนายนิพนธ์และนางสมถวิล สุขวิมล และเป็นน้องชายของพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์และเลขาธิการพระราชวัง ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางนิภาพรรณ สุขวิมล มีบุตรสาวทั้งสิ้น 2 คน[3]

วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2565 พลตำรวจเอกต่อศักดิ์ ได้เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพบุคคลที่เสียชีวิตจากเหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565 พร้อมมอบเงินบริจาคจำนวนหนึ่งให้ผู้สูญเสีย[4]

ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ซึ่งมีเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเลือกพลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สืบต่อจากพลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์[5] โดยมีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กันยายน และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีเศรษฐาเป็นประธานกรรมการ และพลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ เป็นหนึ่งในกรรมการ[6] ในวันเดียวกันเกิดเหตุกราดยิงที่สยามพารากอน ซึ่งเศรษฐาสั่งการให้เขาพร้อมด้วยคณะทำงาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ และรายงานความคืบหน้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ทราบเป็นระยะ[7] หลังจากนั้นในอีกสองสัปดาห์ต่อมาที่พิธีสวนสนามเนื่องในวันตำรวจ เขาได้มอบแหวนอัศวินให้กับร้อยตำรวจเอก ธัญอมร หนูนารถ รองสารวัตรสืบสวนปฏิบัติหน้าที่รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ที่เข้าไประงับเหตุดังกล่าวเป็นคนแรก[8]

20 มีนาคม 2567 ได้รับหนังสือคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 106/2567 จากนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน​ ให้ไปประจำสำนักนายกฯ เป็นคำสั่งเร่งด่วน

การศึกษา[แก้]

ต่อศักดิ์สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนพันธะศึกษา ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนโยธินบูรณะ ระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 38 และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณทิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม[ต้องการอ้างอิง]

ตำแหน่ง[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567 และมอบหมายให้ พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ทำหน้าที่รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

อ้างอิง[แก้]

  1. "พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล" ผงาด ผบ.ตร.คนที่ 14
  2. "แต่งตั้ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็น ผบ.ตร. คนที่ 14". บีบีซี. 2023-09-27.
  3. พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก. คนใหม่ น้องชายเลขาธิการพระราชวัง
  4. ผบ.ตร.มอบเงินบริจาคเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสีย จ.หนองบัวลำภู 11.6 ล้าน
  5. "16 ก.ตร.ใครบ้างเลือก "บิ๊กต่อ"นั่งผบ.ตร.คนใหม่". Thai PBS.
  6. "เปิดหน้า บอร์ดคุมแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท 28 คน มีบิ๊กต่อ ผบ.ตร.ด้วย". ประชาชาติธุรกิจ. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "นายกฯ เผย ผบ.ตร. รุดไปพารากอน "ชฎาทิพ" ผู้บริหารรีบออกจากห้องประชุมติดตามสถานการณ์". ไทยรัฐ. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ผบ.ตร. มอบ แหวนอัศวิน ให้ รอง สวป.ปทุมวัน เข้าระงับเหตุกราดยิงพารากอน
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง หน้า ๑ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๗๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ก่อนหน้า ต่อศักดิ์ สุขวิมล ถัดไป
พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ