เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ | |
---|---|
![]() | |
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555 (0 ปี 339 วัน) | |
ก่อนหน้า | พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี |
ถัดไป | พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว |
รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 กันยายน พ.ศ. 2554 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (0 ปี 48 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 (69 ปี) กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2555-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ปาริชาติ ดิษยะศริน (หย่า)[1][2] สาวิตรี ดามาพงศ์ |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
---|---|
ชั้นยศ | ![]() |
พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นิตยสารพระท่าพระจันทร์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นิตยสาร Cop's Magazine อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[4]ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษาผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.)[5] และอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึงกันยายน พ.ศ. 2555
ประวัติ[แก้]
พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่าอ๊อบ เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของพลตำรวจโท เสมอ ดามาพงศ์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ กับคุณหญิงพจนีย์ ณ ป้อมเพชร มีพี่น้อง 3 คนคือ พงศ์เพชร ดามาพงศ์ อดีตผู้อำนวยการการเลือกตั้งพรรคไทยรักไทย จังหวัดเชียงราย, พลตำรวจโท นายแพทย์ พีระพงศ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และมีพี่ชายบุญธรรมคนโตอีก 1 คนคือ บรรณพจน์ ดามาพงศ์
พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ เคยสมรสกับปาริชาติ ดิษยะศริน น้องสาวของนาวาอากาศเอกวีระยุทธ[1] ภายหลังได้หย่าร้างกัน[2] ปัจจุบันสมรสกับสาวิตรี ดามาพงศ์ (สกุลเดิม รัตนสุวรรณชาติ)[1] ทั้งสองมีบุตรฝาแฝดเป็นชายชื่อ พาทิศ (เอิง) และเป็นหญิงชื่อ พิมพ์พิชญา (ออ)[1]
การศึกษา[แก้]
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่น 12 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกา มีเพื่อนร่วมรุ่น นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รุ่น 12 ที่มีชื่อเสียง คือ นายแก้วสรร อติโพธิ อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร , พล.ต.ท.สุรสีห์ สุนทรศารทูล อดีต ผบช.ภ.6
การรับราชการ[แก้]
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เข้าสู่วงการตำรวจ เริ่มรับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2514 ตำแหน่งสำรองพิเศษ สังกัด กก.2ส. ต่อมาได้เป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร ในปี พ.ศ. 2517 (โดยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผ่านการอบรมหลักสูตร นายร้อยตำรวจอบรม รุ่นที่ 16 (นรอ.16))ดำรงตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 1 กก.สส.นครบาลเหนือ และได้ดำรงตำแหน่งวนเวียนอยู่เฉพาะในเขตนครบาลเกือบ 10 ปี โดยเป็นสารวัตรสอบสวน สน.จักรวรรดิ สน.ปทุมวัน และสน.ทุ่งมหาเมฆ จนถึงปี พ.ศ. 2523 ได้เป็น สารวัตรปราบปราม สน.นางเลิ้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 จึงได้ออกต่างจังหวัดระยะสั้น ๆ โดยดำรงตำแหน่งสารวัตรใหญ่ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จ.ภูเก็ต ไม่ถึง 1 ปีก็กลับเข้านครบาลอีกครั้ง โดยได้ดำรงตำแหน่ง รอง ผกก. 2 ป. ตามด้วย ผกก.(กอ.รมน.) กำลังพล และ ผู้กำกับการตำรวจท่องเที่ยว ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองปราบปราม และรองผู้บัญชาการกองปราบปราม ก่อนจะดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และได้เป็น ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ปส.) เมื่อปี พ.ศ. 2543
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ มีผลงานโดดเด่นด้านการปราบปรามยาเสพติดตามนโยบายทำสงครามกับยาเสพติดในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเติบโตก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ราชการอย่างมาก โดยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ครองยศ พล.ต.อ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเนื่องจากการมีผลงานโดดเด่นในด้านการสืบสวนปราบปรามยาเสพติดจากนโยบายของดร.ทักษิณ ชินวัตร[6]
ต่อมาหลังการ รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ถูกโยกย้ายไปเป็น ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านความมั่นคง ในสังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากคณะรัฐประหารมองว่าพลตำรวจเอกเพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับรัฐบาลชุดเก่า ต่อมาหลังจากพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ได้กลับมาดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอีกครั้ง ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน
แม้จะเพิ่งกลับมาดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2551 แต่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ถือเป็น รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่มีอาวุโสสูงสุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีคำสั่งศาลปกครองให้นับอาวุโสของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ต่อเนื่องตั้งแต่ได้ดำรงตำแหน่งครั้งแรก ทำให้เป็นผู้หนึ่งที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต่อจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่จะเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2552
ซึ่งเมื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น มีคำสั่งให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา สบ.10 ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ออกมาเคลื่อนไหว เพื่อขอความเป็นธรรม โดยยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากตนเป็นรอง ผบ.ตร.ที่อาวุโสสูงสุด จึงควรจะได้รับตำแหน่งนี้มากกว่า[7] โดยสาเหตุที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะที่มีอำนาจหน้าที่เสนอชื่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่ยอมเสนอพลตำรวจเอกเพรียวพันธ์นั้นด้วยเหตุที่ว่าพลตำรวจเอกเพรียวพันธ์มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับขั้วอำนาจทางการเมืองของดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้าม
ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2554 ขณะที่คณะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ได้ขอลาพักผ่อน ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี จากนั้นก็โอน พล.ต.อ.วิเชียร ไปดำรงตำแหน่งดังกล่าว[8] วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีจึงตั้ง พล.ต.อ.วิเชียรเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ[9] และส่งผลให้พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ผบ.ตร. ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554[10]พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ยังดำรงตำแหน่งอื่นอีกดังต่อไปนี้ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน คณะกรรมการคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรรมการและประธานกรรมการธรรมาภิบาล บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)โดยเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[11] คณะกรรมการ บริษัท การบินไทยจำกัด(มหาชน)ได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริษัท การบินไทยจำกัด(มหาชน)
งานการเมือง[แก้]
ภายหลังเกษียณอายุราชการแล้ว พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 พร้อมกับศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 อีกจำนวนหนึ่ง[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2546 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2545 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2521 -
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[15]
- พ.ศ. 2529 -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "สาวิตรี ดามาพงศ์นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจคนใหม่สดๆ ซิงๆ" (Press release). แนวหน้า. 31 ตุลาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2555. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 ผู้จัดการ - "ปาริชาติ ดิษยะศริน" เผยอดีตเคยโดนแม่นางงามโกง !?!
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0B/00140533.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
- ↑ http://www.komchadluek.net/detail/20121016/142437/'เพรียวพันธ์'ทายาท'แม้ว'คนต่อไป.html
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0B/00140533.PDF
- ↑ พลตำรวจเอกเพรียวพันธุ์ เตรียมฟ้องศาลปกครอง
- ↑ ผบ.ตร.พักยาวเปิดช่องเพรียวพันธ์รักษาการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์)
- ↑ http://www.settrade.com/simsImg/news/2012/12026437.t12
- ↑ "ปู"พลิ้ว โยน กก.บห.เพื่อไทย ชงตำแหน่งในพรรคและ ครม.ให้ "บิ๊กอ๊อบ"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๔๖ หน้า ๖ เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข, ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๒๑ เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ฉบับพิเศษ หน้า ๙๐ เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๘, ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๑
ก่อนหน้า | เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี | ![]() |
![]() ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555) |
![]() |
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว |
- สมาชิกเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ตำรวจชาวไทย
- อธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- พรรคเพื่อไทย
- ชาวไทยเชื้อสายลาว
- สกุล ณ ป้อมเพชร์