สุรพล จุลละพราหมณ์
สุรพล จุลละพราหมณ์ | |
---|---|
![]() | |
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2525 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่น |
ถัดไป | พลตำรวจเอกณรงค์ มหานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กันยายน พ.ศ. 2465 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2539[1] |
คู่สมรส | สาลินี จุลละพราหมณ์ |
ศาสนา | พุทธ |
พลตำรวจเอก สุรพล จุลละพราหมณ์ (15 กันยายน พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2539) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 18 และอดีตผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520
ประวัติ[แก้]
พลตำรวจเอก สุรพล จุลละพราหมณ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2465 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของขุนจุลละพราหมณ์ศึกษากร (วาศ) และนางเกลื่อม จุลละพราหมณ์ สมรสกับนางสาลินี จุลละพราหมณ์[2]
รับราชการ[แก้]
พลตำรวจเอก สุรพล เมื่อครั้งยังมียศเป็น พลตำรวจโท ได้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 [3] ต่อจาก พลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่น พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก ในวันเดียวกัน [4]
นอกจากนี้พลตำรวจเอก สุรพล จุลละพราหมณ์ ในขณะยังมียศเป็น พลตำรวจโท ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520อีกด้วย[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาประมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2511 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3) [6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ [1]
- ↑ สุรพล จุลละพราหมณ์ ,พล.ต.อ.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอน 80 ง พิเศษ หน้า 1 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2524
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอน 101 ง พิเศษ หน้า 1 24 มิถุนายน พ.ศ. 2524
- ↑ พลตำรวจโท สุรพล จุลละพราหมณ์. ข้อมูลประวัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2465
- บุคคลที่ยังไม่ทราบปีที่เสียชีวิต
- บุคคลจากจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ตำรวจชาวไทย
- อธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา