พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ)
อธิบดีกรมกองตระเวน คนที่ 2
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มกราคม พ.ศ. 2403
เสียชีวิตไม่ปรากฏ

พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) (23 มกราคม พ.ศ. 2403 - ไม่ปรากฏ) เป็นอธิบดีกรมกองตระเวน คนที่ 2 อดีตอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตัน และอดีตอัครราชทูตสยามประจำกรุงอังกฤษ[1]

ประวัติ[แก้]

พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) เกิดเมื่อวันพุธขึ้น 12 ค่ำ เดือนสาม ปีวอก จุลศักราช 1222 ตรงกับวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2403 เป็นบุตรของพระยาธรรมจรรยานุกูลมนตรี (จำเริญ บุรณศิริ) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาคนที่สองจากทั้งหมดสี่คน คือ พระยามหานิเวศนานุรักษ์ (กระจ่าง บุรณศิริ), เจ้าจอมก้อนแก้ว ในรัชกาลที่ 5 และพระยาอุเทนเทพโกสินทร์ (ประสาน บุรณศิริ)[2]

รับราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2415 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในรัชกาลที่ 5
  • พ.ศ. 2424 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นนายรองบำรุงราชบทมาลย์[3]
  • พ.ศ. 2425 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปศึกษาวิชา ณ ประเทศอังกฤษ
  • พ.ศ. 2432 กลับจากประเทศอังกฤษเข้ารับราชการในกรมมหาดเล็กและเป็นเลขานุการส่วนพระองค์เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2434 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นปลัดกรมกองตระเวรฝ่ายกองรักษาในกรมพระนครบาล
  • พ.ศ. 2435 เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้ากรมกองตระเวรฝ่ายกองรักษาในกระทรวงนครบาล
  • 25 เมษายน พ.ศ. 2436 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระอนันต์นรารักษ์[4]
  • 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 ลาออกจากตำแหน่งเจ้ากรมหรืออธิบดีกรมกองตระเวน[5]
  • วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นข้าหลวงจัดราชการเมืองสมุทรปราการและเมืองนครเขื่อนขันธ์ (จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดพระประแดง)
  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2440 ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเพชรชฎา ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล[6]
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2441 กลับจากข้าหลวงจัดราชการ มารับราชการในกองบัญชาการหน้าที่เจ้ากรมกองแปล
  • วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2441 ได้รับพระราชทานตรามงกุฎสยามชั้นที่ 3
  • วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2444 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอรรคราชวราทร ถือศักดินา ๑๐๐๐[7]
  • 23 ธันวาคม พ.ศ. 2444 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตัน[8]
  • 18 ธันวาคม พ.ศ. 2449 ย้ายจากอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตันกลับกรุงเทพฯ[9]
  • พ.ศ. 2449 รับราชการเป็นอธิบดีกองทูตและกองกงสุลในกระทรวงการต่างประเทศ
  • วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2451 ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
  • วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ได้รับพระราชทานตราช้างเผือกชั้นที่ 3
  • 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กลับไปเป็นอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตัน[10]
  • พ.ศ. 2454 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายจากอัครราชทูตสยามกรุงวอชิงตัน ไปเป็นอัครราชทูตประจำกรุงอังกฤษ และได้รับพระราชทานตรามงกุฎสยามชั้น 2
  • กรกฎาคม พ.ศ. 2455 ย้ายจากอัครราชทูตกรุงอังกฤษกลับกรุงเทพฯ แลกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. List of Thai Ambassadors in UK. รายนามเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ( List of Ambassadors )
  2. พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ)[ลิงก์เสีย] จาก politic.myfirstinfo.com
  3. พระราชทานสัญญาบัตรปีมะโรงโทศก (หน้า ๑๖๗ ลำดับที่ ๑๒๖)
  4. พระราชทานสัญญาบัตร
  5. ประกาศกระทรวงนครบาล
  6. "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
  7. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  8. อรรคราชทูตสยามถวายพระราชสาสนแด่พระเจ้าแผ่นดิน และส่งพระราชสาสน แก่ประธานาธิบดีต่างประเทศ
  9. ข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
  10. พระยาอรรคราชวราทรกราบถวายบังคมลาออกไปเป็นอรรคราชทูตกรุงวอชิงตันตามเดิม
  11. หลวงอัครเทพฯ ทวิภพ ที่แท้ “ปู่ทวด” นีโน่!! เก็บถาวร 2015-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์. 18 สิงหาคม 2554.
  12. ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน
  13. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  14. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  15. "พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
  16. ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบันไปพระราชทาน