ณรงค์ มหานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ณรงค์ มหานนท์
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 – 30 กันยายน พ.ศ. 2530
ก่อนหน้า พลตำรวจเอก สุรพล จุลละพราหมณ์
ถัดไป พลตำรวจเอก เภา สารสิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2470 (96 ปี)
อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
บิดา พูน มหานนท์
มารดา สว่าง มหานนท์
คู่สมรส คุณหญิงฑิพา มหานนท์ (ถึงแก่อนิจกรรม)
ท่านผู้หญิง ภรณี มหานนท์
บุตร นายแพทย์นิธิ มหานนท์
ฝนทิพย์ มหานนท์
ศาสนา พุทธ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ RTP OF-9 (Police General).svg พลตำรวจเอก
บังคับบัญชา กรมตำรวจ

พลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ เป็นอดีตอธิบดีกรมตำรวจ 2525-2530 อดีตสมาชิกวุฒิสภา[1] และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานที่ปรึกษาบริษัท ช.การช่าง จำกัด[2]

ประวัติ[แก้]

พลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2470 ที่ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของ นายพูน และนางสว่าง มหานนท์ สมรสกับ คุณหญิงฑิพา มหานนท์ (ถึงแก่อนิจกรรม) มีบุตร-ธิดา คือ

  1. ศาสตราจารย์นายแพทย์ นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  2. น.ส.ฝนทิพย์ มหานนท์

ต่อมาสมรสกับ ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์

การศึกษา[แก้]

การรับราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2487 - นักเรียนนายร้อยกรมยุทธศึกษาทหารบก กระทรวงกลาโหม จากนั้นจึงได้โอนย้ายมารับราชการเป็นตำรวจ
  • พ.ศ. 2488 - เป็นรองสารวัตร สน.พญาไท มียศเป็น ร้อยตำรวจตรี
  • 29 กันยายน พ.ศ. 2495 - ร้อยตำรวจเอก[3]
  • พ.ศ. 2499 - เป็น สวญ.สน.บางซื่อ มียศเป็น พันตำรวจตรี
  • พ.ศ. 2501 - เป็นรองผู้กำกับการนครบาล 3 มียศเป็น พันตำรวจโท
  • พ.ศ. 2507 - เป็น รองผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ มียศเป็น พันตำรวจเอก
  • พ.ศ. 2510 - เป็น ผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ มียศเป็น พันตำรวจเอกพิเศษ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 - พลตำรวจตรี[4]
  • พ.ศ. 2514 - รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[5]
  • พ.ศ. 2516 - ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[6]
  • 1 กันยายน พ.ศ. 2519 - ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ[7]
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 - รองอธิบดีกรมตำรวจ[8]
  • พ.ศ. 2525 - อธิบดีกรมตำรวจ เลื่อนยศเป็น พลตำรวจเอก[9] [10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศและเหรียญในต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในไทย[แก้]

เหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  ไต้หวัน : พ.ศ. 2505 - เหรียญ จิ่งซาเจียงชาง ชั้นที่ 2 (อันดับ 1)

อ้างอิง[แก้]

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  2. http://www.56-1.com/reports/CK/CK_13AR_th.pdf
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓๕๐๓)
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
  6. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (พลตำรวจโท ณรงค์ มหานนท์) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอน 127 ง พิเศษ หน้า 2 9 กันยายน พ.ศ. 2525
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (พลตำรวจโท ณรงค์ มหานนท์) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอน 143 ง พิเศษ หน้า 7 6 ตุลาคม พ.ศ. 2525
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๐๙๐, ๓๐ มีนาคม ๒๕๐๘